คนมหาดไทย "อดีต-ปัจจุบัน" วิพากษ์นโยบาย ฟื้นผู้ว่าฯ CEO สนอง "เศรษฐา 1 - มท.หนู" เผย ก.พ.ร.- มท. เจ้าภาพ ระดมความเห็นหน่วยงานในจังหวัด-อำเภอ ก่อนขับเคลื่อนจริง "กฤษฎา บุญราช" อดีต ป.มท.ยุค คสช. แนะหากลไกใหม่ หนุน "ผู้ว่าฯ CEO" ยกนโยบายแก้ผู้มีอิทธิพลพื้นที่ ผู้ว่าฯ ไร้อำนาจติดตามคดี มีแค่อำนาจจับกุม "ผู้ว่าฯอุดร" อ้างไร้อำนาจดูเมกะโปรเจกน้ำในพื้นที่ "ผู้ว่าฯ เลย" เทียบเพื่อนบ้าน "สปป.ลาว" ให้อำนาจเจ้าแขวงจัดการพัฒนาป่าไม้ "รองผู้ว่าฯอำนาจเจริญ" ยันไร้อำนาจร่วมตรวจสอบ เหตุประชาชนร้องการสอบสวนของตำรวจ-ทหาร ไม่เป็นธรรม ด้าน "ผู้ว่าโคราช" ตัดพ้อ ปกป้องพื้นที่ แต่กลายเป็นจำเลย 157
วันนี้ (26 ต.ค.2566 ) มีรายงานกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดเวทีหารือกับผู้ว่าราชการจังหวดทั่วประเทศ ต่อการ "ฟื้นนโยบาย" ขับเคลื่อน "ผู้ว่าฯ CEO" หรือ การบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด แบบบูรณาการ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ล่าสุด มหาดไทย กับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) แจ้งให้ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าภาพ ระดมความเห็น ระดับจังหวัด ดำเนินการหารือกับหน่วยงานในจังหวัดและอำเภอ ก่อนจัดส่งข้อมูลความเห็น เพื่อประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
โดยการระดมความเห็น ให้พิจารณาประเด็นการมอบอำนาจการบริหารในเรื่องใด ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว จะช่วยสนับสนุนการ ขับเคลื่อนการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการให้ประสบความสำเร็จ อย่างไร
และ ประเด็นรายงานปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ และ ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้การบริหารงาน
ขณะที่เวทีหารือกับผู้ว่าฯ ต่อการ "ฟื้นนโยบาย" เพื่อขับเคลื่อน "ผู้ว่าฯ CEO" เมื่อปลายเดือน ก.ย. 2566 พบว่า มีอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ หลายคนแสดงความเห็นอย่างน่าสนใจ เช่น
นายกฤษฎา บุญราช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ช่วงปี 2558 – 2560 ในรัฐบาล คสช. เห็นว่า ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ มีกฎหมายระเบียบเฉพาะของตนเอง ทำให้การทำงานไม่ สอดรับกัน โดยราชการส่วนภูมิภาคมีขนาดเล็กลง แต่ราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคมีมากขึ้น
ทำให้ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาตาม หน่วยงานดังกล่าวได้ทั้งหมด มท.และ ก.พ.ร. ควรนำไปพิจารณา เพื่อหากลไกที่จะช่วยสนับสนุน ผู้ว่าฯ ให้สามารถ ทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันบางภารกิจของจังหวัด ไม่มีกฎหมายกำหนด หรือให้อำนาจไว้ แต่หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดสามารถร่วมกันดำเนินการจนเสร็จสิ้นได้ เช่น การรับเสด็จฯ การแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19
ฉะนั้น เพื่อสนับสนุนการทำงานของ ผู้ว่าฯ CEO อาจพิจารณาใช้กลไกของมติ ครม. แทนการมอบอำนาจจากส่วนราชการในการบริหารจัดการในระยะเร่งด่วนได้ เนื่องจากดำเนินการได้ง่ายกว่าการแก้ไข หรือออก กฎหมายใหม่
เช่นเดียวกับ กรณีการแก้ปัญหาเรื่องผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจในการติดตามคดีอาชญากรรม มีเพียงอำนาจจับกุม แต่ไม่มีอำนาจสอบสวน
"จึงควรให้กลไก ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งให้ อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรี ออกกฎกระทรวงได้"
ในกรณี มีผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสีย มาร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในการดำเนินคดีอาญา ให้ผู้ว่าฯ หรือนายอำเภอมีอำนาจ เข้าไปควบคุมคดีนั้นได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่
"มีอำนาจเรียกสำนวนมาตรวจสอบ และแนะนำพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน เพื่อควบคุมดูแลให้เกิดความ เป็นธรรม และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเช้าไปร่วม ดำเนินการด้วย"
ซึ่งกระทรวงมหาดไทย เคยมีคำสั่งลักษณะนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2409 แต่ได้ยกเลิกไปแล้ว
ในยุคปัจจุบัน คำว่า ผู้ว่าฯ CEO ควรพิจารณาว่า จะให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจขนาดใด มีอำนาจบังคับบัญชาโดยตรง หรือมีอำนาจกำกับและติดตาม ปัญหาอุปสรรคของผู้ว่าฯ CEO ที่ผ่านมาติดขัดเพราะเหตุใด
เพราะในช่วงแรก มักจะพิจารณาแต่เรื่องงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณการพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณเป็นตัวตั้งมากกว่าเน้นการบริหารงานแบบผู้ว่าฯ CEO
ควรให้ "กรมการจังหวัด" มีบทบาทเสริมให้ผู้ว่าฯ สามารถกำกับดูแลการ ดำเนินงานได้ โดยขอให้ ก.พ.ร. และมหาดไทย พิจารณา กฎหมายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2434
ว่า สามารถออกเป็นกฎกระทรวง หรือ มติครม. เพื่อให้ทุกกระทรวงมอบ อำนาจการดำเนินงานให้ "กรมการจังหวัด" แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแต่ละด้านใน การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในพื้นที่
เสนอ ให้ก.พ. กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเลื่อนระดับ หรือให้ความดีความชอบ โดยให้ผู้ว่าฯ เป็นผู้ให้ความเห็นประกอบการ พิจารณาของอธิบดีหรือราชการในส่วนกลาง เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทให้กับ ผู้ว่าฯ
แม้ ในปัจจุบัน จะมีการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในหลายภารกิจ รวมถึงงบประมาณ ซึ่งการทำงานระหว่างผู้ว่าฯ นายอำเภอ และ อปท.
บางแห่งอาจมีปัญหาอุปสรรค จึงควรมีการออกกฎ ระเบียบที่ สามารถสนับสบุนการทำงานระหว่างผู้ว่าฯ และ อปท.
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าฯ อุดรธานี ให้ความเห็นว่า การปฏิบัติงานที่ผ่านมา มีกฎหมายรองรับให้ผู้ว่าฯ สามารถบริหารจัดการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ว่าฯ CEO
"แต่อาจมีปัญหาในพื้นที่บางเรื่อง เช่น การ บริหารจัดการนํ้าในแหล่งกักเก็บนํ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งผู้ว่าฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการดังกล่าว"
แต่เมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่ ผู้ว่าฯ ต้องไป ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนั้น ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน
นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าฯ เลย เห็นว่า การมอบอำนาจเป็นปัญหาสำคัญของผู้ว่าฯ ในการบริหารราชการต่าง ๆ
"เช่น กรณีพื้นที่ป่าไม้ อำนาจในการบริหารจัดการพื้นที่เป็นหน่วยงานส่วนกลาง จังหวัด หรือท้องถิ่น เข้าไปพัฒนาได้ยาก และหากเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว) เจ้าแขวงมีอำนาจบริหารจัดการและพัฒนาในพื้นที่ป่าไม้"
ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ ในการบริหารจัดการงาน ต่าง ๆ ในจังหวัด
ผู้ว่าฯ มีนายอำเภอเป็นกลไกสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่ แต่หน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง ไม่มีนโยบายให้อำเภอ สามารถจัดตั้งคำของบประมาณได้ เนื่องจากไม่ใช่ส่วนราชการตามกฎหมายและไม่ใช่ภารกิจของ อำเภอ
ดังนั้น หน่วยงานส่วนกลาง ควรให้ความสำคัญกับอำเภอ และพิจารณาให้อำเภอสามารถเสนอจัดตั้งคำของบประมาณได้ เพื่อใช้ในการสนับสบุนการ ขับเคลื่อนงานชองผู้ว่าฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัว ในระดับพื้นที่
นายฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าฯอำนาจเจริญ เห็นว่า ผู้ว่าฯ จะต้องบูรณาการความร่วมมือ ทั้งจากหน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง รวมถึงทหาร และตำรวจในพื้นที่
ดังนั้น ควรให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจในการบริหารทรัพยากรบุคคล และการให้คุณให้โทษกับบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในจังหวัด
การบริหารงานต่าง ๆ ในจังหวัดต้องมีการออกคำสั่งหรือการมอบหมาย หน้าที่ที่ชัดเจน ทั้งในมิติเรื่องงาน งบประมาณ ระบบ และคน
ปัญหาของผู้ว่าฯ ที่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ไม่มีอำนาจในการสั่งการ หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในจังหวัดและต้องร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา
"เช่น กรณีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการสอบสวนของตำรวจ ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ เป็นต้น"
นายสุวิทย์ จันทร์หวร ผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู ระบุว่า ปัญหาการบริหารงานของผู้ว่าฯ คือ การบังคับใช้กฎหมายในการบังคับ บัญชาหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่
ซึ่งผู้'ว่าฯ ยังขาดอำนาจในการดำเนินการ ทางวินัยและให้คุณให้โทษแก่บุคลากร เช่น กระทำความผิดเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชน หรือมีส่วนเกี่ยวซ้องกับกระบวนการค้ายาเสพติด เป็นต้น
ดังนั้น ควรเพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าฯ ในการให้คุณให้โทษแก่บุคลากร ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
การลดความเหลื่อมลํ้าระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากหน่วยงานระดับอำเภอ เช่น ท้องถิ่นอำเภอ ยังไม่มีอำนาจหรือสถานะทางกฎหมายในการกำกับดูแล อปท.
ซึ่งหากมีอำนาจในการกำกับดูแลแล้ว จะช่วยในการประสานงานและบริหารงบประมาณของ อปท.ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าฯ สตูล ระบุว่า กรณีเงื่อนไขของกฎหมาย เช่น พื้นที่ป่าอนุรักษ์ หากจังหวัด จะดำเนินโครงการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติ/อนุญาตจากหน่วยงานส่วนกลางเจ้าของพื้นที่
แต่หาก พื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ปัญหาลิงที่อาศัยใบอุทยาน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ผู้ว่าฯ จะไม่สามารถดำเนินการแก้ไขป้ญหาให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงทีเนื่องจากปัญหาข้อกฎหมาย
แต่หากเป็นการบริหารงาน โดยผู้ว่าฯ CEO จำเป็นต้องมีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ CEO มากขึ้น
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าฯ ขอนแก่น เห็นว่า โดยเฉพาะงบประมาณในพื้นที่ จากหน่วยงานส่วนกลาง (Function) คิดเป็นร้อยละ 70 เป็นงบ ท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 28 โดยเป็นงบพัฒนาจังหวัดเพียงร้อยละ 2
ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการกระจุกตัวด้านทรัพยากรและเป็นปัญหาอุปสรรค ในการบริหารงานของผู้ว่าฯ
จังหวัดต้องจัดทำแผนล่วงหน้า 2 ปี ทั้งการโอนเปลี่ยนแปลง โครงการ/งบประมาณ หรือ สามารถดำเนินการได้เฉพาะโครงการสำรอง (Ylo)
"ซึ่งในข้อเท็จริงโครงการสำรองดังกล่าว อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงควรมีการปรับห้วงระยะเวลาในการจัดทำแผน"
เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ มีความรวดเร็วและสอดรับกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ท้ายสุด นายสยาม สิริมงคล ผู้ว่าฯ นครราชสีมา เห็นว่า อำนาจของผู้ว่าฯ ในปัจจุบัน มีทั้งขาดและเกิน
กรณี "อำนาจที่ขาด" เช่น ปัญหา PM 2.5 ในภาคอีสาน กรณีจังหวัดอุดรธานี และจังหวัด นครราชสีมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาอ้อย ก่อนส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา ในแต่ละปีรัฐบาลก็จะสั่งการให้ผู้ว่าฯ ไปทำความเข้าใจกับประชาชน หรือจับกุมผู้ที่เผาอ้อย
แต่ผู้ที่กำกับดูแลนโยบายการรับซื้ออ้อยของโรงงานอุตสาหกรรม คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย ทำให้ ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ส่วน "อำนาจที่เกิน" เช่น ท่าทรายในจังหวัดนครพนม กรมศุลกากร อนุญาตเปิดท่าทรายไว้นำเข้าทรายที่ดูดจากแม่นํ้า เนื่องจากเป็น อำนาจของกรมศุลกากร แต่ไม่ได้แจ้งให้ทางจังหวัดทราบ
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานในจังหวัด เช่น หน่วยงานความมั่นคง หรือ อปท.ที่ต้องบำรุงรักษาถนนที่ซำรุดเสียหายจากการผ่านทางของรถบรรทุกทราย เป็นต้น
"จนเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็ทำให้ผู้ว่าฯ ต้องมารับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ก.พ.ร. ควรพิจารณาออกกฎหมายคุ้มครอง ผู้ว่าฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ โดยสุจริต"
เช่นช่วงที่ตนดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯนครพนม ได้ปกป้องที่สาธารณะ ที่มีมูลค่าสูงบริเวณริมแม่นํ้าโขงไว้เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ โดยได้สั่งการให้อำเภอและสำนักงานที่ดินจังหวัดดูแล ที่สาธารณะแห่งนี้
แต่ปรากฏภายหลังว่า ตนได้รับหมายศาล "เป็นจำเลย" กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นต้น.