xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมปรับแผน PDP ให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก ตั้งเป้าหมายปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี ค.ศ. 2065

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รองโฆษกฯ รัดเกล้า เผยแผน PDP ฉบับใหม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ปรับปรุงให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก เป้าหมาย Carbon Neutrality และการปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี ค.ศ. 2065 ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (Power Development Plan : PDP2018) ฉบับใหม่ เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ปรับปรุงให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก เป้าหมาย Carbon Neutrality และการปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี ค.ศ. 2065

รองรัดเกล้าฯ กล่าวว่า แผน PDP ถือเป็นแผนหลักในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อสร้างความมั่นคงและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคประชาชานและภาคธุรกิจ โดยมี 4 หลักการสำคัญในการจัดทำแผน ได้แก่ 1. เน้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ (Security) 2. ต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Economy) 3. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) และ 4. การเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า (Efficiency) ทั้งด้านการผลิตและการใช้ไฟฟ้า

รองโฆษกรัดเกล้าฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมามี Supply สูงกว่า Demand ค่อนข้างมาก และความต้องการไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยจะพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับทิศทางของพลังงานโลก ที่มุ่งการลดการปล่อย CO2 ใช้พลังงานสะอาด แก้ปัญหาโลกร้อน แผนพลังงานชาติ ที่มุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็น 0 ได้ภายในปี ค.ศ. 2065
ทั้งนี้ เพื่อให้แผนพลังงานชาติมีแนวทางที่ครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ประชุมเพื่อหารือถึงแผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil plan) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) เพิ่มเติมในเดือนพฤจิกายนที่จะถึงนี้

“ทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้าปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ ทั้งวางแผนความต้องการ และสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม มุ่งส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ สร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงานที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป” นางรัดเกล้าฯ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น