วันนี้(9 พ.ค.)ที่สำนักงาน ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มอบหมายให้ นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พร้อม นางทิพยรัตน์ นพลดารมย์ ที่ปรึกษาสถาบัน นายธาราศานต์ ทองฟัก ผช.ผอ.สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองและชนบท นายกิตติ หนองพล หัวหน้างานออกแบบและก่อสร้าง ร่วมหารือกับ Asian Development Bank The World Bank กรมชลประทาน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โดยประเด็นที่หารือเกี่ยวข้องกับกรมชลประทานในการขอใช้เงินกู้มาดำเนินโครงการพัฒนาลุมน้ำเจ้าพะยาตอนล่าง วงเงินกู้ 300,000 แสนล้านบาท โดยในระยะแรก แผนที่1 จะใช้เงินกู้วงเงิน 95,000 ล้านบาท ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ในคลองฝั่งตะวนออก 13 คลอง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สระบุรี และพนะนครศรีอยุทธยาทมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 3,811 ครัวเรือน
โดยมีประเด็นหารือที่เกี่ยวข้องกับ พอช.
1.แนวทางในการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม การสูญเสียรายได้และโอกาส
2.พื้นที่รองรับการใช้ที่ดินกรมชลประทานในบริเวณพื้นที่ผ่อนปรนและพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่จะต้องส่งคืนกรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือกับ พอช.
และ 3.แนวทางการแก้ไขกรณีที่ประชาชนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
สำหรับ Asian Development Bank (ธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้ และความสนับสนุนด้านเทคนิค ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509) และThe World Bank หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจ ในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิก ได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยมุ่งเน้น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 189 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ 2 องค์กรจะเป็นหน่วยงานหลักในการให้สนับสนุนทุนเงินกู้กับรัฐบาลไทยในโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง–กรุงเทพฯ โดยมี 2 โครงการใหญ่ ให้กรมชลประทานขุดลอกคลอง–ขยายคลอง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง และฝั่งตะวันตก รวม 47 คลอง เริ่มดำเนินการในปี 2567-2572