xs
xsm
sm
md
lg

ประชุม AACC ครั้งที่ 6 "นครินทร์" หวังแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนายั่งยืน ปธ.กิตติมศักดิ์ชี้ยุบพรรคควรมาจากแค่ใช้ความรุนแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดประชุมใหญ่สมาคมศาลรธน.และสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย ครั้งที่ 6 “นครินทร์” หวังสมาชิกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน “บุคูอือโจ” ปธ.กิตติมศักดิ์ ผู้แทนพิเศษของคณะกมธ.เวนิส หวังความเป็นอิสระ ขับเคลื่อนความยุติธรรม จับตาเรื่องยุบพรรค ชี้ควรมาจากเหตุใช้ความรุนแรงเท่านั้น

วันนี้ (19ก.ย.) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย กล่าวเปิดการประชุมใหญ่สมาคมศาลธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย หรือ AACC ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน ซึ่งเป็นการจัดประชุมระหว่างประเทศภายใต้กรอบการดำเนินการของสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอบทความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ของบรรดาประเทศสมาชิก ผู้สังเกตการณ์ และแขกผู้ได้รับเชิญ

นายนครินทร์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และว่า ได้เห็นพัฒนาการของสมาคมสถาบันศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ในฐานะที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ในด้านหลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ซึ่งการประชุม AACC เกิดขึ้นได้เพราะทุกคน โดยหัวข้อในการประชุมครั้งนี้คือ "ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน" มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีส่วนร่วมกัน และการประชุมนี้เป็นเวทีให้ทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

จากนั้น นายจานนี บุคูอือโจ ประธานกิตติมศักดิ์ ผู้แทนพิเศษของคณะกรรมาธิการเวนิส กล่าวในวาระพิเศษ ผ่านวีดิทัศน์ ว่าอยากจะขอขอบคุณต่อศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยที่ได้จัดงานในครั้งนี้ขึ้น วิธีนี้จะเป็นวิธีที่เราได้หารือกัน และขอบคุณนายนครินทร์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญในการเป็นผู้นำอันเยี่ยมยอด เห็นว่าเรื่องที่ทำเป็นสิ่งที่สำคัญ อยากให้นึกถึงความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราจะต้องให้คำแนะนำและแนวทางต่างๆ เพื่อผลักดันมีความเสรีภาพ เนื่องจากศาลบางประเทศที่ยังมีเรื่องของความขัดแย้งอยู่ ทางคณะกรรมมาธิการก็ได้ประสานงานผ่านการแลกเปลี่ยนทางศาลรัฐธรรมนูญและทางเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ ทางกรรมาธิการโดยตนเองก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ AACC ก็ได้มีส่วนสำคัญมากในเรื่องของการพัฒนา ซึ่งทางเราเริ่มจากการที่เราคุยกันในทวิภาคีและในช่วงขยายต่อไป การสัมมนาก็เป็นจุดเริ่มต้นในปี 2005 ความร่วมมือของเรา ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือของเราจนถึงปัจจุบัน การประสานงานของเราก็ได้มาจากประชุมที่เกาหลีใต้ในปี 2006 และแข็งแกร่งมากขึ้น เมื่อเราได้ให้มีสนับสนุนของเอเชียที่ได้มาจากการประชุมเคปทาวน์ ปี 2009 มีบทบาทที่สำคัญในการประชุมในปี 2014 สิ่งต่างๆแบบนี้ได้มาเป็นกฎบัตรต่างๆ และช่วยให้ศาลต่างๆในเอเชียพัฒนาต่อไป ก็ขยายไปถึงเอเชียกลาง และนำมาสู่ทั้งทวีป แน่นอนว่าเรามีอุปสรรคต่างๆให้เราจะต้องเอาชนะต่อไป นำไปสู่ความพัฒนาที่ยังยืน

ทั้งนี้เราให้ความสำคัญในการป้องกันจากการกระทำรุนเเรง ป้องกันสิทธิมนุษยชนและสิทธิส่วนบุคคล เจตนารมย์ของศาลนี้คือการปกป้องสิทธิมนุษย์ชน การคุกคามต่างๆ สร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น การประชุมครั้งนี้เป็นการนำร่องก่อนที่จะเชื้อเชิญประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ถือเป็นมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญ

นายจานนี กล่าวว่าตนเห็นว่าการจัดประชุมในช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีมาก เพราะเป็นทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างท้าทาย ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ๆสำคัญแล้ว สังคมจะเที่ยงธรรม วาระสำคัญของเราจะศึกษาในมิติต่างๆบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ บทบาทของสิ่งแวดล้อมและความเสถียรภาพของเศรษฐกิจ

ประเด็นสำคัญที่เราต้องศึกษา คือศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมประชาธิปไตยได้อย่างไร รัฐบาลควรรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิประชาชน ซึ่งการประชุมครั้งใหญ่นี้จะเปิดโอกาสให้แบ่งปันประสบการณ์ ในความรับผิดชอบของตนเองและข้อมูลต่างๆ ระหว่างศาลแต่ละประเทศ จากการที่เราได้เรียนรู้กันและกัน ก็จะได้ขับเคลื่อนความยุติธรรม

การประชุมใหญ่ ครั้งนี้เราจะจัดเป็นประชุมย่อยในแต่ละทวีป เพื่อที่จะสอบถามสมาชิกของเรา ดังนั้นความเป็นอิสระ ของศาลถือเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ถือว่า เป็นมาตรฐานในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน เป้าหมายหลักของการประชุมเป็นโอกาสในการสร้างเสวนาระหว่างตุลาการ ดังนั้นเวลาเราพูดถึงเป้าหมายของการสนับสนุนแต่ละประเทศ เรามีภารกิจของการขับเคลื่อนความยุติธรรม และเราจะจัดอีกครั้งที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน

สำหรับหลายๆ กรรมาธิการได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อพูดถึงสิทธิของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยุบพรรคก็ตาม ประเด็นเรื่องเกี่ยวกับการยุบพรรคก็กลายเป็นคำถามเมื่อเดือนที่แล้ว เราได้ถามถึงเรื่องการยุบพรรคแห่งหนึ่งและจะมีผลกระทบ แต่ละพรรคนั้น ในประเทศยุโรป และเมื่อเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองนั้นก็จะเกิดการรักษาของกระบวนการทางประชาธิปไตย เราควรต้องเคารพความเป็นสัดส่วน ในการที่อยู่ตรงกลาง การยุบพรรคใดพรรคหนึ่งนั้นควรเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย ในกรณีที่พรรคนั้นมีเจตนารมณ์ในการใช้ความรุนแรง


กำลังโหลดความคิดเห็น