xs
xsm
sm
md
lg

สธ.เร่งผลิตนักฟื้นฟูสุขภาพ-นักกายภาพ อำเภอละคน ดูแลป่วยเอ็นซีดี-สูงอายุติดเตียง ย้ำ 30 บ.มีค่ากายภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"สมศักดิ์" เร่งผลิตนักฟื้นฟูสุขภาพ-นักกายภาพ อำเภอละ 1 คน รองรับการดูแลผู้ป่วยเอ็นซีดี-สูงอายุติดเตียง และป้องกันก่อนป่วย ย้ำ 30 บาทรักษาทุกโรค มีค่ากายภาพบำบัดให้

วันนี้ (3ต.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ชี้แจงกระทู้ถามสด ของนายธัญธร ธนินวัฒนาธร สส.กทม. พรรคประชาชน เรื่องอัตรากำลังข้าราชการนักกายภาพบำบัด รวมถึงการกระจายอัตรากำลัง เพื่อรองรรับการเข้าสู่สังคมสูงสัยและการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ว่าจากสภาพปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ป่วยติดเตียง ที่ทำให้ต้องใช้งบประมาณดูแลรักษาทางตรงมากถึง 1.3แสนล้านบาทต่อปี และต้องดูแลทางอ้อมถึง 1.5 ล้านล้านบาท มีความจำเป็นที่ต้องมีนักกายภาพบำบัดที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย และ เตรียมพร้อมก่อนป่วย หลังจากตนเข้ารับตำแหน่งได้ผลักดันแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงาน โดยเฉพาะการปฏิรูปกำลังให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณานอกจากนั้นให้ส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้พบว่านักกายภาพบำบัด มีจำนวน 1.3 หมื่นคน จำนวนดังกล่าวพบว่ามีนักภายบำบัดดูแลประชาชน มากถึง 4,792 คน โดยเป้าหมาย 10 ปี นักกายภาพหนึ่งคนต้องดูแลคน 2,000 คน ดังนั้นต้องเร่งผลิตให้เพียงพอ คือ 1.9 หมื่นคนในระยะเวลาที่กำหนด แต่อาจจะไม่ทัน

“เรามีแผนที่จะต้องผลิตนักฟื้นฟูสุขภาพชุมชน อำเภอละ 1 คน เพื่อเป็นผู้ช่วยนักกายภาพชุมชน โดยใช้งบประมาณในส่วนกองทุกฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด ทั้งนี้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ตระหนักถึงปัญหาและสั่งการให้เร่งดูแล นอกนั้นในเดือนต.ค.นี้นายกฯจะลงพื้นที่เพื่อดูงานส่วนงานแคร์กีฟเวอร์เพื่อดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาดูงานผู้ป่วยเอ็นซีดี นอกจากนั้นแล้วยังมีนโยบายที่จะยกระดับ อสม. ในเรื่องดังกล่าวและให้ค่าตอบแทนเป็นขวัญกำลังใจ” นายสมศักดิ์ ชี้แจง

รมว.สาธารณสุข ชี้แจงต่อว่า สำหรับค่ารักษาพยาบาลในสิทธิ สปสช. ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่รองรับค่าบริการ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บไขสันหลัง บาดเจ็บทางสมอง และกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ สามารถรับค่าบริการกายภาพบำบัดครั้งละ 450 บาท ไม่เกิน 20 ครั้งต่อราย กรณีรับบริการที่บ้าน สปสช. จะจ่ายเพิ่มเติมตามเป็นจริงไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง สิทธิข้าราชการสามารถเบิกได้เช่นกัน นอกจากนั้นแล้วในโรงพยาบาลต้องมีศูนย์ฟื้นฟู ขณะเดียวกันในแต่ละภูมิภาคต้องมีโรงพยาบาลเฉพาะทาง โดยขณะนี้มีแล้ว 1 แห่ง ที่จ.ลำปาง ส่วนภูมิภาคอื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ

นายสมศักดิ์ ยังได้ตอบกระทู้ถามทั่วไปในประเด็น ปัญหาโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อสัดส่วนการใช้บริการของประชาชนในกทม. ซึ่งตั้งถามโดย นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม.พรรคประชาชน โดยย้ำถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุข และสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้บริการของประชาชน หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่แต่การดำเนินการดังกล่าวยอมรับว่าต้องใช้เวลา.


กำลังโหลดความคิดเห็น