xs
xsm
sm
md
lg

ชง “มท.1” กระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ จ่อ! แก้กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ ได้ไม่เกิน 99 ปี ทบทวน กม.สิทธิคนต่างด้าว ถือครองห้องชุด ไม่เกินร้อยละ 75

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เวียนแจ้ง “มหาดไทย” สนองมติ ครม. กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ จ่อ! ตรา-แก้กฎหมายภาคอสังหาฯ หลัง มติ ครม.สั่งทบทวนกฎหมายกำหนดระยะเวลาทรัพย์อิงสิทธิ ที่ให้ทรัพย์อิงสิทธิ เวลาได้ไม่เกิน 99 ปี แนะ มท.ทบทวน กม.ให้สิทธิคนต่างด้าว ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด จากไม่เกินร้อยละ 49 เป็น ไม่เกินร้อยละ 75 พ่วงเงื่อนไขบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุด สิทธิการออกเสียงคนต่างด้าว เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ เกินร้อยละ 49

วันนี้ (21 มิ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า วานนี้ (20 มิ.ย.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลน.) เวียนหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไทย ต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอลังหาริมทรัพย์

หนังสือเวียนระบุว่า ตามที่ได้ยืนยันมติคณะรัฐมนตรี (9 เม.ย. 2567) เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเตรียมการเพื่อรองรับ การดำเนินการยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก (Thailand Vision)]

ในคราวประขุมคณะรัฐมนตรี 18 มิ.ย. 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 เม.ย. 2567) เรื่อง มาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอลังหาริมทรัพย์

โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษามาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาค

ตลอดจนดึงดูดนักลงทุนขนาดใหญ่ให้เข้ามาลงทุน ในประเทศไทย โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งเสริมการเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพ

จึงขอให้ กระทรวงมหาดไทยศึกษาความเป็นไปได้ ดังต่อไปนี้

1. การพิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาของทรัพย์อิงสิทธิ ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ทรัพย์อิงสิทธิ มีกำหนดเวลาได้ไม่เกิน 99 ปี

2. การพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิคนต่างด้าว สามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด จากเดิมไม่เกินร้อยละ 49 เป็น ไม่เกินร้อยละ 75

โดยอาจกำหนดเงื่อนไขอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่น การจำกัดสิทธิการออกเสียงของคนต่างด้าว และ นิติบุคคลต่างด้าว ที่ได้เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ในภายหลังจากที่เกินอัตราส่วนร้อยละ 49

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องตรา หรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายประการใด เพื่อรองรับการดำเนินการในเรื่องนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย เร่งดำเนินการตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

โดยให้ปฏิบัติตามบทบัญญัตของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย และเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น