นายกฯ หารือผู้บริหาร EVE Energy เชิญชวนขยายการลงทุนในไทย พร้อมสนับสนุนไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งหารือผู้บริหาร Huawei เชิญชวนลงทุนไทย ขยายศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย
วันนี้ (19 ตุลาคม 2566) เวลา 11.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม.) นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า Mr. Liu Jincheng, Chairman Founder, EVE Energy เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดย EVE Energy เป็นบริษัทผู้พัฒนา ผลิต และจำหน่ายแบตเตอรี่ ลำดับที่ 3 ของจีนและติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก (วัดจากอัตราการติดตั้งและการให้บริการ) ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาขยายการลงทุน โดยสนใจใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกสำหรับตลาดอาเซียนและโอเชียเนีย
บริษัทฯ สนใจไปตั้งโรงงานในไทย ซึ่งไทยยินดีเป็นอย่างมาก โดยนายกฯ กล่าวว่าไทยมีนโยบายสนับสนุนการลงทุน ด้าน infrastructure ที่สอดคล้องตาม BRI ไทยกำลังดำเนินโครงการ landbridge ที่จะทำให้การขนส่งสินค้าไปทั่วโลกสะดวกยิ่งขึ้น
บริษัทฯ แสดงความสนใจ การลงทุนในไทย เนื่องจากการทำงานและนโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าโครงการผลิตแบตเตอรี่จะยื่นการลงทุนภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน
นายกรัฐมนตรีได้ให้ความมั่นใจ ถึงนโยบายสนับสนุนการลงทุนของไทย โดยหวังจะมีการลงทุนของ EVE Energy ในประเทศไทย
จากนั้น เวลา 11.25 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม.) นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า Mr. Liang Hua, Chairman, Huawei เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดย Huawei เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจร ปัจจุบันบริษัท ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น บริษัทเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยได้ใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 977.3 พันล้านหยวน (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) ในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของโลก
Hauawei ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทย ด้าน cloud service มีความร่วมมือกับภาครัฐมาด้วยดี ให้การสนับสนุนการอบรมด้วย บริษัทก็ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลจีน และทำงานร่วมกับไทยด้วยดี
บริษัทฯ ยินดีที่ทำงานร่วมกับไทย จะพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของไทย เพราะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำคัญมาก ครอบคลุมในทุกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา
ซึ่งรวมถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาเน็ตเวิร์คได้อย่างรวดเร็ว ทั้งด้าน 5G และ fiber optic ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ส่วน AI เทคโนโลยีด้านการคำนวณ โดยบริษัทฯ ยินดีสนับสนุนให้ไทยเป็น hub ด้าน AI
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ชื่นชมการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้ง smart city ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งบริษัทได้เข้าไปช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวด้วย พร้อมเสนอการขับเคลื่อน real economy และ digital economy เดินไปด้วยกัน ยกระดับความเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสาร
โดยนายกฯ ขอให้บริษัทฯช่วยเรื่อง smart agriculture เพื่อบริหารจัดการระบบ เช่น น้ำ ไฟ เสนอตั้งศูนย์ AI computing center จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกภาคสาขา รวมทั้งการศึกษา การคำนวณที่สามารถช่วย AI
ในโอกาสนี้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม ขอให้บริษัทช่วย เศรษฐกิจชุมชน และ Startup ของไทยด้วย โดยจะเริ่มจาก pilot project ในชุมชนหนึ่งก่อน ซึ่ง Huawei ยินดี เช่น การใช้โดรนในพื้นที่เกษตรซึ่งมีอยู่แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่
นายกฯ เสนอให้ขยายกิจการและการลงทุนให้กว้างขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่ดีในมิติที่ดี ต่อทั้งการลงทุน และความสัมพันธ์ ที่สำคัญไทยกำลังมี landbridge ที่จะกระจายสินค้าไปทั่วโลกในระยะเวลาสั้นลง และนี่คือโอกาสที่สำคัญของการลงทุนในไทย