xs
xsm
sm
md
lg

มีผลแล้ว! มท.เวียน ตัด "วัณโรค" พ้นลิสต์โรคต้องห้ามเข้ารับข้าราชการ-พนักงานส่วนท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มีผลแล้ว! มท.เวียน ตัด "วัณโรค" พ้นรายการโรคต้องห้ามเข้ารับข้าราชการ-พนักงานส่วนท้องถิ่น ไฟเขียวครบทั้ง อบจ. เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา หลัง กฎ ก.พ. มีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปีบประมาณ

วันนี้ (10 ม.ค.2566) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) เวียนหนังสือถึงหน่วยงานในกำกับทั่วประเทศ แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ปฏิบัติตาม

ถึงประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น อบจ. เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา เรื่อง กำหนดโรคที่เป็นลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ที่ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย

"ให้ยกเลิกประกาศ ฉบับปี 2564 ที่กำหนดให้ "โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ”เป็นโรคต้องห้ามสำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยให้ตัดออกตามประกาศ ฉบับปี 2566"

คงเหลือแต่โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังวเกียจของสังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษ โรผิดสุราเรื้อรัง และโรคติดต่อร้ายแรง หรือเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรง

เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติหน้าที่ตามที่ ก.อบจ. ก.ท. ก.อบต. และเมืองพัทยา กำหนด หรือ ที่ ก.พ.กำหนดโดยอนุโลม

ปีงบประมาณที่แล้ว มีการออก “กฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566” เป็นการปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2553 ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน

ให้ยกเลิก “โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ” ออกจากลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มที่ลดลง และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้

พร้อมกันนี้ ได้เพิ่มโรคจิต(Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่มีอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้ามด้วย

ส่วนโรคอื่นๆ ยังคงกำหนดเป็นลักษณะต้องห้ามตามเดิม ได้แก่ โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษ โรคพิษสุราเรื้อรัง

โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง ที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่.


กำลังโหลดความคิดเห็น