บอร์ดวินิจฉัยภาษีที่ดินฯ ก.คลัง เห็นตาม คณะอุทธรณ์ภาษีฯ กทม. ยันที่ดินย่านคลองเตย ของ "การท่าเรือฯ" ที่ถูกชุมชนแออัดบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ ไม่เข้ากรณีที่จะได้รับยกเว้น "ภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง" กทท. ในฐานะเจ้าของที่ดิน มีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน ส่วน "ชุมชนแออัด" ที่บุกรุกใช้ประโยชน์ มีหน้าที่เสียภาษีสิ่งปลูกสร้าง ที่ตนเป็นเจ้าของตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ
วันนี้ (28 ม.ค.2568) มีรายงานจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้วินิจฉัยกรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) ขอหารือการประเมินทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ " การท่าเรือแห่งประเทศไทย" (กทท.) ย่านคลองเตย
ที่มีผู้บุกรุกเข้าทําประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์สิน ที่มีผู้บุกรุกเข้าทําประโยชน์ในที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ของรัฐวิสาหกิจ และการคํานวณมูลค่าที่ดินเป็นฐานภาษี
ล่าสุด บอร์ดวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีความเห็นว่า ตามมาตรา 8 (12) แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินแลละสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประกอบกับข้อ (2) ของกฎกระทรวงยกเว้นฯ
กําหนดให้ ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ กรณีที่มีผู้บุกรุกเข้าไปทําประโยชน์ในที่ดินของ กทท.
"แม้ กทท. จะไม่ได้ใช้ในกิจการของ กทท. ก็ตาม แต่ที่ดินดังกล่าวได้มีการใช้หาผลประโยชน์โดยผู้บุกรุกแล้ว จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้รับยกเว้นตาม กฎกระทรวงยกเว้นฯ"
ทั้งนี้ กทท. ในฐานะเจ้าของที่ดิน จึงมีหน้าที่เสียภาษีในส่วนของที่ดิน สําหรับสิ่งปลูกสร้าง ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีในส่วนของสิ่งปลูกสร้างที่ตนเป็นเจ้าของตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ
มีรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กทม.ได้ขอหารือ ภายหลังได้ประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กทท. ที่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี กทม. ในประเด็นที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ถูกบุกรุกจากประชาชนเข้าใช้ประโยชน์
ตามคําวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่ 61/2564 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ได้วินิจฉัยว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีในส่วนพื้นที่ "ที่เป็นชุมชนแออัด" ที่มีการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ และให้แก้ไขการประเมินภาษีให้ถูกต้อง
สําหรับวิธีการคํานวณมูลค่าที่ดินในส่วนที่มิได้มีอาณาเขตติดต่อกัน กรณีมีผู้บุกรุกเข้าทําประโยชน์ในที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 8 (12) แห่ง พ.ร.บ.ที่ดินฯ ประกอบ (2) ของกฎกระทรวงกําหนดทรัพย์สินที่ ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีฯ
กําหนดให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มีความเห็นว่าผู้บุกรุกเข้าไปทําประโยชน์ในที่ดินของ กทท.
แม้ กทท. จะมิได้ใช้ในกิจการของ กกท. แต่ที่ดินดังกล่าว ได้มีการใช้หาผลประโยชน์โดยผู้บุกรุกแล้ว จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงกําหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้น จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าว กทท. ในฐานะเจ้าของที่ดินจึงมีหน้าที่เสียภาษีในส่วนของที่ดิน
ซึ่ง กทม.ได้ดําเนินการตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย แต่เนื่องจาก กทท.ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี กทม. ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกันโดยวินิจฉัยว่าพื้นที่ซึ่งถูกบุกรุกจากประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ ทรัพย์สินของ กทท.แต่มิได้ใช้ในกิจการท่าเรือ
"แม้มีการเข้าใช้ประโยชน์โดยผู้บุกรุก แต่มิใช่กรณีที่ กทท.เป็นผู้ใช้ประโยชน์เอง ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า กทท.ได้ใช้พื้นที่ส่วนนี้ไปหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือทางธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด"
จึงเป็นกรณี ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ย่อมได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือไม่.