xs
xsm
sm
md
lg

“วันนอร์” แนะถอยคนละก้าว หาข้อสรุปร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ในสมัยประชุมนี้ รับประชามติ 3 ครั้งเสี่ยงน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปธ.สภา ชี้ ควรหาข้อสรุปร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ในสมัยประชุมนี้ แนะ สส.- สว.ถอยคนละก้าว โดยคำนึงผลประโยชน์ ปชช. พร้อมรับทำประชามติ 3 ครั้ง เสี่ยงน้อย

วันนี้ (8 ต.ค.) ที่ สปป.ลาว นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วุฒิสภาส่งร่าง พ.ร.บ.ประชามติ กลับมาในรูปแบบ ทำประชามติ สองชั้น ว่า จะต้องนำกลับมาพิจารณาในสภา ซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้นก็จะปิดสมัยประชุม ดังนั้น สภาจึงจะต้องเร่งพิจารณาว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันสองสภาเพื่อพิจารณา จึงเห็นว่าควรได้ข้อยุติในเบื้องต้นภายในสมัยประชุมนี้ เพื่อจะใช้เวลาในช่วงสมัยประชุมในการพิจารณาหาข้อยุติ

แต่ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตั้งคณะกรรมาธิการร่วม โดยเมื่อเมื่อมีการแก้ไขก็มักจะใช้กันไปก่อน เว้นแต่มีข้อขัดแย้งกันจริงๆ ซึ่งตนเห็นว่าแล้วแต่วิปรัฐบาลจะเลือกใช้วิธีใด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่สิ่งสำคัญกฎหมายการทำประชามติจะต้องมี และทางออกที่ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชนควรจะต้องมีการประนีประนอม แทนที่จะไปนับหนึ่งใหม่ แต่ขณะเดียวกัน จะต้องมีความสมดุลในการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายด้วย

“เป็นเรื่องเป็นเรื่องไม่ยากหากคุยกันแล้วมีความปรารถนาดี และหวังดีต่อประเทศชาติ เชื่อว่า ประเทศชาติเดินไปข้างหน้าได้ ประชาชนมีความเชื่อมั่น ดังนั้น แต่ละฝ่ายควรถอยคนละก้าวสองก้าวก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้กับประชาชน ดังนั้น เสียเวลาคุยกัน เพื่อให้จบโดยมีเป้าหมายคือทำประชามติให้ได้แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ดีกว่า โดยคุยกันตั้งแต่ตอนแรกว่าจะตั้งคณะกรรมาธิการร่วมหรือไม่ตั้ง ผมเชื่อว่าคุยกันได้นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

ส่วนที่ทางวิปรัฐบาลยืนยันที่จะให้กลับไปใช้ร่างของสภาผู้แทนราษฎรนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนเดาไม่ถูกเนื่องจากวิปรัฐบาลจะต้องฟังเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วย

สำหรับกรณีที่ยังยังคงมีข้อถกเถียงว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 รอบ นั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ยังคงไม่มีข้อยุติและไม่มีใครบอกได้ว่า จะต้องทำกี่รอบเพราะเคยถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่ศาลไม่ตอบ แต่ขอให้ไปดูคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ว่าชัดเจนแล้ว จึงทำให้ เกิดการตีความ ที่แตกต่างว่า ต้องทำสองรอบหรือสามรอบ แต่ส่วนตัวมองว่าทำสามรอบก็ไม่เสี่ยง เพราะหากทำสองรอบเสร็จแล้วหากมีคนไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญถึงขณะนั้นก็ไม่ทราบว่าศาลจะตีความอย่างไร.


กำลังโหลดความคิดเห็น