xs
xsm
sm
md
lg

ผลงานจากการพัฒนากฎหมายให้ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



​“Better Regulation for Better life” หรือพัฒนากฎหมายให้ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วางเป้าหมายในการปฏิบัติงานทั้งในด้านการตรวจพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมาย การพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย การประสานงานด้านนิติบัญญัติแก้ไขข้อขัดข้องในการเสนอกฎหมายและการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา การจัดทำคำแปลกฎหมาย การวิจัย และพัฒนากฎหมาย การพัฒนาหลักกฎหมายปกครอง การทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลางผ่านเว็บไซต์สำนักงานฯ และระบบกลางทางกฎหมาย และการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่ต้องตอบสนองทุกภาคส่วน เพื่อให้มีกฎหมายที่ดีมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมการพัฒนาประเทศ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน​

ในการพัฒนางานด้านกฎหมายของสำนักงานฯ ได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของระบบการทำงานภายในสำนักงานฯ ทั้งในส่วนของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ การประชุม การสื่อสารผ่าน Microsoft Teams เว็บไซต์สำนักงานฯ (ocs.go.th) และในส่วนของการให้บริการประชาชน ตลอดจนส่วนราชการต่าง ๆ ผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (law.go.th) ส่งผลให้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานฯ ได้รับรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ หลายรางวัล ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของการทำงานในการพัฒนากฎหมายเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้


​1.รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ระดับก้าวหน้า (Advance) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้หน่วยงานของรัฐที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์การจากผลงานการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในรูปแบบระบบราชการ 4.0 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองการทำงานในโลกยุคดิจิทัลในการพัฒนากฎหมายที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

​2.รับมอบของที่ระลึกเนื่องในการร่วมพัฒนากฎหมายกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและกระทรวงพาณิชย์ในการร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในการร่วมยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และเป็นคณะกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ในการร่วมยกร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

​3.รางวัล “Friends of Makers Award”จากสมาคมการค้า สตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ในงาน “Makers United2024” ในวาระครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยโดยคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจ Startupในคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะที่มีบทบาทในการปรับปรุงหลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจ Startup และมีการพัฒนากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างระบบนิเวศของ Startupในประเทศไทย

​4.รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2566 “DG Awards 2023”เป็นรางวัลจากการดำเนินโครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.)โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับ “รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance)”

​5.โล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ อนุกรรมการศึกษาแนวทางการปรับปรุง หลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจStartupในคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจากบทบาทในการปรับปรุงหลักการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจStartupและมีการพัฒนากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างระบบนิเวศของStartupในประเทศไทย รางวัลดังกล่าว มอบโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUiHub) ในงาน Chula Deep Tech Demo Day 2023

​6.รางวัล “Recognition of Excellence 2023” ผลงานโครงการระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal) จากนายโมฮิท ซาการ์ CEO และบรรณาธิการวารสาร Open Gov Asia สิงคโปร์ จากงาน Thailand Open Gov Leadership Forum ประจำปี ครั้งที่ 5 โดยโครงการระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal)เป็นระบบแพลตฟอร์มกลางเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ยกระดับการส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการออกกฎหมาย สามารถส่งความคิดเห็นโดยตรงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางออนไลน์ นับเป็นความคิดริเริ่มและความพยายามขององค์กรในระดับแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยบริการทางออนไลน์ และดิจิทัลที่ทันสมัย (online and digital cutting-edge services)


​นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ "Competitive Thailand, Grow Sustainably Together"ในหัวข้อ “ประเทศไทยที่มีการแข่งขัน : การเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน”และหัวข้อ “การออกแบบกฎหมายเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต – การกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์”ในระหว่างวันที่19-20กันยายน2567ณโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ด้านการพัฒนากฎระเบียบที่ดี (GoodRegulatory Practice : GRP)ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิกOECDรวมตลอดทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562

​สำหรับในส่วนของผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2567ที่ผ่านมาสำนักงานฯ ได้รับเรื่องจากคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ มาดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน1,731 เรื่องแบ่งเป็น1) ร่างกฎหมาย จำนวน278 เรื่อง2) ให้ความเห็นทางกฎหมาย จำนวน1,453 เรื่อง(ความเห็นทั่วไป511 เรื่อง และความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี942เรื่อง)

​ไม่ว่าจะเป็นผลการปฏิบัติงานหรือผลงานต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับล้วนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้หยิบยกมาสรุปเพื่อบอกเล่าถึงการทำงานในปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยทุกท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของสำนักงานฯ ได้ทางเพจสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เว็บไซต์ocs.go.thระบบกลางทางกฎหมาย law.go.th และ YouTubeช่องKrisdikaConnect หรือการติดต่อสำนักงานฯผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 02 222 0206 

​สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนางานด้านกฎหมายให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วรวมถึงบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้มีกฎหมายที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น




กำลังโหลดความคิดเห็น