xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ช่องเก็บภาษีที่ดินฯ "ท่าเทียบเรือ ถังเก็บนํ้ามัน ปล่องโรงงาน" เข่าข่ายถมทะเลสมบัติชาติ แต่ไม่ชัวร์! "เขื่อนกันคลื่น" เข้าข่ายหรือไม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย ชี้ช่องท้องถิ่น จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มจำนวน กรณี "ท่าเทียบเรือ ถังเก็บนํ้ามันเตา ปล่องโรงงาน" ของเอกชนพื้นที่ติดทะเล หลังยกสารพัดกฎหมาย/ตัวอย่าง/คำนิยาม ยัน "ถมทะเล" ถือว่าเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน เข้าข่ายต้องเสียภาษี ส่วนกรณี "เขื่อนกันคลื่น" ส่งบอร์ดที่ดินฯ ชุดใหญ่ตัดสินสุดท้าย เหตุไม่มั่นใจ! วาง "แท่งคอนกรีต" ทับซ้อนลงทะเล เข้าข่ายสมบัติแผ่นดินหรือไม่

วันนี้ (20 มิ.ย.2567) มีรายงานจากกระทรวงมหาดเไทย เปิดเผยว่า ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เวียนหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ

แจ้งผลหารือเกี่ยวกับประเภทของสิ่งปลูกสร้าง และการวัดขนาดสิ่งปลูกสร้างเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีของ ท่าเทียบเรือ ถังเก็บนํ้ามันเตา ปล่องโรงงาน รวมถึง กรณีเขื่อนกันคลื่น

ภายหลัง เวียนแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอหารือ กรณีของ ท่าเทียบเรือ ถังเก็บนํ้ามันเตา ปล่องโรงงาน

รวมถึง กรณีเขื่อนกันคลื่น ของบริษัท ท่าเรือประจวบ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่รำพึง อำเภอบางสะพาน

เฉพาะกรณี "เขื่อนกันคลื่น" ให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่อวินิจฉัย กระทรวงการคลัง พิจารณาตามมาตรา 23 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

หลังจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เห็นว่า "เขื่อนกันคลื่น" ซึ่งมีลักษณะเป็นการถมทะเล โดยใช้แท่งคอนกรีตมีลักษณะ 3 แฉก วางทับซ้อนกันเป็นแนวยาวยื่นจากฝั่งลงไปในทะเล

สามารถเทียบเคียงกับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กรณีข้อหารือของเทศบาลนครแหลมฉบัง ประเด็นการถมทะเล เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือ ว่าที่ดินที่ถมทะเลถือว่าเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

เมื่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าครอบครองหรือทำประโยขน์ "จึงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"

คณะกรรมการฯ เห็นว่า เขื่อนกันคลื่น ที่ใช้แท่งคอนกรีตวางทับซ้อนกันเป็นแนวยาวยื่นจากฝัง จึงถือเป็นที่ดินที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่นเดียวกับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย

"แต่เนื่องจาก กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งความเห็นให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อวินิจฉัย และยังไม่ได้ แจ้งเวียนผลการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ให้จังหวัดทราบ จึงให้รอผล การพิจารณาไว้ก่อน

ส่วนกรณี "ท่าเทียบเรือ" ซึ่งก่อสร้างเป็นทาง หรือถนน จากฝั่งยื่นไปในนํ้า ใช้สำหรับเป็นทางวิ่ง ของรถบรรทุกสินค้า และใช้จอด หรือเทียบเรือ เพื่อการขนส่ง โดยสาร หรือขนถ่ายสินค้า

ถือเป็นสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่นที่บุคคลใข้สอยได้ ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ 2562

ประกอบกับ คำนิยามประกอบแบบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดลักษณะสิ่งปลูกสร้าง "ประเภทท่าเทียบเรือ" หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

ที่ก่อสร้างเป็นสะพานจากพื้นดินเชื่อมต่อไปในนํ้า และมีหลักเพื่อการโยงเรือ

ดังนั้น เมื่อพิจารณาเทียบเคียงคำนิยามดังกล่าว ทางหรือถนนจากฝั่งที่ก่อสร้างยื่นไปในนํ้า ใช้สำหรับเป็นทางวิ่งของรถบรรทุกสินค้า และใช้จอด หรือเทียบเรือ เพื่อการขนส่ง โดยสาร หรือขนถ่ายสิน

จึงเข้าลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทท่าเทียบเรือ ที่ไม่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ตาม (9) ของกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ไค้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

กรณี "ถังเก็บนั้ามันเตา" ซึ่งก่อสร้างมีลักษณะเป็นถังเหล็กทรงกลม ใช้เก็บนั้ามันเตา สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้า ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ 2562 และเมื่อพิจารณาคำนิยาม ประกอบแบบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ประเภทคลังสินค้า

หมายถึง สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างคอนกรีต โครงสร้างเหล็ก มีพื้นคอนกรีต หลังคา ผนังโดยรอบ ภายในเปีดโล่ง เพื่อเก็บสินค้าหรือสิ่งของ

ดังนั้น "ถังเก็บนํ้ามันเตา" จึงอาจพิจารณาเทียบเคียงได้กับสิ่งปลูกสร้างประเภทคลังสินค้า โดยการคำนวณพื้นที่เป็นตารางเมตร ให้วัดขนาดเส้นรอบวงคูณด้วยความสูงของถึงเหล็กนั้น

สุดท้ายกรณี "ปล่องโรงงาน" ซึ่งก่อสร้างมีลักษณะเป็นปล่องระบายควันทรงกลม ตั้งอยู่นอกอาคาร โรงงาน

ตามคำนิยามประกอบแบบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ นิยาม “โรงงาน” หมายถึง สิ่งปลูกสร้าง หรืออาคาร ที่มีลักษณะโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างไม้

มีพื้น หลังคา ฝืาเพดาน ผนัง พื้นที่ใข้สำหรับทำผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ สำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ

โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม รวมถึงอาคารประกอบที่จำเป็นตามกฎหมาย

ดังนั้น กรณี "ปล่องโรงงาน" ที่ใข้ระบายควันหรือแก๊ส ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคารโรงงาน หรือตั้งอยู่นอกตัวอาคาร จึงเป็นอาคาร ประกอบที่จำเป็นของโรงงานนั้น ๆ การวัดพื้นที่ให้วัดรวมเป็นพื้นที่ของโรงงานทั้งหมด.


กำลังโหลดความคิดเห็น