xs
xsm
sm
md
lg

3องค์กร ห่วงเด็กไทยป่วยความดันโลหิตสูงพุ่ง ชูเคมเปญรณรงค์ "ลดเค็ม-ลดโรค"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เด็กไทยน่าห่วงพบป่วยความดันโลหิตสูงพุ่ง เหตุติดเค็ม นิยมขนมกรุบกรอบ-รามยอน- ปรุงรสจัด สธ-สสส.-เครือข่ายลดเค็ม ผนึกกำลังชูเคมเปญ "ลดเค็ม ลดโรค" หวังปี68 คนไทยลดบริโภคโซเดียมลงได้ร้อยละ 30 ดันใช้มาตรการเก็บภาษีความเค็มจูงใจเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารปรับสูตร

วันนี้( 23 ธ.ค.)ที่รร.ทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงาน "ลดโซเดียม ลดเสี่ยง NCDs" ว่า สถานการณ์การบริโภคอาหาร ความ มั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย ปี 2567 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การ สนับสนุนของ สสส. พบเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี กินขนมกรุบกรอบรส เค็มมากที่สุด 84.1% กินเฉลี่ย 1.35 ซองต่อวัน รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กเล็ก อายุ 1-5 ปี 76.5% กินเฉลี่ย 1.23 ซองต่อวัน ที่สำคัญยังพบคนไทยเติมเครื่องปรุงรสเค็มเพิ่มในอาหารประมาณ 30% เฉลี่ย 0.86 ช้อนชา ต่อวัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กมีการเติมเครื่องปรุงรสเค็มปริมาณมาก ที่สุด เฉลี่ย 0.89 ช้อนชาต่อวัน ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม รณรงค์ขับเคลื่อน สังคมด้วยองค์ความรู้ นวัตกรรม และนโยบายสาธารณะ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยเฉพาะลดการ บริโภคเค็ม ผ่านแคมเปญ "ลดเค็ม ลดโรค" ผลประเมินพบว่า ประชาชน เกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการบริโภคเค็ม 92% และกระตุ้นการปรับพฤติกรรมลดการบริโภคเค็ม 85.1%

“ล่าสุด สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมเครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหาร (Salt Meter) เตรียมขยายผลนำไปใช้ปรับพฤติกรรมลดเค็มทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ และมุ่งเน้นรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาล ไขมันทรานส์ พร้อมสนับสนุนการบริโภคผัก ผลไม้ และอาหารปลอดภัย กำหนดมาตรฐานอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมและโครงการที่เหมาะสม เช่น การพัฒนาศักยภาพแกน นำสุขภาพ การจัดตลาดเขียวในชุมชน และการพัฒนาโครงการเพื่อ สุขภาพโดยชุมชนเป็นฐาน มุ่งลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต”

นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การลดโรค NCDs เป็นภาระงานและความท้าทายสำคัญของระบบสาธารณสุข มีคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs กว่า 400,000 คนต่อปี สูญเสียต้นทุนทาง เศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี ในปี 2568 มีสโลแกน “กรม ควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี” มุ่งสนับสนุนกลไก คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) นำนวัตกรรม Salt Meter ขยายผลสร้างความตระหนักและควบคุมปริมาณโซเดียมในการปรุงอาหารของครัวเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงาน ทั่วประเทศ เป็นแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและลดการบริโภค เกลือและโซเดียมระดับจังหวัด รวมถึงกำหนดปริมาณเกลือและโซเดียม ในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผลักดันมาตรการภาษีโซเดียม มุ่งเป้าให้ ประชาชนคนไทยมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค NCDs ด้วยการลดการกิน เค็ม ลดเกลือและโซเดียมเกินกำหนด สอดรับ 1 ใน 9 เป้าหมายลด NCDs ระดับโลก

“ข้อมูลการบริโภคเกลือแกงในไทย พบคนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหาร 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน แต่อาหารสำเร็จรูปที่วัยรุ่นไทยนิยมบริโภคในตอนนี้ อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรามยอนของเกาหลีมีโซเดียมสูงถึง 7,000 มิลลิกรัมต่อซองซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา ที่สำคัญยังพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียม เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไต หัวใจและ หลอดเลือดสมองกว่า 22 ล้านคน ซึ่งคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ภายในปี 2568 ไทยควรจะต้องทำให้ประชาชนลดการบริโภค เกลือและโซเดียมลง 30% โดยต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดเกลือและโซเดียม สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค ปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และผลักดัน ให้เป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี”

นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า ผู้บริโภคที่กินเค็มเป็นเวลานาน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ขาดความตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคเค็ม เคยชินเนื่องมาจากการรับรสเค็มของลิ้นน้อยกว่าคนปกติ ที่น่าห่วงคือพบกลุ่มเด็กอายุ 10-19 ปีมีภาวะความดันโลหิตสูง 10% ซึ่งจะ สูงต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ สาเหตุส่วนหนึ่งจากการบริโภคอาหาร และขนมโซเดียมสูง นวัตกรรม Salt Meter เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการปรับการรับรสให้แต่ละคนสามารถปรับลิ้นให้คุ้นเคยรสชาติที่เปลี่ยนไปได้ มีประโยชน์ในการลดอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ นำไปสู่ความชอบ การบริโภคอาหาร"เค็มน้อยอร่อยได้" ทั้งนี้ การปรับลดความ เค็มในอาหารพร้อมบริโภค อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวในร้าน สะดวกซื้อ ควรมีกฎหมายควบคุมการตลาดสำหรับเด็ก ควบคุม ปริมาณโซเดียมสูงสุด รวมถึงผลักดันภาษีโซเดียมเป็นมาตรการชักจูง ให้อุตสาหกรรมอาหารปรับตัวออกสูตรลดโซเดียม นอกจากทำให้ไม่ต้องเสียภาษียังเกิดประโยชน์ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของประเทศด้วย

" การลดความเค็มในอาหารหรือขนม พบว่าถ้าใช้เทคนิคลดความเค็มลงครั้งละ 10% ลิ้นจะไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของรสชาติว่าเปลี่ยนไปซึ่งถ้าใช้สูตรนี้ลดครั้งละ 10 ก็จะลดความเค็มลงได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งความเค็มในอาหารกรุบกรอบเราขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตในการปรับสูตรมากว่า 5 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นมาตรการภาษีความเค็มน่าจะช่วยจูงใจให้ผู้ผลิตปรับสูตรผลิตภัณฑ์ได้ เหมือนกับมาตรการภาษีความหวานที่ใช้ได้ผลมาก และเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่ามาตรการภาษีไม่ได้เป็นอันตรายต่อระบบธุรกิจ หากผลิตภัณฑ์อาหารมีปริมาณโซเดียมไม่เกินมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูง ก็จะได้รับประโยชน์โดยเสียภาษี 0% แต่ถ้ามีปริมาณเกลือสูงก็จะถูกเก็บภาษีสูงขึ้นแบบขั้นบันได จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคปริมาณโซเดียมลดลงมาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก โดยที่หารือก็จะให้โอกาสปรับตัวอย่างน้อย 2-3 ปี ทั้งในส่วนของคนกินและผู้ประกอบการ"

นพ.สุรศักดิ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการเก็บภาษีความเค็ม ว่ายังอยู่ในระหว่างการคุยกับกรมสรรพสามิตว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร เพราะชนิดของอาหารแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ซึ่งจะยึดเกณฑ์ความปลอดภัยของเด็ก เป็นหลักไม่ใช่ขนมหรืออาหารประเภทเดียวกันจะต้องถูกเก็บภาษีเท่ากันขึ้นอยู่กับความแตกต่างของปริมาณโซเดียมซึ่งในระยะยาวผู้บริโภคก็จะได้รับประทานอาหารและขนมที่มีโซเดียมต่ำราคาไม่สูงและปลอดภัยต่อสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรค NCDsด้วย"


กำลังโหลดความคิดเห็น