xs
xsm
sm
md
lg

ลังเล! ยุบทิ้ง “มรดก 3 ป.” 2 บอร์ดอำนวยการ “โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” 1.4 หมื่นล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย ลังเล! ยุบทิ้ง “มรดกลุง” 2 บอร์ดอำนวยการ “โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” เจ้าของโปรเจกต์ 1.4 หมื่นล้าน เหตุไม่ได้เป็นนโยบายรัฐบาล หลัง “ครม.เศรษฐา 1” ไฟเขียวสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนถึง 30 ต.ค.นี้ ก่อนให้สิ้นสุดลง แต่หากมีความจำเป็นให้ปรับปรุงองค์ประกอบได้ เผย มท.มี 10 คณะ จากทั้งหมด 174 คณะ

วันนี้ (24 ก.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ภายหลังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลน.) เวียนมติ ครม.ที่เห็นชอบให้คณะกรรมการชุดต่างๆ ที่แต่งตั้งโดย มติ ครม. ของรัฐบาลชุดที่แล้ว จำนวน 174 คณะ

สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนถึง 30 ต.ค. 2566 และจากนั้นให้ “คณะกรรมการ” ดังกล่าวสิ้นสุดลง

ล่าสุด ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย รับทราบคณะกรรมการในกำกับมติ ครม. ของรัฐบาลชุดที่แล้ว พบว่า มีจำนวน 10 คณะ ประกอบด้วย

คณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหทมายชนกลุ่มน้อย คณะกรรมการพิจารณาตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอ

คณะกรรมการอำนวยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตดูดทราย

คณะกรรมการพิจารณาเรื่องการขออนุญาตเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล หมู่บ้าน หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ คณะกรรมการศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนี้เข้าเมือง

คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 และ คณะที่ 2

สุดท้าย 2 คณะกรรมการเกี่ยวกับ “เมกะโปรเจกต์” โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน ที่ศาลปกครองกลาง' มีคำสั่ง ให้ ครม. และพวก เช่น กทม. มหาดไทย ระงับโครงการ

ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกฯ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มท.1 รัฐบาลที่แล้ว เป็นประธานและคณะกรรมการ

ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และคณะกรรมการพิจารณากำหนดเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยยังไม่มีการยืนยันว่า คณะกรรมการเกี่ยวกับ “เมกะโปรเจกต์” โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 2 คณะ จะมีการปรับปรุงผู้ทรงคุณวุฒิ หรือจะยุบทิ้งทั้งหมด เพราะไม่ได้เป็นนโยบายรัฐบาล

ทั้งนี้ มติ ครม. ระบุไว้ว่า หากพบคณะกรรมการคณะใด ยังมีภารกิจสำคัญและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอยู่ต่อไป เพื่อดำเนินการภารกิจอย่างต่อเนื่อง

ให้ส่วนราชการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ โดยให้ตรวจสอบและปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่ และอำนาจ ให้เป็นปัจจุบัน และเสนอคณะรัฐมนตรี โดยให้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด

โดยเฉพาะตำแหน่ง “คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ระบุชื่อ/ชื่อสกุล และตำแหน่งปัจจุบัน ของบุคคลที่เสนอให้ชัดเจน

“ให้สรุปและตรวจประวัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็น “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” ตามแบบเสนอชื่อในตำแหน่งต่างๆ และมีผลตั้งแต่ออกเป๋นมติ ครม. ไม่ต้ออกเป็นคำสั่งวำนักนายกรัฐมนตรีหรือสว่นราชการที่แต่งตั้งอีก”.


กำลังโหลดความคิดเห็น