xs
xsm
sm
md
lg

ผู้บังคับใช้ กม./ คนเลี้ยงวัวลาน 1% ไม่เห็นด้วย ปรับเวลาแข่งวัวชน ยันสว่าง "กษ."กังวล! กม.ทารุณสัตว์ ตามประเพณี "ไม่ถือเป็นทารุณกรรม"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มท. เปิดความเห็น ปรับเวลาแข่งวัวลานเพชรบุรี หัวค่ำยันสว่าง หลังครม.รับหลักการ พบ 99% ผู้บังคับใช้กฎหมาย/ คนเลี้ยงวัวลาน เห็นด้วย แค่ 1% ไม่เห็นด้วย ย้ำ! ควรจัดแข่งช่วงเช้า กลางวันถึงช่วงเย็น หัวค่ำหรือเที่ยงคืน ก็เพียงพอแล้ว! ด้าน ก.เกษตร กังวล! แม้เป็นประเพณีท้องถิ่น "ไม่ถือเป็นทารุณกรรม" ตามกม.ทารุณสัตว์ ฉบับปี 47 แต่ควรเพิ่มเติม การจัดสวัสติภาพ "งดสารกระตุ้น-อุปกรณ์เฆี่ยนตี" รวมถึงความเสี่ยงโรคระบาด

วันนี้ (31 ก.ค.2567) มีรายงานากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้า ภายหลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญในการกำกับดูแล "การแข่งขันวัวลาน" ระหว่างลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี เมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพนัน พุทธศักราช 2478 ตามที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเสนอ

" ปรับแก้ไขเวลาในการแข่งขันวัวลานจากเวลา 07:00 น. ถึง 19:00 น. เป็นเวลา 18:00 น. ถึง 06:00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา"

พบว่า ที่ผ่านมากรมการปกครอง ได้เปิดรับฟ้งความคิดเห็นร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..(พ.ศ..) ออกตามความใน พ.ร.บ.การพนัน 2478 โดยกำหนดวิธีรับฟังความคิดเห็น

จากพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง และนายอำเภอแห่งท้องที่

ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติ ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครอง และผู้ว่าราชการจังหวัด และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

รวมถึง กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวลาน และประชาชนทั่วไป

"กว่า 1,327 ราย ที่แสดงความเห็น ต่อการปรับ เวลา 18:00 น. ถึง 06:00 น. ของวันรุ่งขึ้น เห็นด้วยถึง 1,264 ราย มีเพียง 63 ราย ที่ไม่เห็นด้วย ขณะที่ 6 รายเห็นไปในทิศทางอื่น"

กรณีหากไม่เห็นด้วยควรปรับเวลาเช่นใด พบว่า 39 ราย เห็นควรปรับเป็นเวลา 07:00 น. ถึง 19:00 น. ,23 ราย เห็นควรปรับเป็นเวลา 12:00 น. ถึง 24:00 น. , 38 ราย เห็นควรปรับเป็นเวลา 17:00 น. ถึง 02:00 น. และ 72 ราย เห็นควรปรับเวลาเป็นอย่าางอื่น

จากนั้น กรมการปกครองได้ยกร่าง โดยใช้ความเห็นใหญ่เป็นเวลา 18:00 น. ถึง 06:00 น. ของวันรุ่งขึ้น และทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่าง ๆ

ล่าสุดพบว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีความเห็นต่อร่างฉบับนี้ว่า วัวลานถือว่าเป็นการละเล่นพื้นบัาน ชื่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสติภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20 (9)

ระบุว่า การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์

แต่ทั้งนี้ เจ้าของวัวลาน ต้องดำเนินการจัดสวัสติภาพสัตว์ให้เหมาะสมตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ค. 2561

และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขนส่งสัตว์ หรีอการนำสัตว่ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง พ.ศ. 2562

เพื่อไม่ให้เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2547 มาตรา 22 และ 24 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการละเล่นพี้นบ้าน ‘‘วัวลาน” ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันการกระทำที่อาจเข้าข่ายตามความผิดตามพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2547 มาตรา 20

"ในเรื่องการใช้ยา หรือสารกระตุ้น หรือใช้อุปกรณ์เฆี่ยนตีวัวลาน ก่อนที่จะมีการแข่งขัน ส่งผลทำให้เกิดอันตราย ทรมานต่อร่างกายหรือจิตใจ นำไปสู่การเสียชีวิตได้"

ทั้งนี้ ควรกำหนดให้มีการควบคุมป้องกันโรคระบาดในร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว "เพิ่มเติม"

เนื่องจากมีความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดในสัตว์ที่สัตว์จากหลากพื้นที่มารวมกันพื่อแข่งขันควรมีระบบป้องกันโรคที่ดี

ทั้งนี้ ลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไข ของร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ ) ประกอบด้วย

1. ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ให้ใช้ได้สำหรับ 1 เที่ยว 2. การพนันนี้ให้เล่นตามวัน เวลา และ ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต 3. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตโอนใบอนุญาตให้ผู้อื่นไปใช้

4. ห้ามมิให้เอาสัตว์ชนิดอื่นนอกจากที่ได้รับอนุญาตมาแข่งขัน 5. สัตว์ที่จะเข้าแข่งขันเที่ยวหนึ่ง ๆ ต้องมีจำนวนไม่เกิน 1 คู่ และ 6. ห้ามมิให้ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่นด้วย.


กำลังโหลดความคิดเห็น