มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “การอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงของรัฐบาล-ฝ่ายค้านในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32” พบว่า ประชาชนอยากให้มีการปรับปรุงการอภิปรายให้เป็นตัวอย่างที่ดี โดยเฉพาะพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการอภิปรายไม่เหมาะสม และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียง
ผศ. ดร. สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าแผนกวิจัย สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 5 – 7 เมษายน 2567 จากจำนวน 2,100 ตัวอย่าง โดยเป็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปโดยการสำรวจในเขตกรุงเทพปริมณฑล 971 และออนไลน์ จำนวน1,129 ตัวอย่างจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำเสนออยู่ในระดับน่าเชื่อถือมาก ร้อยละ 22.4 ค่อนข้างน่าเชื่อถือ ร้อยละ 28.9 ค่อนข้างไม่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 21.2 ไม่น่าเชื่อถือเลยร้อยละ 12.3 ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลตอบว่าน่าเชื่อถือมาก ร้อยละ 21.6 ค่อนข้างน่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.3 ค่อนข้างไม่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 33.5 ไม่น่าเชื่อถือเลย ร้อยละ 21.0
ประเด็นความชัดเจนในการอภิปรายที่ฝ่ายค้านซักถามข้อเท็จจริงในการบริหารประเทศของรัฐบาลเห็นว่าชัดเจนมาก ร้อยละ 13.7 ค่อนข้างชัดเจน ร้อยละ 38.4 ค่อนข้างไม่ชัดเจน ร้อยละ 19.8 ไม่ชัดเจนเลย ร้อยละ 14.6 ในขณะที่ความชัดเจนในการอภิปรายที่ฝ่ายรัฐบาลซักถามข้อเท็จจริงในการบริหารประเทศ เห็นว่าชัดเจนมาก ร้อยละ 17.8 ค่อนข้างชัดเจน ร้อยละ 32.5 ค่อนข้างไม่ชัดเจน ร้อยละ 34.6 และไม่ชัดเจนเลย ร้อยละ 10.4
ประเด็นความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลหลังจากผ่านการอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงพบว่า เชื่อมั่นมากกว่าเดิม ร้อยละ 20.2 เชื่อมั่นเหมือนเดิม ร้อยะล 18.6 เชื่อมั่นลดลง ร้อยละ 35.6 ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 20.9
ประเด็นสิ่งที่ท่านอยากให้มีการปรับปรุงในการอภิปรายของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32 รัฐบาลส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องพฤติกรรมการแสดงออก ร้อยละ 50.8 การแสดงข้อมูลหลักฐานที่ไม่ชัดเจน ร้อยละ 45.1 เนื้อหาการอภิปรายไม่ตรงประเด็น ร้อยละ 43.9 ความรุนแรงของการใช้ภาษา ร้อยละ 42.5 การอภิปรายที่กระชับ ไม่วกวน ร้อยละ 38.0 อื่นๆ เช่นการยียวนกวน บุคลิกภาพ ร้อยละ 1.6
ประเด็นนโยบายที่ท่านคิดว่ารัฐบาลควรเร่งดำเนินการโดยด่วนภายหลังจากการอภิปรายครั้งนี้ ส่วนใหญ่เห็นว่า สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือ แก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 61.6 แก้ปัญหาหนี้สิน ร้อยละ 52.4 สวัสดิการผู้สูงอายุ ร้อยละ 50.9 เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ร้อยละ 46.7 แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 33.8 อื่นๆ เช่นแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การทุจริต ร้อยละ 2.9 ผศ.ดร.สานิตกล่าว
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ ผศ. ดร.สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าแผนกวิจัย สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ โทร.086-400-6795