xs
xsm
sm
md
lg

นำร่อง 5 จว. ฟื้น “ผู้ว่าซีอีโอ” ทดลองโมเดล “ซีอีโออุบลฯ” ศก.ชายแดน “ซีอีโอบุรีรัมย์” ขจัดหนี้นอกระบบ “ซีอีโอขอนแก่น"”นครดิจิทัล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นำร่อง 5 จังหวัด ฟื้น “ผู้ว่าซีอีโอ” ก.พ.ร. ร่วม มหาดไทย สนองนโยบายรัฐบาลเพื่อไทย จัดโมเดลขับเคลื่อนฯ ลงพื้นที่่ รับข้อเสนอเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ ทดลอง “ผู้ว่า ซีอีโอ-อุบลฯ” เป็นจังหวัดเศรษฐกิจชายแดน “ซีอีโอบุรีรัมย์” จังหวัดขจัดหนี้ (นอกระบบ) “ซีอีโอขอนแก่น” เป้าจังหวัดดิจิทัล “ซีอีโอเชียงราย” เน้นอากาศสะอาด ส่วน “ซีอีโอเพชรบุรี” จัดการขยะมูลฝอย จ่อออกแพลตฟอร์ม “บอกเราถึงรัฐ” บริหารราชการรูปแบบพิเศษ เครือข่ายภาคธุรกิจ ประชาสังคม กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด “พ่อเมืองยุคใหม่”

วันนี้ (14 มี.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าต่อนโยบายรัฐบาล พรรคเพื่อไทย เพื่อฟื้น “ผู้ว่าซีอีโอ” ด้วยการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด

ล่าสุด คณะทำงาน ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุฯ ก.พ.ร.) สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ “นำร่อง” 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงราย ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุบลราชธานี และเพชรบุรี ระหว่างเดือน มี.ค.นี้

ตามโครงการเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ผู้ว่า ซีอีโอ)

หลังจากได้เลือกจังหวัดและประเด็นนโยบายสำคัญที่จะดำเนินการ ได้แก่ เป้าหมายจังหวัดเศรษฐกิจชายแดน ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เป้าหมายจังหวัดขจัดหนี้ (นอกระบบ) ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์

เป้าหมายจังหวัดดิจิทัล ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น เป้าหมายจังหวัดสีเขียว : อากาศสะอาด ในพื้นที่ จ.เชียงราย และเป้าหมาย จังหวัดสีเขียว : การจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี

การลงพื้นที่ของคณะทำงานดังกล่าว เป็นการลงศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงาน ตามประเด็นนโยบายสำคัญที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ (Agenda) ในเบื้องต้น

“จะมีการหารือในพื้นที่ ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารจังหวัด เพื่อจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด”

หลังจากได้ “ร่างข้อเสนอเพิ่มเติม” อนุฯ ก.พ.ร. จะพิจารณาข้อเสนอ และคาดว่ าจะทดลองนำ (ร่าง) ข้อเสนอไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด ตลอดเดือน เม.ย.- ส.ค. ก่อนสรุปเพื่อเสนอ อนุฯ ก.พ.ร. พิจารณา และเสนอ ก.พ.ร. ชุดใหญ่ต่อไป

ก่อนหน้านั้น คณะทำงานมีการจัดทำแผนการลงพื้นที่ หลังจาก อนุฯ ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ให้ความเห็นชอบ

สำหรับ รูปแบบการดำเนินการ “Model” เพื่อขับเคลื่อนฯ ผู้ว่าซีอีโอ ที่อนุฯ ก.พ.ร. เห็นชอบ

หลังจาก รัฐบาลกำหนดประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) เร่งด่วน เช่น ปัญหายาเสพ ติด ผู้มีอิทธิพล การส่งเสริมรายได้ให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ปัญหาสิ่งแวดล้อม การยกระดับจังหวัดเป็นดิจิทัล

หรือ ปัญหาสำคัญ (Pain Point) ของพื้นที่ ฯลฯ และมอบหมายให้ ผู้ว่าซีอีโอ การนำไปขับเคลื่อน

เป็นการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ โดยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ และทรัพยากร ทางการบริหารไปสู่ระดับพื้นที่ ซึ่งไม่ได้เป็นการรวบอำนาจ แต่เป็นการเสริมบทบาทอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่

ผู้ว่าซีอีโอ กำหนดเป้าหมายและวิธีการทำงานในการ ขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) ตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยนำรูปแบบการขับเคลื่อนจังหวัด ที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces : HPP) ที่จังหวัดได้เคยดำเนินการแล้วมาใช้เป็นแนวทาง เพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่จังหวัด

เช่น การนำระบบดิจิทัลมาใช้ (Digital Government) การพัฒนานวัตกรรม (Public Innovation) การพัฒนาราชการระบบเปิด (Open Government) และการพัฒนาสู่การ บริการภาครัฐที่เป็นเลิศ (Public Service for Excellence)

ขณะที่ แนวทางสนับสนุนการเตรียมการขับเคลื่อน สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อเอื้ออำนวยและลดป้ญหาอุปสรรคต่อการดำเนินการของ ผู้ว่าซีอีโอในการขับเคลื่อน Agenda ดังนี้

1) การเสริมบทบาท ผู้ว่าซีอีโอ ให้บริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ประสานแจ้งให้กระทรวง กรม กระจายอำนาจการตัดสินใจให้จังหวัดในเรื่องระบบงาน (การอนุมัติ อนุญาต) ระบบแผนและงบประมาณ และระบบบริหารงานบุคคล

ตามที่ ผู้ว่าซีอีโอ ร้องขอแล้วแต่กรณี เพื่อให้การขับเคลื่อน Agenda เกิดความรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดกลไกการทำงานให้เชื่อมโยงกันระหว่างผู้ว่าฯ กับหน่วยงานส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค

2) นำเครื่องมือที่ปรากฏตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่ แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 และ (ร่าง) พระราชบัญญัติยกระดับการบริหารงาบภาครัฐให้มืความทันสมัย พ.ศ....

เช่น การทดลองการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ การบริหารงานแบบเครือข่ายกับภาคธุรกิจเอกชนหรือ ภาคประชาสังคม

รวมทั้งการนำแพลตฟอร์ม “บอกเราถึงรัฐ” ที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อสร้างโอกาสและสร้างประโยชน์ให้ประชาชนมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ผู้ว่าซีอีโอ

3) เสริมสร้างขีดสมรรถนะ (Capacity Building) ให้แก่ผู้ว่าซีอีโอ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการทำงานของจังหวัดให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล

เช่น ความสามารถด้าน เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร (Digital Technology) การขับเคลื่อนการบริหารงานจังหวัดด้วยข้อมูล (Data Driven) รวมทั้งเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่

4) กำหนดให้การขับเคลื่อน ผู้ว่าซีอีโอ เป็นตัวชี้วัดในการดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ก.พ.ร. และมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

เพื่อเป็นกลไกในการเสริมสร้างและสนับสนุนการ ทำงานร่วมกัน.


กำลังโหลดความคิดเห็น