ประชุมด่วน! แก้ไขน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือ เตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนกน้ำจะท่วมเหมือนปี 54 รัฐบาลเอาอยู่ ปริมาณน้ำไม่เหมือนกัน ขออย่าสร้างความตระหนกตกใจ ปชช.เดือดร้อนมากพอแล้ว
วันนี้ (22 ส.ค.) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมอุทกภัย ที่กรมชลประทาน ว่า วันนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินของ สทนช. ที่เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมเนื่องจากกรณีน้ำท่วมในภาคเหนือ ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นกับฝนที่ตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าเป็นห่วง เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการประสานงานกัน และทำงานไปบ้างแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และสั่ง ปภ.ไปดูเรื่องของการป้องกันภัย กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งกรมชลประทานไปแล้ว เพื่อความไม่ประมาทและข้อห่วงใยทั้งหมดที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรี ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ก็ความเป็นห่วง จึงอยากฝากให้ดูแลประชาชน ไม่ได้นิ่งนอนใจซึ่งบางส่วนได้ทุเลาลงไปแล้ว วันนี้ที่ประชุมทั้งหมดได้มีการทบทวนแผนงานที่ได้กำหนดในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยการป้องกันน้ำ 3 ปีที่มีการจัดทำ ซึ่งได้มีการลงไปที่เป้าหมายว่าพื้นที่ไหนมีน้ำท่วมบ้าง ไม่มีทีท่าว่าฝนจะหยุด
ส่วนแผนเฉพาะหน้าได้มีการให้กระทรวงมหาดไทยตั้งศูนย์แต่ละจังหวัด มอบให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนกลาง ประสานหน่วยราชการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และสุโขทัย โดยนายอนุทินได้ดำเนินการแล้ว ให้ไปดูข้อกฎหมายต่างๆ ตรงไหนที่สามารถประเมินได้ว่าจะเกิดอุทกภัยให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพื่อจะได้ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันภัย
ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ไปดูแลเรื่องของชลประทานทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สิ่งที่สบายใจคือเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำในเขื่อน 60% เหลืออีก 40% ที่สามารถรองรับได้ เชียงราย พะเยา จะไหลลงแม่น้ำโขง เป็นน้ำหลากใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จะคลี่คลายได้ ยกเว้นจะมีฝนตกลงมาอีก กรมชลประธานได้สั่งการให้ สทนช.ประสานกระทรวงคมนาคม บางส่วนที่มีน้ำหลากที่มีบางสิ่งที่ขวางน้ำ จุดไหนที่เป็นจุดระบายน้ำทั้งหมด ต้องแจ้งประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ที่จะมีการสร้างสะพานชั่วคราว ก่อนประสานกระทรวงกลาโหมนำสะพานแบริ่งมา สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อมูล ส่วนหน้าของสทนช.อยู่ที่สุโขทัย ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะสั่งให้รถโมบายที่ได้รับข้อมูลลงพื้นที่ให้ตรงกับปัญหาในจุด โดยข้อมูลทั้งหมดจะสามารถป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกันนี้ ได้เร่งบูรณาการทุกกระทรวง ให้รองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ
ส่วนสถานการณ์ในจังหวัดสุโขทัยมีความน่าเป็นห่วงหรือไม่ ร้อยเอก ธรรมนัส ระบุว่า น้ำยมในขณะนี้ มีการปล่อยน้ำ 1,600 ถึง 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเราพยายามที่จะกระจายน้ำให้ออกไปทางซ้ายขวา ต้องมีการเร่งระบายไปที่แม่น้ำน่าน เพื่อให้ไหลไปสู่เขื่อนสิริกิต์ สถานการณ์เวลานี้พื้นที่จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน ประสบปัญหาน้ำท่วมหลัก เมื่อเข้าสู่ลำน้ำสำคัญ คือ แม่น้ำยม หรือแม่น้ำน่าน ก็พยายามระบายออกซ้ายขวา เพื่อให้ถึงเขื่อนเจ้าพระยาน้อยที่สุด พรุ่งนี้ตนเองจะลงพื้นที่โดยด่วนซึ่งศูนย์ปฏิบัติการมีอยู่ทุกจังหวัดทั้งพะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ขณะนี้ จังหวัดพะเยาถือเป็นต้นแม่น้ำยม ซึ่งตนเองจะทำให้ดีที่สุด
ร้อยเอก ธรรมนัส ยังระบุอีกว่า ปัจจุบันจังหวัดพะเยา ที่อำเภอจุน น้ำจะไหลเข้าสู่ลำน้ำปิง และเราจะระบายออกที่แม่น้ำโขง ซึ่งตอนนี้จังหวัดพะเยา น่าน และแพร่ มีจำนวนน้ำท่วมมากที่สุด ส่วนจังหวัดที่มีโอกาสเสี่ยงจะน้ำท่วม เช่น จังหวัดสุโขทัยพิษณุโลก นั้น จังหวัดแพร่มีการระบายน้ำซึ่งจะไปสู่จังหวัดสุโขทัยในระยะเวลา 3 วัน ช่วงนี้จะต้องมีการระบายน้ำออกให้เยอะที่สุด เพื่อให้น้ำในแม่น้ำยม ระบายน้ำสู่แม่น้ำน่านให้มากที่สุด และไหลไปสู่เขื่อนสิริกิติ์บางส่วน และให้บางส่วนไปไหลลงที่แม่น้ำโขง
ส่วนแม่น้ำน่านจะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ ร้อยเอก ธรรมนัส ระบุว่า ได้สั่งการและควบคุมน้ำ ต้องระบายให้เร็วที่สุด ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะต้องรองรับน้ำจากเหนือให้ได้
ส่วนได้มีการเผยแพร่ข้อมูลบางจังหวัดอาจจะมีการท่วมหนักกว่าปี 54 ความจริงในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างไร นายภูมิธรรม ระบุว่า อย่าสร้างความตระหนกตกใจ พอแค่นี้ ประชาชนเดือดร้อนมากพอแล้ว เพราะเราคิดว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ดำเนินการได้ถ้าไม่ทำอะไรเลยน้ำมาก็จะหนัก ถ้าฝนไม่ตกก็จะเบา และต้องดูด้วยว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหน ไม่มีอะไรที่เหนือบากกว่าแรงกว่าแรง เราเอาอยู่ ในขณะนี้ยังไม่มีพายุเข้า ซึ่งเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ขณะที่ ร้อยเอก ธรรมนัส ระบุว่า ปริมาณน้ำปี 54 กับปีนี้ ไม่เหมือนกัน ไม่อยากให้ประชาชนต้องตื่นตระหนก และเขื่อนหลักทั้ง 3 แห่ง ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ ซึ่งลำน้ำสาขาซ้ายขวาต้องเร่งระบายออก บริเวณใดที่เป็นที่ เป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องมีการเก็บเกี่ยวและจำเป็นต้องต้องใช้เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ในพื้นที่แปลงเกษตรกรและต้องไม่รบกวนบ้านเรือนประชาชน ซึ่งวิธีการบริหารจัดการน้ำมีหลายรูปแบบ ทั้งหลักวิชาการและวิชาโกง
ส่วนมีอะไรที่อยากจะเตือนประชาชนหรือไม่นั้น ร้อยเอก ธรรมนัส ระบุว่า ทุกกระทรวงเรามีการบูรณาการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเฉพาะหน้า อันไหนที่สามารถแก้ไขได้จะเร่งแก้ไข ส่วนเรื่องงบประมาณ การถ้าไม่เพียงพอในการแก้ไขก็สามารถใช้งบกลาง มาช่วยเหลือได้ รวมทั้งมีศูนย์บัญชาการในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลอยู่ สามารถที่จะแจ้งเตือนได้
ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ไปดูแลเรื่องของชลประทานทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สิ่งที่สบายใจคือเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำในเขื่อน 60% เหลืออีก 40% ที่สามารถรองรับได้ เชียงราย พะเยา จะไหลลงแม่น้ำโขง เป็นน้ำหลากใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จะคลี่คลายได้ ยกเว้นจะมีฝนตกลงมาอีก กรมชลประธานได้สั่งการให้ สทนช.ประสานกระทรวงคมนาคม บางส่วนที่มีน้ำหลากที่มีบางสิ่งที่ขวางน้ำ จุดไหนที่เป็นจุดระบายน้ำทั้งหมด ต้องแจ้งประชาสัมพันธ์พี่น้องประชาชน ที่จะมีการสร้างสะพานชั่วคราว ก่อนประสานกระทรวงกลาโหมนำสะพานแบริ่งมา สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อมูล ส่วนหน้าของสทนช.อยู่ที่สุโขทัย ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะสั่งให้รถโมบายที่ได้รับข้อมูลลงพื้นที่ให้ตรงกับปัญหาในจุด โดยข้อมูลทั้งหมดจะสามารถป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกันนี้ ได้เร่งบูรณาการทุกกระทรวง ให้รองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ
ส่วนสถานการณ์ในจังหวัดสุโขทัยมีความน่าเป็นห่วงหรือไม่ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า น้ำยมในขณะนี้ มีการปล่อยน้ำ 1,600 ถึง 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเราพยายามที่จะกระจายน้ำให้ออกไปทางซ้ายขวา ต้องมีการเร่งระบายไปที่แม่น้ำน่าน เพื่อให้ไหลไปสู่เขื่อนสิริกิต์ สถานการณ์เวลานี้พื้นที่จังหวัดพะเยา แพร่ น่าน ประสบปัญหาน้ำท่วมหลัก เมื่อเข้าสู่ลำน้ำสำคัญคือแม่น้ำยมหรือแม่น้ำน่านก็พยายามระบายออกซ้ายขวา เพื่อให้ถึงเขื่อนเจ้าพระยาน้อยที่สุด พรุ่งนี้ตนเองจะลงพื้นที่โดยด่วนซึ่งศูนย์ปฏิบัติการมีอยู่ทุกจังหวัดทั้งพะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ขณะนี้ จังหวัดพะเยาถือเป็นต้นแม่น้ำยม ซึ่งตนเองจะทำให้ดีที่สุด
ร้อยเอกธรรมนัส ยังระบุอีกว่า ปัจจุบันจังหวัดพะเยาที่อำเภอจุน น้ำจะไหลเข้าสู่ลำน้ำปิง และเราจะระบายออกที่แม่น้ำโขง ซึ่งตอนนี้จังหวัดพะเยาน่านและแพร่ มีจำนวนน้ำท่วมมากที่สุด ส่วนจังหวัดที่มีโอกาสเสี่ยงจะน้ำท่วม เช่น จังหวัดสุโขทัยพิษณุโลก นั้น จังหวัดแพร่มีการระบายน้ำซึ่งจะไปสู่จังหวัดสุโขทัยในระยะเวลา 3 วัน ช่วงนี้จะต้องมีการระบายน้ำออกให้เยอะที่สุด เพื่อให้น้ำในแม่น้ำยม ระบายน้ำสู่แม่น้ำน่านให้มากที่สุด และไหลไปสู่เขื่อนสิริกิติ์บางส่วน และให้บางส่วนไปไหลลงที่แม่น้ำโขง
ส่วนแม่น้ำน่านจะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า ได้สั่งการและควบคุมน้ำ ต้องระบายให้เร็วที่สุด ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะต้องรองรับน้ำจากเหนือให้ได้
ส่วนได้มีการเผยแพร่ข้อมูลบางจังหวัดอาจจะมีการท่วมหนักกว่าปี 54 ความจริงในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างไร นายภูมิธรรม ระบุว่า อย่าสร้างความตระหนกตกใจ พอแค่นี้ ประชาชน เดือดร้อนมากพอแล้ว เพราะเราคิดว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ดำเนินการได้ถ้าไม่ทำอะไรเลยน้ำมาก็จะหนัก ถ้าฝนไม่ตกก็จะเบา และต้องดูด้วยว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหน ไม่มีอะไรที่เหนือบากกว่าแรงกว่าแรง เราเอาอยู่ ในขณะนี้ยังไม่มีพายุเข้า ซึ่งเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ขณะที่ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า ปริมาณน้ำปี 54 กับปีนี้ ไม่เหมือนกัน ไม่อยากให้ประชาชนต้องตื่นตระหนก และเขื่อนหลักทั้ง 3 แห่ง ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้หรือไม่ ซึ่งลำน้ำสาขาซ้ายขวาต้องเร่งระบายออก บริเวณใดที่เป็นที่ เป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องมีการเก็บเกี่ยวและจำเป็นต้องต้องใช้เป็นพื้นที่ระบายน้ำ ในพื้นที่แปลงเกษตรกรและต้องไม่รบกวนบ้านเรือนประชาชน ซึ่งวิธีการบริหารจัดการน้ำมีหลายรูปแบบ ทั้งหลักวิชาการและวิชาโกง
ส่วนมีอะไรที่อยากจะเตือนประชาชนหรือไม่นั้น ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่า ทุกกระทรวงเรามีการบูรณาการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเฉพาะหน้า อันไหนที่สามารถแก้ไขได้จะเร่งแก้ไข ส่วนเรื่องงบประมาณ การถ้าไม่เพียงพอในการแก้ไขก็สามารถใช้งบกลาง มาช่วยเหลือได้ รวมทั้งมีศูนย์บัญชาการในแต่ละจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลอยู่สามารถที่จะแจ้งเตือนได้