xs
xsm
sm
md
lg

มท.หนู ตั้งคณะศึกษาปิดช่อง จนท.รัฐ + อิทธิพล ทุจริตขุดถมดิน ตามข้อเสนอ ป.ป.ช.สอดรับไอเดีย “อิ๊งค์” อนุญาตขุดดินคลองขายหารายได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย อ้างข้อเสนอ ป.ป.ช. ป้องกันทุจริตขุดดิน/ถมดิน กระทบกฎหมายหลายฉบับ ชงตั้งคณะทำงานศึกษา หลัง ป.ป.ช.พบ มีการเปิดช่อง เจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือผู้มีอิทธิพลหาประโยชน์ ใช้อำนาจออกใบอนุญาตฯซ้ำซ้อน แถมระดับบิ๊กในจังหวัด หัวหมอ ใช้ระเบียบฯ มท.ไม่ถูกต้องครบถ้วน บังคับใช้กฎหมาย ทำ “ขุดดิน” ไม่มีประสิทธิภาพ เผย ป.ป.ช. เสนอ 6 มาตรการ แนะ มท.รายงานทุกปี พบมีข้อเสนอตั้งแต่ เดือน ก.ย. ก่อน “นายกฯ อิ๊งค์” ผุดไอเดีย ศึกษาแนวทางอนุญาต ประชาชนขุดลอกคูคลอง-นำดินไปใช้หรือขายได้

วันนี้ (19 ธ.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้า ในการเร่งดำเนินการตาม “มาตรการในการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” ที่คณะกรรมารป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

ล่าสุด พบว่า คณะรัฐมนตรี เมื่อ 17 ธ.ค. เห็นชอบตาม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เสนอให้แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อกําหนดแนวทางการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน ก่อนสรุปผลการพิจารณา/ผลการดําเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วนําเสนอคณะรัฐมนตรี ภายใน 2 สัปดาห์ หรือ ต้นปี 2568

“ข้อเสนอมาตรการตามที่ ป.ป.ช.เสนอนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ และมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน จำเป็นต้องตั้งคณะทำงานเพื่อให้ดําเนินการเป็นไป ตามมติครม.และถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับ ซึ่งต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ”

คณะทำงานที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทย นั่งประธาน มีกรรมการจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานหลัก ยังมีกรรมการจาก กลาโหม คลัง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกษตรและสหกรณ์ คมนาคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้ได้ข้อยุติ

คาดว่า จะมีอำนาจในการศึกษาข้อกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 เป็นต้น

สุดสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุระหว่างแถลง “โอกาสไทย ทำได้จริง” ตอนหนึ่งว่า มีนโยบายที่ให้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาแนวทางที่จะอนุญาตให้ประชาชนขุดลอกคูคลอง แล้วนำดินไปใช้หรือขายได้

สำหรับความเป็นมา ของมาตรการในการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ตามที่ปรากฏข่าวเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายหลายกรณี พบว่า มีการลักลอบขุดหน้าดินโดยไม่ได้แจ้งขออนุญาตอย่างถูกต้อง หรือใบอนุญาตหมดอายุ ซึ่งกระทบต่อรายได้จากค่าธรรมเนียมที่รัฐควรได้ มีการขุดดินผิดไปจากแบบแปลนตามหลักวิชาการเกินกว่าที่ขออนุญาต หรือจำนวนแรงม้าของเครื่องยนต์ไม่ได้เป็นไปตามขนาดที่ขออนุญาต ส่งผลทำให้พื้นที่ที่ดินบริเวณข้างเคียงเกิดการทรุดตัวและพังทลายได้รับความเสียหาย

และมีการบรรทุกดินน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้ถนนหนทางชํารุดเสียหาย ซึ่งกระทบต่องบประมาณของภาครัฐจำนวนมากในการซ่อมบํารุง รวมถึงการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้พิจารณาการให้ใบอนุญาตขุดดิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เข้าไปตรวจสอบควบคุมการประกอบกิจการขุดดินให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ประกอบกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนในประเด็นเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตสำหรับ ขุด ตัก ลอก หรือดูดทรายหรือดิน ที่มีความซ้ำซ้อนกันหลายหน่วยงาน

ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 63/2567 เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2567 ให้เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อ ครม. ตามนัยมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

ข้อพิจารณา 1. การแก้ไขประเด็นปัญหาด้านกฎหมายกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน

1.1 ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตสำหรับขุดดิน มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมโรงงานอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดที่เป็นเจ้าของพื้นที่

รวมถึงหน่วยงานรัฐที่กฎหมายมอบอำนาจให้รับผิดชอบพื้นที่เฉพาะ เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นตน ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างมีกฎระเบียบของหน่วยงานตนเอง และดำเนินการเฉพาะส่วนของตนเอง ทำให้มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดินหลายฉบับ

การกำกับติดตามการให้อนุญาตขุดดินและถมดินมีความแตกต่างกันไป ส่งผลให้ต้องใช้ใบอนุญาตหลายฉบับและมีกระบวนการขอใบอนุญาตที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลานานเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการหลบเลี่ยงการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

จึงเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์ เพื่ออํานวยความสะดวกและเร่งรัดการอนุญาต รวมถึงการแสวงหาประโยชน์ในการกำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบการดำเนินการขุดดินและถมดิน

ในปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายที่ดินแหงชาติ มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการตรา แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน ตามมาตรา 10 (6) แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 จึงอาจใช้กลไกของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

1.2 การขุดดินและถมดินดำเนินการตาม พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งบัญญัติถึงการขุดดินและถมดินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และความปลอดภัยของประชาชน แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้มุ่งเน้นถึงการควบคุมการกำกับดูแลการขุดดินและถมดินที่มีประสิทธิภาพ

จากขอเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่า กฎระเบียบที่เกี่ยวของกับการขุดดินและถมดินมีหลายฉบับ และมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงเห็นควรบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุม กำกับดูแลการขุดดินและ ถมดินให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกฎหมาย กฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน จึงเห็นควรดำเนินการ โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดิน เพื่อให้การควบคุมดูแลการขุดดินและถมดินมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันการทุจริตได้มากยิ่งขึ้น

2. การแก้ไขปัญหาการขออนุญาตขุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตในการดูดทราย และการขุดลอกคลองเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งสำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด

ปัญหาที่พบ คือ จังหวัดยังดำเนินการไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งมีประเด็นปัญหา ดังนี้

2.1 หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย เช่น อำเภอ ท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอบสวนประวัติความเป็นมาไม่ชัดเจน และไม่เป็นที่ยุติว่า ปัจจุบันประชาชนได้เลิกใช้ประโยชน์ที่ดินหรือยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันอยู่

2.2 ไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า การเลิกใช้เป็นการเลิกใช้โดยสิ้นสภาพตามธรรมชาติหรือเป็นการเลิกใช้ เพราะถูกขัดขวางการใช้ประโยชน์

2.3 หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นบางท้องที่ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาต เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางพื้นที่ อนุญาตให้เอกชนหรือหน่วยงานราชการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยไม่ได้ยื่นขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน

2.4 การดำเนินการอนุญาตขุดดินลูกรังในที่รกร้างว่างเปล่า ภายใต้มาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พบปัญหาการพิสูจน์ว่า สถานะที่ดินนั้น เป็นสาธารณสมบัติของแผนดินซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุญาต หรือเป็นที่ดินที่ประชาชนอาจถือสิทธิครอบครอง ในกรณีนี้ตามกฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้ดูแลที่ดิน เว้นแต่รัฐมนตรีจะมอบหมายทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ดูแล

ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร จังหวัด เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารสวนตำบลเป็นผู้ดูแลรักษา ซึ่งบริเวณที่ไม่มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่เป็นที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศหวงห้ามไว้

แต่ไม่รวมถึงที่รกร้างว่างเปล่าที่บุคคลอาจถือสิทธิครอบครองได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งที่เขาหรือภูเขา หากรัฐไม่ได้สงวนไว้หรือจัดให้ประชาชนใช้ประโยชนร่วมกัน ย่อมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่บุคคลอาจถือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยได้

2.5 จังหวัดยังดำเนินการไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ได้แก่ ความเห็นของประชาชนในพื้นที่และหรือความเห็นของสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ชัดเจนว่า ขัดข้องหรือเห็นชอบการขออนุญาตฯ

2.6 การขุดลอกคลองในความรับผิดชอบของอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าในบางพื้นที่มีความเข้าใจว่า เป็นอำนาจการพิจารณาของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนทองถิ่น

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการขออนุญาตขุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตในการดูดทราย และการขุดลอกคลอง เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งสำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

ให้หน่วยงานที่เกี่ยวของทำความตกลงและจัดทำคู่มือในการแก้ไขปัญหาการขออนุญาตขุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตดูดทราย และการขุดลอกคลองเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งสำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด

3. การแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลการดำเนินการขุดดินและถมดิน และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเคร่งครัดหรือมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล ตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

3.1 เจ้าหน้าที่มีความเกรงกลัวหรือเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจบ่อดินลูกรัง ซึ่งมักเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงหลีกเลี่ยงการเข้าไปตรวจสอบ ไม่กล้าบังคับใช้กฎหมายหรือบังคับใช้กฎหมายไปในทางที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้กระทำผิด

การตรวจสอบแต่ละครั้งต้องมีการสนธิกําลัง เพื่อเข้าตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน อาทิ กองทัพ ตำรวจท้องที่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมที่ดิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

3.2 การขาดแคลนบุคลากรที่มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และงบประมาณสำหรับใช้ในการตรวจสอบการขุดดินให้ทั่วถึง สม่ำเสมอว่า การดำเนินการขุดดินตรงตามเงื่อนไขหรือแบบแปลนที่ยื่นขออนุญาตหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีระบบการตรวจสอบ และกำกับดูแลการขุดดินและถมดิน ให้เป็นไปตามการขออนุญาต บางหน่วยงานไม่มีการกำหนดขั้นตอนการตรวจสอบและกระบวนการปฏิบัติ เมื่อเกิดการร้องเรียนร้องทุกข์ขึ้น บางหน่วยงานกำหนดไว้อย่างกว้างๆ ว่า เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการดำเนินการได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตยตกหรือในระหว่างเวลาทำการเท่านั้น

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลการดำเนินการขุดดินและถมดิน และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเคร่งครัดหรือมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล ตามภารกิจหน้าที่และอำนาจ เห็นควรดำเนินการ ดังนี้

1) ต้องมีมาตรการหรือแนวทางในการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการลงโทษอย่างจริงจังสำหรับผู้ใช้อิทธิพลและอำนาจ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน และควรมีการสร้างระบบของการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำถูกต้องตามกฎหมาย และมีระบบป้องกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมกระทำการทุจริตเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด

2) ต้องอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้อย่างเพียงพอ มีการกำหนดระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และ 3) ให้คณะกรรมการสิ่งแวดลอมแห่งชาติ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน

4. ปัญหาการขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรดำเนินการ ดังนี้

ในการขุดดิน ซึ่งมีความที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและพิทักษ์รักษาที่ดินของรัฐ อันหมายถึงที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท เช่น ที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่สงวนหวงห้าม ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ ซึ่งจากข้อเท็จจริงพบปัญหาการลักลอบขุดดิน การแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนที่ช่วยในการสอดส่องดูแล จะต้องมีกลไกในการคุ้มครองประชาชนผู้แจงเบาะแสด้วย

ดังนั้น ปัญหาการขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนควรดำเนินการ ดังนี้

ให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ความดูแลของตนเอง สร้างกลไกในการเฝ้าระวังเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องสร้างระบบการแจ้งเบาะแสโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจง โดยจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์

และรายงานผลการดำเนินการภายหลังได้รับการแจ้งเบาะแสให้ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสรับทราบด้วย และจะต้องมีกลไกในการคุมครองประชาชนผู้แจงเบาะแสด้วยเช่นกัน

5. ปัญหาในภาพรวมที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน

5.1 การลักลอบขุดดิน ได้แก่ 1) การลักลอบขุดหน้าดินขายในพื้นที่ ส.ป.ก. และ 2) การลักลอบขุดหน้าดินโดยไม่ได้แจงขออนุญาตอย่างถูกต้อง

5.2 การออกใบอนุญาต ได้แก่ 1) การออกใบอนุญาตประกอบกิจการขุดดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และ 2) การขุดดินขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ

5.3 การขุดดินผิดไปจากแบบแปลนตามหลักวิชาการ

5.4 การขุดดินเกินกว่าที่ขออนุญาต

5.5 การขุดดินในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินเอกชน

5.6 การขุดดินที่กระทบถึงความปลอดภัย

5.7 การบรรทุกดินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้ถนนเกิดความชํารุดเสียหาย ซึ่งกระทบต่องบประมาณของภาครัฐจำนวนมากในการซ่อมบํารุงเส้นทาง

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เห็นควรดำเนินการ ดังนี้

การลักลอบขุดดิน การออกใบอนุญาตประกอบกิจการขุดดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การขุดดินขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ การขุดดินผิดไปจากแบบแปลนตามหลักวิชาการ การขุดดินเกินกว่าที่ขออนุญาต การขุดดินในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินเอกชน การขุดดินที่กระทบถึงความปลอดภัย

การบรรทุกดินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้ถนนเกิดความชํารุดเสียหาย ซึ่งกระทบต่องบประมาณของภาครัฐจำนวนมากในการซ่อมบํารุงเส้นทาง การแก้ไขปัญหาในข้อนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังเป็นรายกรณี

ข้อเสนอ จากข้อเท็จจริง สภาพปัญหา พบว่ามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดิน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดินมีหลายฉบับ ส่งผลให้การกำกับติดตามการให้อนุญาตขุดดินและถมดิน มีความแตกต่างกันไป ส่งผลให้ต้องใช้ใบอนุญาตหลายฉบับ

และมีกระบวนการขอใบอนุญาตที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลานาน เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการหลบเลี่ยงการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์เพื่ออํานวยความสะดวกและเร่งรัดการอนุญาต รวมถึงการแสวงหาประโยชน์ในการกำกับดูแล การควบคุมตรวจสอบการดำเนินการขุดดินและถมดิน

คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว จึงเห็นควรเสนอมาตรการปองกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. การแก้ไขประเด็นปัญหาด้านกฎหมาย กฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน

1.1 ควรปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดิน เพื่อให้การควบคุม ดูแลการขุดดินและถมดินมีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันการทุจริตได้มากยิ่งขึ้น โดยในกฎหมายดังกล่าว ให้กำหนดถึงแนวทางในการขนย้ายดินหลังจากที่มีการขุดดินและถมดินด้วย

1.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวของในการอนุมัติ อนุญาตในการขุดดินและถมดิน ทำความตกลง เพื่อลดขั้นตอนในการขออนุมัติ อนุญาต ซึ่งจะทำให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาต มีความโปร่งใสมากขึ้น เช่น ร่วมกันพิจารณาออกกฎระเบียบการใช้หน้าที่และอำนาจในการออกใบอนุญาตเป็นกฎระเบียบรวม พร้อมทั้งให้นําวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้การอนุมัติ อนุญาต การออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต

1.3 ควรร่วมกันจัดทำแผนที่แสดงเขตพื้นที่ที่สามารถขออนุญาตขุดดินและถมดินได้ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS เพื่อป้องกันมิให้เกิดการให้ใบอนุญาตในพื้นที่ห้ามขุดดิน

1.4 ควรมีการวิเคราะห์ว่าในแต่ละสภาพพื้นที่สามารถขุดดินและถมดินได้หรือไม่ รวมถึงผลกระทบจากการขุดดินและถมดิน และแนวทางในการฟื้นฟูสภาพดินและสิ่งแวดล้อม

2. การแก้ไขปัญหาการขออนุญาตขุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตในการดูดทราย และการขุดลอกคลองเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งสำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความตกลง

และจัดทำคู่มือในการแก้ไขปัญหาการขออนุญาตขุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตดูดทราย และการขุดลอกคลองเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้ง สำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด

3. การแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลการดำเนินการขุดดินและถมดิน การบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเคร่งครัดหรือมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล ตามภารกิจ และอำนาจหน้าที่

3.1 ต้องมีมาตรการหรือแนวทางในการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการลงโทษอย่างจริงจังสำหรับผู้ใช้อิทธิพลและอำนาจ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน และควรมีการสร้างระบบของการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำถูกต้องตามกฎหมาย และมีระบบป้องกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมกระทำการทุจริตเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด

3.2 ต้องอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้อย่างเพียงพอ มีการกำหนดระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

3.3 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแหงชาติ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอมเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน

4. ปัญหาการขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความดูแลของตนเอง สร้างกลไกในการเฝ้าระวังเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องสร้างระบบการแจ้งเบาะแสโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งข้อมูล

โดยจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือขายสังคมออนไลน์ และรายงานผลการดำเนินการภายหลังได้รับการแจ้งเบาะแสให้ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสรับทราบด้วย และต้องมีกลไกในการคุ้มครองประชาชนผู้แจ้งเบาะแสด้วยเช่นกัน

5. ปัญหาในภาพรวมที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน การลักลอบขุดดิน การออกใบอนุญาตประกอบกิจการขุดดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การขุดดินขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ การขุดดินผิดไปจากแบบแปลนตามหลักวิชาการ การขุดดินเกินกว่าที่ขออนุญาต การขุดดินในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินเอกชน

การขุดดินที่กระทบถึงความปลอดภัย การบรรทุกดินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้ถนนเกิดความชํารุดเสียหายซึ่งกระทบต่องบประมาณของภาครัฐจำนวนมากในการซ่อมบํารุงเส้นทาง การแก้ไขปัญหาในข้อนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังเป็นรายกรณี

6. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการดำเนินการตามมาตรการเสนอตอคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาและมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปปฏิบัติต่อไป

สำหรับ ตัวอย่างโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 เช่น มาตรา 35 วรรคแรก การขุดดินหรือถมดินโดยไม่ได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 36 การขุดดินหรือถมดินที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม

มาตรา 43 ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิด ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนไม่ได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น