คมนาคม-พม. กังวล! ร่างกฎกระทรวงจัดซื้อจัดจ้าง "วิธีเฉพาะเจาะจง" ฉบับใหม่ ที่เน้นคุมจัดซื้อจัดจ้าง รสก.ให้มีความโปร่งใส หวั่นเลี่ยงขั้นตอนแข่งขันจัดซื้อจัดจ้าง ไม่เป็นไปตามหลักการเปิดโอกาสแข่งขันอย่างเป็นธรรม ชี้ปัจจุบันยังไร้หลักเกณฑ์พิจารณาถึงรสก.หรือนิติบุคคล ในเครือหน่วยงานรัฐเดียวกันแห่งใด สามารถดำเนินภารกิจ หรือกิจกรรมได้เพียงแห่งเดียว หรือเป็นกิจกรรมที่ผู้ประกอบการรายอื่น สามารถดำเนินการได้ไนลักษณะทั่วไป
วันนี้ (26 ก.ค. 2567) มีรายงานจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เร็ว ๆนี้ กระทรวงการคลัง (กค) เตรียมประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (ฉบับที่ ..) พ.ศ..
หลังจากคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการ และผ่านความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของรัฐวิสาหกิจ (รสก.)มีความโปร่งใสมากขึ้น
ล่าสุด พบว่า กระทรวงคมนาคม (คค.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความเห็นต่อกฎกระทรวงฯดังกล่าว
กระทรวงคมนาคม มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ชัดเจนว่า รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล ในเครือหน่วยงานของรัฐเดียวกันแห่งใดที่สามารถดำเนินภารกิจหรือกิจกรรมได้เพียงแห่งเดียว
หรือเป็นกิจกรรมที่ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถดำเนินการได้ไนลักษณะทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือวิธีคัดเลือกได้
"จึงอาจทำให้ เกิดปัญหาการใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นการหลีกเลียงการแข่งขันในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม"
ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
ขณะที่ พม. เห็นว่า ควรนำนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาปรับใช้กับร่างกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้
ซึ่งจะช่วยสร้างความชัดเจน และยากต่อการใขัช่องว่างของกฎหมายเพื่อเอื้อต่อการทุจริต และเห็นควรกำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อรับรองสิทธิของประซาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
และตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราซบัญญัติฯ อย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งยังเป็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิขอบในภาครัฐ โดยประชาชนด้วย
สำหรับหลักการของ กกฎกกระทรวงฉบับนี้ เป็น การเพิ่มอัตราร้อยละในการถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล จากเดิมกำหนดไวั ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนทั้งหมด เป็นไม่นัอยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด
เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างจากรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลในเครือของหน่วยงานของรัฐเดียวกัน เป็นโปโดยถูกต้องตามเจตนารมณ์ตามหลักการของพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ 2560 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง (2) โปร่งใส
"กล่าวคือ เปิดโอกาส ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ดังนั้น เมื่อเพิ่มอัตราร้อยละการถือหุ้นแล้ว ก็จะทำให้หน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้ง หรือที่มีการถือหุ้นนั้นมีสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซื่งการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ย่อมต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ 2560.