xs
xsm
sm
md
lg

"อิ๊งค์" เสนอวิสัยทัศน์ประชุมอาเซียน เน้นยั่งยืน-ความมั่นคงของมนุษย์-บูรณาการความร่วมมือ ประชากร 400 ล้านคนกินดีอยู่ดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"แพทองธาร" เสนอวิสัยทัศน์บนเวทีแรกเช้านี้ 3 ประเด็น สำคัญ เน้นความยั่งยืนของสมาชิก-ความมั่นคงของมนุษย์-และการบูรณาการร่วมกันระดับภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงประเทศ อาเซียนที่แข็งแรงระหว่างกันนำไปสู่การ "กินดีอยู่ดี" ของประชากร กว่า 700 ล้านคนในภูมิภาค

วันนี้ (พุธที่ 9 ตุลาคม 2567) เวลา 09.30 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 (แบบเต็มคณะ) เพื่อย้ำถึงความจำเป็นที่อาเซียนต้องมี “Collective Leadership” หรือการ ทำงานร่วมกันระหว่างชาติสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน และส่งเสริมการกินดีอยู่ดีของประชาชนกว่า700 ล้านคนในภูมิภาค

ในการประชุมครึ่งเช้า วันนี้ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ขอบคุณสำหรับการต้อนรับในครอบครัวอาเซียนอย่างอบอุ่นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของนโยบายต่างประเทศของไทยในการมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าพัฒนาประชาคมอาเซียน ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญนี้ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยากและซับซ้อน ทั้งจากการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ จนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่น“ยางิ”ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายประเทศของสมาชิกอาเซียน จึงเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนา โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้จำเป็นที่จะต้องสร้างประชาคมอาเซียนที่เชื่อมโยงและยืดหยุ่นในแต่ละปัญหาให้มากยิ่งขึ้น


นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าความเป็นผู้นำร่วมกัน (collective leadership) ที่พร้อมจะสร้างความแตกต่างและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และความเจริญร่วมกันได้ โดยประเทศไทยได้เสนอประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.ประเด็นด้าน“ความยั่งยืน”นั้นประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เห็นว่าอาเซียนต้องร่วมกันดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และความเป็นกลางทางคาร์บอน การเปลี่ยนผ่านไปสู่ พลังงานสะอาด การเงินสีเขียว และเศรษฐกิจสีเขียว รวมถึงนวัตกรรมดิจิทัลเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคสมัยใหม่นี้จะไม่กระทบสิ่งแวดล้อม หรือเกิดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ในภูมิภาค

2. ประเด็นด้าน“ความมั่นคงของมนุษย์ ”นั้นประเทศไทยได้เสนอ ว่าอาเซียนต้องทำงานร่วมกัน ในการต่อสู้กับทุกวิกฤต เพื่อให้ประชาชนมี อาหาร พลังงาน และสิ่งจำเป็นพื้นฐาน และควรส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะไปพร้อมๆ กับเกษตรยั่งยืน เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับผลผลิตและความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว ของภูมิภาค นอกจากนี้จะต้องเร่งเสริมสร้างกรอบการทำงานของอาเซียน ในด้านพลังงานเช่น การเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าของอาเซียน เพื่อการยืดหยุ่นด้านพลังงานในภูมิภาค
ขณะเดียวกัน สมาชิกอาเซียน ควรร่วมกันส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีพรมแดนระหว่างกัน รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการหลอกลวงออนไลน์ แกงค์คอลเซ็นเตอร์ และการปราบปรามการ ค้ายาเสพติด โดยเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุม พื้นที่บริเวณชายแดนระหว่างกัน

3.สำหรับประเด็นเรื่อง“การบูรณาการระดับภูมิภาคที่ลึกซึ้ง “นั้น นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ได้กล่าวถึงการสนับสนุนในความพยายามของอาเซียน ในการปรับปรุงและยกระดับ FTA กับคู่เจรจา และในฐานะที่ไทยเป็นประธานคณะกรรมการเจรจา ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA) จะผลักดันการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปีหน้านี้ ( พ.ศ.2568) เพื่อสร้างเครื่องยนต์กลไก เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ๆในอาเซียนนอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับ ธุรกิจขนาดกลางขนาด ย่อม และ ขนาดย่อย หรือ MSMEs เพื่อเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อช่วยสร้างการเติบโตในเศรษฐกิจของโลกที่ผันผวนอยู่ในขณะนี้


นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการสร้างความเชื่อมโยงในทุกๆด้านที่จะเป็นกุญแจสำคัญ อาทิ ขอให้อาเซียนส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนต่อกันเป็นพิเศษ เช่นการเพิ่มเที่ยวบินและขยายระยะเวลาการยกเว้นวีซ่า (visa-free) ระหว่างประเทศอาเซียน การส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว รวมทั้งความร่วมมือกับประเทศพันธมิตรอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเป็นแกนกลางและความสามัคคี ที่จะทำให้การมีส่วนร่วมของอาเซียนกับประเทศพันธมิตรภายนอก มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียน ควรหลีกเลี่ยงการเป็นตัวแทนของอำนาจใดๆ หรือปล่อยให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นเวทีแห่งการแข่งขัน ทั้งนี้เพื่อสร้างสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ และไทยจะทำหน้าที่ส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาในภูมิภาค

นายกรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่า ประเทศไทยจะรอ การสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และอาเซียน-นิวซีแลนด์ และประเทศไทยพร้อมสนับสนุนข้อริเริ่มของประเทศมาเลเซียในการจัดการประชุม ASEAN-GCC-China Summit ในปีหน้า

นายจิรายุ กล่าวต่อไป ว่า”ทั้งนี้ ในช่วงท้ายการประชุมช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับ สปป.ลาว สำหรับความสำเร็จของการเป็นประธานอาเซียนครั้งนี้ และพร้อมสนับสนุนมาเลเซียในการเป็นประธานอาเซียนวาระถัดไปซึ่งมั่นใจว่าจะพาประเทศสมาชิกอาเซียนให้พัฒนามในมุกๆด้านต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ “


กำลังโหลดความคิดเห็น