xs
xsm
sm
md
lg

ภาคปชช.-เอกชน ติดใจ "ร่างงบ'67" ก่อนเข้าสภาฯ เฉพาะงบพันล้าน ก.เกษตร ยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดความเห็น ภาคเอกชน-ภาคประชาชน ก่อนรัฐบาล "เศรษฐา 1" ดันร่างงบประมาณปี 67 กว่า 3.4 ล้านล้าน เข้าสภาฯ ต้นปีหน้า พบยังติดใจหลายประเด็น เฉพาะงบฯ ก.เกษตร เพื่อยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม ในวงเงิน มากว่า 1 พันล้าน รวมถึงคำถาม "ปรับลด" งบกลาโหม จัดซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ ได้หรือไม่ เหตุมีหน่วยงานวิจัยพัฒนา-ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่แล้ว

วันนี้ (21 ธ.ค.2566) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ความคืบหน้า ต่อร่างพระราชบัญญัติ (ร่าง พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายหลังมีการปรับเพิ่ม/ลด ให้เป็นไปตามกรอบนโยบาย ของแกนนำรัฐบาลพรรคเพื่อไทย วงเงินกว่า 3.4 ล้านล้านบาท

ล่าสุดพบว่า มีการเผยแพร่ ข้อมูลการแสดงความคิดเห็นของภาคเอกชนและภาคประชาชน ที่น่าสนใจ ต่อการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th) และมีคำชี้แจงในแต่ละประเด็น ภายหลังเปิดให้แสดความเห็น เสร็จสิ้นเมื่อต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เช่น

ร่างแผนงบประมาณฯ ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเห็นว่า ในการจัดสรรงบประมาณแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม ในวงเงิน มากว่า 1 พันล้านบาทนั้น มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยรับงบประมาณภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างไร

และงบประมาณของแผนงานฯ ดังกล่าว บางหน่วยรับงบประมาณมากกว่า งบประมาณแผนงานอื่น ๆ ที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยรับงบประมาณ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี” มีพันธกิจ ได้แก่

(1) ยกระดับคุณภาพชีวิต เกษตรกรให้มีความมั่นคง (2) พัฒนาเศรษฐกิจภาคการเกษตรและสหกรณ์ให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (3) วางแผนการผลิตด้วยหลักการตลาดนำการผลิต (4) บริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน อย่างมีประสิทธิภาพ

(5) ส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง (6) ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และ (7) พัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางการเกษตรและสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ในการจัดสรรงบประมาณฯ 2567 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับจัดสรร จำนวน 118,496.0669 ล้านบาท (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจและกองทุน) ดำเนินการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ที่เกี่ยวข้องใน 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง จำนวน 306.6087 ล้านบาท (2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 32,612.0492 ล้านบาท (3) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จำนวน 1,927.4343 ล้านบาท

(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 83,696.6000 ล้านบาท (5) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 43.2737 ล้านบาท

สำหรับแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม ซึ่งสนับสนุน ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บทพลังทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างพลังในชุมชนให้เกิดเป็นพลังทางสังคม เพิ่มการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น

ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และยกระดับความสามารถในการ จัดการตนเองชองชุมชน เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พัฒนาขยายผลการปฏิบัติไปสู่ ประชาซนในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

"รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ซึ่งกระทรวงฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 1,089.8184 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.92 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร"

โดยจะมีการขับเคลื่อนการดำเนินการ ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการหลวง การขยายผลและพัฒนาตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์เป็นแหล่งเรียนรู้

รวมทั้งการส่งเสริมอาสาสมัครเกษตร การดำเนินการดังกล่าว จะมุ่งเน้นในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิต ด้านการเกษตรที่เหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้เกษตรกร

สนับสนุนปัจจัยการผลิต ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรและชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ชองแผนงานฯ

และเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเปัาหมายได้

ร่างแผนงบประมาณฯ ของ กระทรวงกลาโหม มีความเห็นว่า ควรปรับลดการซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ เนื่องจากกระทรวงกลาโหม มีหน่วยงานที่มีการวิจัยพัฒนาและผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่แล้ว

มีคำชี้แจงว่า กระทรวงกลาโหมยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศเพื่อมาใช้ในราชการ เนื่องจากในปัจจุบัน "บริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย" ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศระดับสูง ยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตยุทโธปกรณ์บางอย่างได้

ทำให้การจัดหายุทโธปกรณ์ภายในประเทศที่มีอยู่ไม่ตรงกับคุณลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถซื้อทดแทนยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิม ให้มีความสามารถหรือประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือมีความทันสมัยได้

อย่างไรก็ตาม การจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหม มุ่งเน้นการจัดหา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมฟ้องกันประเทศ เพื่อสามารถนำมาเสริมสร้างเป็นองค์ความรู้ และนำมาศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีฟ้องกันประเทศ และสามารถผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยมีหน่วยงานสำคัญในการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ คือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ซึ่งมีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

รวมถึง การจัดจำหน่ายและได้มีการดำเนินการร่วมทุนกับหน่วยงานภายนอกเพื่อผลิตและจำหน่ายไปบางส่วนแล้ว สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้นี้มาปรับปรุง และซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ที่ประจำการของเหล่าทัพในบางส่วน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและลดการนำเข้าจากต่างประเทศในอนาคต

สำหรับการจัดหายุทโธปกรณ์ กระทรวงกลาโหม ได้มีการดำเนินการจัดหาจากหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหมไปบ้าง เช่น ปืนใหญ่ชนิดอัตตาจรล้อยาง ยานเกราะล้อยางชนิดต่าง ๆ อาวุธปีน กระสุน เป็นต้น

และยังมีอีก หลายงานวิจัยที่อยู่ในขั้นตอนการรับรองมาตรฐาน เพื่อที่จะนำมาจัดจำหน่าย ทั้งนี้ในยุทโธปกรณ์ที่ผ่าน การวิจัยและรองรับมาตรฐานแล้ว บางรายการก็ยังประสบปัญหาในเรื่อง "การหาบริษัทผู้ผลิต" ที่สามารถดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้

เนื่องจากต้องมีการลงทุนในเครื่องจักรการผลิตค่อนข้างสูง แต่การสั่งซื้อจากหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม มีจำนวนไม่มากพอ ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนในการ เปีดสายการผลิตทำให้!ม่สามารถที่จะจัดหาจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศได้

ทั้งนี้ในความเห็น จากเอกชนและภาคประชาชน ยังมีพบว่า มีเรื่อง กรณีไม่ได้จัดสรรเงินเดือนและเงินสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับข้าราชการที่บรรจุใหม่ ตามกรอบโครงสร้างอัตรากำลังสำหรับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยเฉพาะการไม่เปิดให้บันทึกคำของบประมาณ หมวดเงินเดือน และสวัสดิการให้กับ ข้าราชการใน รพ.สต. ที่บรรจุใหม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลงในระบบ BBL โดยอ้างเหตุผลว่า ไมใช่เป็นบุคลากรถ่ายโอน เป็นต้น.


กำลังโหลดความคิดเห็น