xs
xsm
sm
md
lg

Ecoson พื้นที่ศึกษาเพื่อยกระดับผู้ทุพพลภาพในระดับอุดมศึกษา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ก็เพราะมีครูอาจารย์ที่เปี่ยมเมตตา จึงมีนักศึกษาทุพพลภาพได้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ในคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต มีนักศึกษา "ที่ตามองไม่เห็น" แต่สมองเป็นเลิศ ความเพียรความตั้งใจเรียนเกินนักศึกษาปกติ ถือเป็นโมเดลนำร่องสมัย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนนโยบายของ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต มีความตั้งใจที่จะให้การจัดการศึกษาของม.รังสิต เป็นประทีปนำปัญญา เพื่อให้การศึกษาระดับอุดมศึกษา เปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ทุพพลภาพผู้ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเช่นคนปกติ


"น้องนุก" นักศึกษาปี 4 ดวงตาของน้องมองไม่เห็นมาแต่กำเนิด เรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ใกล้จบแล้ว "เห็นตาซ้ายปูดดำเขียว" เพราะเมื่อวานก้มเดินชนขอบอ่างล้างจานที่บ้าน วันนี้ก็ยังมาร่วมกิจกรรมทดลองการตลาดในการฝึกทดสอบภาคสนามที่นักศึกษา 86 ชีวิตมีห้องทดลองทางการตลาด เพื่อฝึกให้พวกเขาพึ่งตนเองในการทำเศรษฐกิจเพื่อพึ่งตนเอง

อย่าได้ถามว่า พวกเขาล้มลงกี่ครั้งในชีวิต อย่าได้ถามว่าขอบตาที่ปูดดำบนใบหน้านั้นผ่านเข้ามากี่ร้อยกี่พันครั้งแล้วที่ต้องเดินชนในสิ่งที่มองไม่เห็นเพราะดวงตาทุพพลภาพ และอย่าได้ถามว่า "ความท้อแท้" เขียนสกดอย่างไร? น้องคณะเศรษฐศาสตร์ของที่นี่ สะกดคำนี้ไม่เป็นครับ ขอได้โปรดช่วยอุดหนุนสินค้าหรือเกื้อหนุน "กองทุนการศึกษา" เพื่อให้พวกเขาเป็นบัณฑิตเป็นกำลังของประเทศที่พึ่งตนเองได้ในสังคมไทย


รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงการจัดตั้งร้านอีโคซอนว่า กระทรวงอุดมศึกษาฯ ให้ทุนมหาวิทยาลัยรังสิตอมรบความรู้เศรษฐกิจให้กับประชาชน ทางคณะฯได้เลือกคนฐานรากมาอบรม คืน คนที่เป็นคนงาน และเกษตรกร จำนวน 2 รุ่นๆ 80 คน ซึ่งได้คนที่มีความรู้ทางด้านหลักการเศรษฐกิจ และนำความรู้ที่ได้มาไปปฏิบัติให้เป็นจริง โดยแนวทางที่จะให้เกิดได้จริงนั้น ควรที่จะสร้างตลาดขี้นมา เพราะเกษตรส่วนมากขาดตลาดในการนำสินค้ามาขาย อีกทั้งต้องหาพื้นที่ในการจัดตั้งตลาดที่เป็นอิสระ เนื่องจากพื้นที่มีราคาแพง ทั้งนี้จึงได้ปรึกษากับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย และสหภาพฯการรถไฟ โดยการรถไฟฯได้มอบพื้นที่อาคารที่อยู่ในบริเวณสวนรถไฟในการจัดตั้งตลาดสำหรับเศรษฐกิจคนฐานราก

หตุผลการตั้งตลาดเศรษฐกิจคนฐานรากนั้นในระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ถ้าได้ฟังนักธุรกิจ รัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์ จะมองว่าเศรษฐกิจอยู่ที่การลงทุนในต่างประเทศ หรือในประเทศไทย แต่ตัวเลขทางวิชาการ ตัวที่สร้างจีดีพีเป็นหลักไม่ใช่ธุรกิจ ไม่ใช้การลงทุนรัฐบาล แต่เป็นการใช้จ่ายของประชาชน เช่น ประชาชนจ่ายคนละ1,000 – 2,000 บาท ทั้งประเทศจะช่วยสร้างเศรษฐกิจประเทศได้ 58% ของรายได้ทั้งหมด ถ้าเทียบกับนักลงทุนได้เพียง 22% รัฐบาลได้ 15% การค้าระหว่างประเทศ 15% ดังนั้นการที่เศรษฐกิจไทยจะโตไปได้การจับจ่ายใช้สอยฐานรากต้องแข็งแรง

"การที่เศษฐกิจไทยจะเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจฐานรากต้องแข็งแรง เมื่อแข็งแรงประชาชนก็จะมีเงินใช้จ่าย ธุรกิจก็อยู่ได้เพราะมีกำลังซื้อ อีกทั้งการศึกษาในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาจจะมองข้ามเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสนใจในส่วยของภาคประชาชน จึงได้ทดลองทำตลาดคนฐานรากมาระยะเวลา 1 ปี ซึ่งในระยะเริ่มต้นขายได้วันละ 1,000 – 2,000 บาท มาถึงวันนี้ขายได้วันละ 20,000 – 30,000 บาท และมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยากให้ไปจัดตั้งตลาดคนฐานรากในพื้นที่รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือพนักงานรัฐวิสาหกิจของเค้า รวมทั้งในพื้นที่ของภาคเอกชน และพื้นที่นิคมอมตะนคร เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถขยายตลาดคนฐานเศรษฐศาสตร์รากได้ทั่วประเทศในระยะเวลา 5 ปี" รศ.ดร.ณรงค์ กล่าว

ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
สภากาแฟ NEWS1 รายงาน
















กำลังโหลดความคิดเห็น