xs
xsm
sm
md
lg

“สนามม้าฝรั่ง” เล่นใหญ่! ขอมหาดไทย ขายตั๋วแข่งม้า ผ่านแอปพลิเคชัน อ้างเฉพาะพื้นที่วีไอพี กม.มท.หวั่นขัดหลาย พ.ร.บ.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ราชกรีฑาสโมสร “สนามม้าฝรั่ง” เล่นใหญ่! ชงกรมการปกครอง มหาดไทย หน่วยงานกำกับ กม.การพนัน ขอนําระบบโมบายแอปพลิเคชัน “ขายตั๋วแข่งม้า” ในพื้นที่ พ่วงตู้ขายอัตโนมัติ + ระบบเดิม อ้างสนองนโยบายรัฐ ลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อโรค จํากัดขอบเขตอัฒจันทร์-ห้องวีไอพี ด้าน ฝ่าย กม.มท. กังวลขัดหลายข้อกฎหมาย ทั้ง พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯ โยน ปค .หารือ “ETDA” สรุป รวมถึงขัดต่อระเบียบ มท.การพนันแข่งม้าฯ

วันนี้ (2 ต.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย กระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 ได้นำข้อหารือ จากสมาคมราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าฝรั่ง) ที่มีถึงกรมการปกครอง (ปค.) มาพิจารณา

กรณีจะนําระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการ “ขายตั๋วแข่งม้า” ที่ควบคุมระบบให้ใช้ได้เฉพาะภายในสนามม้า ควบคู่กับระบบการขายตั๋วแบบปกติ การจัดทําระบบออนคอร์ ส ในรูปแบบเซลฟ์เซอร์วิสสปอร์ตเบ็ทติ้ง (On course Self-Service Sport Betting) มาใช้ในสนามม้าฝรั่ง

ล่าสุด พบว่า อยู่ในระหว่างการศึกษาจัดทําระบบออนคอร์ส ในรูปแบบเซลฟ์เซอร์วิสสปอร์ตเบ็ทติ้ง ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนลดการสัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และยังเป็นการสนองนโยบายของภาครัฐ

โดยผู้เข้าชมการแข่งม้า สามารถเข้าเล่นพนันแข่งม้าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตู้ตอบรับอัตโนมัติ (KIOSK) และโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile Application) โดยจํากัดขอบเขตผู้เล่นให้อยู่ในบริเวณอัฒจันทร์เท่านั้น

กรมการปกครอง รายงานว่า สมาคมราชกรีฑาสโมสร จะจัดอุปกรณ์ให้ผู้เข้าชม ที่ผ่านการลงทะเบียนแล้ว สามารถเข้าเล่นผ่านตู้ KIOSK และโมบายแอปพลิเคชัน โดยการใช้อุปกรณ์เชื่อม Wi-Fi ที่สมาคมราชกรีฑา

“ติดตั้งไว้บริการตามพื้นที่อัฒจันทร์และห้องวีไอพี (VIP) ภายในพื้นที่สนามไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเข้าเล่นการพนันแข่งม้าผ่านการดาวน์โหลดจากโมบายแอปพลิเคชัน โดยโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคลโดยทั่วไปแต่อย่างใด”

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดนี้ เห็นว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บทบัญญัติรองรับ การทําธุรกรรมในปัจจุบันที่มีแนวโน้มติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

ซึ่งการจัดทําระบบออนคอร์สในรูปแบบเซลฟ์เซอร์วิสสปอร์ตเบ็ทติ้ง มีลักษณะ อยู่ในขอบข่ายตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ พ.ศ. 2544 ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการจัดทําระบบออนคอร์สฯ เป็นไปอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายกําหนด

เห็นควรให้ “กรมการปกครอง” ศึกษาข้อกฎหมายขอ พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ ปี 2544 รวมทั้งหารือกับ สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า สามารถดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อประกอบการพิจารณา ในประเด็นดังกล่าวต่อไป

ซึ่งหาก พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ ปี 2544 สามารถใช้บังคับกับ ระบบออนคอร์สได้ ก็ไม่มีความจําเป็นจะต้องออกกฎหมายลําดับรองตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เพื่อบังคับใช้ในกรณีดังกล่าว เนื่องจากการดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ พ.ศ. 2544 อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ตามข้อ 5 (1) แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันแข่งม้า พ.ศ. 2524 กําหนดให้สนามม้าจัดทํารั้วกั้นบริเวณที่ขายตั๋วแข่งม้า ไว้ให้เป็นส่วนสัดโดยเฉพาะ

“การที่ผู้เข้าชมการแข่งม้า เข้าเล่นพนันแข่งม้า โดยการซื้อตั๋วแข่งม้าผ่านตู้ KIOSK และโมบายแอปพลิเคชัน ปค. ควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า การดําเนินการดังกล่าวจะเป็น การขัดต่อระเบียบดังกล่าวนี้ หรือไม่ อย่างไร เพื่อให้การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย”

ทั้งนี้ ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กรณีตามข้อ 5 (1) แห่งระเบียบดังกล่าว เป็นการกําหนดรายละเอียดเพียงว่า ให้สนามม้าต้องจัดทํารั้วกั้นบริเวณที่ขายตั๋วแข่งม้าไว้ให้เป็น ส่วนสัดโดยเฉพาะเท่านั้น

หากกรณีการจัดให้ซื้อตั๋วแข่งม้าผ่านตู้ KIOSK และโมบายแอปพลิเคชัน สามารถนํา พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับได้ ก็ไม่น่าจะขัดกับข้อ 5 (1) แห่งระเบียบฯ เนื่องจากการบังคับใช้ผ่านระบบย่อมเป็นไป ตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ พ.ศ. 2544 อยู่แล้ว

แต่หากไม่สามารถนํา พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับได้ ปค.อาจพิจารณาแก้ไขระเบียบ ดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงการขายตั๋วผ่านระบบ เพื่อให้การบังคับใช้ไม่ขัดต่อระเบียบฯ ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่กําหนดให้ผู้เข้าชมการแข่งม้าเข้าเล่นพนันแข่งม้า โดยการซื้อตั๋วแข่งม้าผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ดังกล่าว

“สมาคมราชกรีฑาสโมสร จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามลักษณะข้อจํากัด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้หลังใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันแข่งม้า (พ.น. 3 01-50) แนบท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความใน พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ประกอบกับ ระเบียบฯว่าด้วยการพนันแข่งม้า พ.ศ. 2524 ที่กําหนดไว้”

ส่วนกรณีการกําหนดให้บุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียน ยังคงสามารถใช้งานระบบตู้ตอบรับอัตโนมัติ และโมบายแอปพลิเคชัน ได้ตามปกติ โดยการเชื่อม Wi-Fi เห็นว่า การจัดให้มีการเล่นการพนันแข่งม้า

จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบฯ ว่าด้วยการพนันแข่งม้า พ.ศ. 2524 และตามลักษณะข้อจํากัดและเงื่อนไขที่กําหนดไว้หลังใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันโตแต่ไลเซเตอร์

ที่กําหนดห้ามมิให้ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่น และจํากัดการอนุญาต การเล่นการพนันแข่งม้าภายในสนามเท่านั้น หากมีการจัดให้มีการเล่นการพนันแข่งม้าด้วยระบบออนคอร์ส ในรูปแบบดังกล่าว

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏ ภายหลังว่า บุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียน หรือบุคคลภายนอกสนามแข่งม้าเข้าใช้ในระบบได้นั้น อาจมีลักษณะเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการพนันแข่งม้า

ดังนั้น เห็นควรให้ ปค.หารือสมาคมราชกรีฑาสโมสร ให้ชัดเจนเกี่ยวกับอุปกรณ์การเข้าเล่นการพนันแข่งม้า รวมถึงกําหนดมาตรการในการจํากัดบุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียนหรือบุคคลภายนอกสนามแข่งม้า ในการเข้าใช้ในระบบให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับระบบออนคอร์ส ในรูปแบบเซลฟ์เซอร์วิสสปอร์ตเบ็ทติ้ง (On course Self-Service Sport Betting) ที่ สมาคมราชกรีฑาสโมสร ร่างไว้ กำหนดให้ผู้เข้าชมการแข่งขันม้า ที่ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบต้องมีคุณสมบัติ ได้แก่

มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ โดยมีการพิสูจน์ตัวตนผ่าน E-KYC (Electronic Know Your Customer) และมีสถานะ “10 หมายถึงสถานะปกติ ไม่มีหนี้ค้าง” ในฐานข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (National Credit Bureau) และต้องมีฐานรายได้ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท

ผู้เข้าชมที่ผ่านการลงทะเบียนแล้ว สามารถเข้าเล่นผ่านตู้ KIOSK และโมบายแอปพลิเคชัน ได้โดยการใช้อุปกรณ์เชื่อม Wi-Fi ที่สมาคมราชกรีฑาสโมสร ติดตั้งไว้บริการตามพื้นที่อัฒจันทร์และห้องวีไอพี (VIP) เท่านั้น

และบุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียนยังคงสามารถใช้งานระบบตอบรับอัตโนมัติ และระบบพื้นฐานได้ตามปกติ

ล่าสุด สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ได้มีหารือกับผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานด้านเทคโนโลยี สังกัด กรมการปกครอง

เห็นว่า ระบบออนคอร์สในรูปแบบนี้ สามารถกําหนดคุณสมบัติและขอบเขตของผู้เล่นการพนันแข่งม้าได้ และได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า

ควรกําหนดให้ครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การตรวจสอบเครดิตบูโร การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ผ่านแอปพลิเคชัน ThalD

โดยนําการสแกนใบหน้าประกอบการยืนยันตัวตน และระบบการตรวจสอบด้วยการระบุพิกัด GPS หรือ กล้องวงจรปิดในการตรวจจับพฤติกรรมมาใช้กับบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเล่นพนัน เพื่อจํากัดการเล่น การพนันแข่งม้าเฉพาะพื้นที่

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อหารือดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน


กำลังโหลดความคิดเห็น