xs
xsm
sm
md
lg

รมว.เกษตรฯ เดินหน้าปุ๋ยคนละครึ่ง ยกระดับราคาข้าวเกษตรกร ยันไม่โละทิ้งโครงการไร่ละ 1,000

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ธรรมนัส” เดินหน้าโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง หวังยกระดับราคาข้าวเกษตรกร ยันไม่โละทิ้งโครงการช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท หากชาวนาเกิดวิกฤต รัฐพร้อมดูแล

วันนี้ (9 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเสียงวิจารณ์โครงการปุ่ยคนละครึ่ง ที่ชาวนาบางส่วนไม่เห็นด้วยว่า โครงการนี้เป็นมติที่เห็นชอบโดยคณะกรรมการนโยบายข้งแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการนี้ ประกอบไปด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้แทนจากนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลัง ธ.ก.ส. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ออกมาเป็นมติ และนำส่งให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยสิ่งเหล่านี้เป็นการเรียกร้องของพี่น้องเกษตรกรชาวนา ตามที่ตนได้เคยแสดงวิสัยทัศน์ เราจะนำไปสู่โครงการ ปุ๋ยแม่นยำ ถูกสูตร ถูกที่ ถูกเวลา เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตและให้ข้าวมีคุณภาพ เมื่อคณะกรรมการนโยบายข้าวเห็นชอบ ทางกรมการข้าวในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ เสนอ ครม.เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมการข้าว ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ให้ดำเนินการตามกระบวนการต่อไป

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวอีกว่า ฉะนั้น ถามว่า พี่น้องชาวนาต้องการหรือไม่ ซึ่ง ธ.ก.ส.และกรมส่งเสริมการเกษตร จะเปิดโอกาสให้เกษตรกรลงทะเบียนว่าสนใจโครงการนี้หรือไม่ ต้องดูตรงนี้ ไม่ใช่ไปบังคับยัดปุ๋ยให้ชาวบ้าน มันไม่ใช่ การสื่อสารต้องทำให้เข้าใจว่า เรื่องนี้เกษตรกรและชาวนาต้องลงทะเบียนเองว่ายินดีจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ ตรงนี้ต้องแยก บางคนไปวิพากษ์วิจารณ์มันเสียหาย โดยบอกว่า เป็นการเพิ่มภาระให้เกษตรกร ยืนยันหากเกษตรกรชาวนาไม่เข้าร่วม ก็ไม่ได้บังคับ

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวอีกว่า เมื่อเกษตรกรชาวนาลงทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ก็จะต้องไปเข้าแอป ของ ธ.ก.ส.ด้วย สิ่งสำคัญที่มองกันว่าล็อกสเปกปุ๋ย ล็อกสูตรปุ๋ย และบริษัทหรือไม่ ตรงนี้บอกเลยว่าไม่ แต่เป็นการเปิดโอกาส ผู้ประกอบการให้ทุกบริษัทและทุกยี่ห้อเข้าร่วมโครงการ ไม่ได้ไปล็อคสเปคสูตรนั้นสูตรนี้ เป็นการเปิดโอกาสทั้งหมด ขอให้เข้าใจตรงนี้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นการพัฒนาคุณภาพผลิตผลการเกษตรประเภทข้าว

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวด้วยว่า หลายท่านถามว่าหากชาวนาไม่ต้องการปุ๋ย แต่ต้องการไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการของรัฐ เอาไว้ใช้เมื่อเกษตรกรมีปัญหา จากการปลูกข้าว ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งเกิดจากน้ำแล้งหรือน้ำท่วม ส่งผลให้ข้าวเกิดความเสียหาย รัฐต้องเข้าไปเยียวยา ขณะเดียวกัน ถ้าราคาข้าวปีไหนที่ตกต่ำมาก ตันละ 7-8 พันบาท ชาวนาอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตสูงกว่า รัฐก็จะเข้าไปสนับสนุน โดยดูแลค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท ซึ่งรัฐบาลนี้ประกาศชัดเจน เราจะต้องพัฒนาคุณภาพข้าว เพิ่มปริมาณต่อไร่ และราคาข้าวต้องสูง ไม่ควรจะต่ำกว่า 1.1 หมื่นบาท ถึง 1.5 หมื่นบาท ต่อตัน ซึ่งแล้วแต่ชนิดพันธุ์ข้าว และเมื่อข้างราคาสูง ถามว่า รัฐจะต้องเข้าไปสนับสนุนอีกหรือ แต่ถ้าข้าวราคาต่ำ รัฐต้องเข้าไปสนับสนุนอยู่แล้ว ตรงนี้มันคนละเรื่องกันต้องแยก ขอยืนยันว่า ไร่ละ 1,000 บาทนั้น รัฐยังสนับสนุน หากเกิดวิกฤตกับพี่น้องชาวนา โครงการนี้ยังมีอยู่ไม่ได้ยกเลิก

“การวิพากษ์วิจารณ์โดยนำไปโยงกันถือเป็นการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน มันคนละเรื่องอย่าเอา 2 เรื่อง มาผูกให้เป็นเรื่องเดียวกัน”
เมื่อถามว่า นายกฯ บอกว่า ให้มีการทบทวนโครงการนี้ ตรงนั้นคือส่วนไหน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ตอนนี้กระบวนการดำเนินการ จะต้องไม่ให้เปิดช่องทางให้ข้าราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปแสวงหาประโยชน์ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าต้องการให้เกษตรกรได้มีปุ๋ยใส่ในนาข้าวตัวเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าว และเพิ่มปริมาณข้าว นายกฯมีวัตถุประสงค์ตรงนี้ ส่วนผู้ประกอบการปุ๋ย ก็จะต้องไปลงทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ถือเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ย เพราะเดี๋ยวจะได้ปุ๋ยที่ไม่มีคุณภาพอีก เมื่อลงทะเบียนกรมวิชาการเกษตรก็จะต้องให้บริษัทนั้นๆ นำตัวอย่างมาทดสอบหรือเทส ซึ่งปุ๋ยที่ใช้แต่ละแปลงนาก็ไม่เหมือนกัน โดยนายกฯสั่งให้ทำให้ละเอียด


กำลังโหลดความคิดเห็น