xs
xsm
sm
md
lg

ศาล รธน.ชี้แก้ 112 เจตนาทำสถาบันอ่อนแอ เป็นปฏิปักษ์การปกครอง จี้นักวิชาการ-ทูตมีมารยาท ชี้บริบทแต่ละชาติต่างกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มติเอกฉันท์ยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิ์ 11 กรรมการบริหารพรรค ศาล รธน.ชี้นโยบายหาเสียงแก้ ม.112 มีเจตนาทำสถาบันอ่อนแอ เป็นการกระทำล้มล้าง-เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง อัดนักวิชาการ-ทูต ต้องมีมารยาท รัฐธรรมนูญและบริบทกฎหมายแต่ละประเทศแตกต่างกัน

วันนี้ (7ส.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติสั่งยุบพรรคก้าวไกล และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค โดยห้ามมิให้ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ตาม พ.ร.ป​ ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง(1)และ(2) จากเหตุมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคก้าวไกลมีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ที่ระบุว่า

เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ.... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่ง สส.พรรคก้าวไกล 44คน เข้าชื่อยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 25 มี.ค. 2564 และใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งปี 2566 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดการกระทำนั้น

โดยศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ และการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้นได้ใน 2กรณี ได้แก่1. กกต.มี “หลักฐานอันควรเชื่อได้” ว่าพรรคการเมืองใดได้กระทำการที่เข้าลักษณะตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) และ2. “เมื่อปรากฏ” ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าพรรคการเมืองใด กระทำการตามมาตรา 92นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อเสนอ ความเห็นต่อกกต.ตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง 2566 จึงเป็นกรณีที่กฎหมายวางกฎเกณฑ์ของผู้เริ่ม กระบวนการและลักษณะของข้อเท็จจริงไว้แตกต่างกัน ดังนั้น หากกกต.มีหลักฐานอันควร เชื่อได้ว่าพรรคการเมืองมีการกระทำที่เข้าลักษณะที่กฎหมายบัญญัติ ก็ย่อมมีอำนาจยื่น คำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

คดีนี้กับคดีตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567เป็นคดีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันและมูลคดี เดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไต่สวนพยานหลักฐานในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ ยุติแล้วในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวของผู้ถูกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ” ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมต้องผูกพันศาลรัฐธรรมนูญในการ พิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ด้วย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ว่าพฤติการณ์ของพรรคก้าวไกลที่ เสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อันมีเนื้อหาเป็นการลดทอนคุณค่าสถาบัน พระมหากษัตริย์ และใช้เป็นนโยบายพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งโดยการใช้ประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อหวังผลคะแนนเสียงและชนะการเลือกตั้ง เป็นการมุ่งหมายให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้งกับ ประชาชน พรรคก้าวไกลมีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์หรือทำให้อ่อนแอลง อันนำไปสู่ การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด การกระทำของพรรคก้าวไกลจึงเข้าลักษณะการกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขอีกด้วย

เมื่อพรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนที่มีความสำคัญในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองต้องเคร่งครัด ระมัดระวัง ให้ได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ความรุนแรงของพรรคการเมือง พรรคก้าวไกลมีการกระทำอันฝ่าฝืนต่อพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ซึ่งเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง กฎหมายดังกล่าวใช้กับพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าพรรคการเมือง นั้นจะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม แต่ทุกพรรคการเมืองต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับเดียวกันอย่างเสมอ ภาคเท่าเทียมกัน หากมีพฤติการณ์ร้ายแรงกฎหมายจำเป็นที่จะต้องหยุดยั้งการทำลายหลักการพื้นฐานการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญต้องสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามที่กฎหมาย บัญญัติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

"แม้นักวิชาการ นักการเมือง หรือนักการทูตของต่างประเทศไม่ว่าในระดับใด ต่างก็มีรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในประเทศ รวมทั้งข้อกำหนดของตนแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ การแสดงความเห็นใด ๆ ย่อมต้องมีมารยาทสากลทางการทูตและการต่างประเทศที่พึงปฏิบัติต่อกัน"

ทั้งนี้มติยุบพรรคดังกล่าวแบ่งเป็นมติเอกฉันท์ 9เสียงที่เห็นว่าพรรคก้าวไกลกระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิถีทางที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา92(1)

ส่วนที่เห็นว่าพรรคก้าวไกลกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92วรรคหนึ่ง(2)นั้นเป็นมติเสียงข้างมาก 8ต่อ 1 โดยนายนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ เป็นตุลาการเสียงข้างน้อย

และมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียง มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในระหว่างวันที่ 25มี.ค.64 -วันที่31 ม.ค.67 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการกระทำอันเป็นเหตุให้ยุบพรรคมีกำหนดเวลา10 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งสอดคล้องกับระยะเวลาตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 94 วรรคสองโดยผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงดังกล่าว จะไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ภายในกำหนด 10ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับกรรมการบริหารพรรค ที่จะถูกตัดสิทธิมีทั้งสิ้น 11 คนประกอบด้วยสส.บัญชีรายชื่อ 5 คน คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ขณะนั้น นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขณะนั้น น.ส.เบญจา แสงจันทร์ นายสุเทพ อู่อ้น นายอภิชาต ศิริสุนทร

สส.เขต 1 คน คือ นายปดิพัทธ์ สันติ ภาดา สส.พิษณุโลก ซึ่งถูกขับพ้นพรรคและปัจจุบันสังกัดพรรคเป็นธรรม

ส่วนกรรมการบริหารพรรค ที่ไม่ได้ เป็น สส.ในปัจจุบัน ประกอบด้วย ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค นายสมชาย ฝั่งชลจิตร นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์


กำลังโหลดความคิดเห็น