“ชวน” ร่วมเสวนาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่น 13 ให้คะแนนกระบวนการเลือกตั้งไทยติดลบ เหน็บนักการเมืองรุ่นใหม่รอบรู้แต่อ่านไอแพดในสภา แนะ กกต.อย่าจัดการแค่พอผ่าน ต้องตรวจสอบให้สุจริต เที่ยงธรรม
วันนี้ (15 ก.ย.) นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) รุ่นที่ 13 จัดเสวนานำเสนอยุทธศาสตร์ หัวข้อ “ยุทธศาสตร์เสริมสร้างให้ระบบการเลือกตั้งได้รับการยอมรับ” โดย นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ฉากทัศน์ประเทศไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาล” ว่า วันนี้การเมืองเข้ามาสู่ยุคที่ต้องมี กกต.ขึ้นมา ยุคที่เราใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 แล้วก็ล่ม จนต้องมีรัฐธรรมนูญปี 2550 กกต.ได้เกิดขึ้น และมีภารกิจในการจัดการเลือกตั้งและทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต ยุติธรรม ตนพูดด้วยความเห็นใจ เพราะอยู่กับการเลือกตั้งมา 17 สมัย ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปทางบวก คือ ประชาธิปไตยเติบโต เกิดความตื่นตัวประชาชน เข้าใจสิทธิหน้าที่มากขึ้น เรามีนักการเมืองที่มีความรอบรู้แต่อ่านไอแพคในสภา แต่กระบวนการการเลือกตั้งโดยชอบธรรมนั้น ตนว่าติดในทางลบ ตนเป็นนักการเมืองรุ่นแรก รุ่นไม่โกง ไม่ซื้อเสียง ถ้าต้องซื้อเสียงแม้แต่บาทเดียว ตนก็ไม่เป็น แต่บังเอิญสมัยนั้นในจังหวัดตน มีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงที่สร้างไว้ก่อน และประชาธิปัตย์ได้รับความนิยม ตนก็อาศัยบารมีด้วยตนเองจนได้ ส.ส. 11 สมัย รวมทั้งครั้งที่ 12 แม้พรรคเราแพ้ทั้งประเทศ จึงถือว่าเป็นความนิยมส่วนตัว ดังนั้นแล้ว การเมืองระบบเลือกตั้งความต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญ การที่เราไม่ได้มีเลือกตั้งมา 5 ปีแล้ว ทำให้คนลืมความดีความชั่ว รัฐบาลชุดนั้นพยายามประคับประคองกันแล้วก็เดินต่อไม่ได้
นายชวน กล่าวอีกว่า รัฐบาลชุดนี้ 11 พรรค หลังเลือกตั้งการตั้งรัฐบาล นั่นเป็นตัวเลขที่ชี้ถึงความอยู่รอดของรัฐบาล ทุกวันนี้ต้องเป็นเสียงข้างมาก โดยรัฐบาลชุดที่แล้วที่มี 19 ล้านเสียง แต่ตนเคยบอกว่า รัฐบาลครั้งนี้มี 3 พรรคจัดตั้งรัฐบาลได้เลยคือ พรรคก้าวไกล เพื่อไทย และ ภูมิใจไทย แต่ก็เกิดปัญหากันเรื่องนโยบาย จึงไม่สามารถตั้งได้ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันถ้าดูตัวเลข 314 เสียงเทียบกับตัวเลขฝ่ายค้านที่มี 184 คน เปรียบเทียบแล้วเข้มแข็งพอบริหารได้
นายชวน กล่าวว่า เลือกตั้งกี่ครั้งก็ตาม ถ้าเราทำงานลำพังคนเดียว ก็ทำได้เพียงทำให้การเลือกตั้งจบแล้วประกาศผลเท่านั้น แต่เป็นการเลือกตั้งโดยชอบหรือไม่ ไม่สามารถที่จะตอบได้ สังคมปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยสนใจ สื่อก็ไม่สนใจ ขอเพียงชนะมาก็จบ จะซื้อมา โกงมาก็ไม่สำคัญ ถ้าค่านิยมเป็นอย่างนี้ คนที่หวังเล่นการเมืองด้วยการใช้เงินจะไม่เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่เป็นความก้าวหน้าในทางลบต่อระบบประชาธิปไตย คิดว่า หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ เมื่อมีรัฐบาลแล้ว กกต.ก็ต้องเตรียมรับภาระความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น ปัจจุบันนี้รัฐบาลอยู่ 4 ปี, สภาอยู่ 4 ปี ถ้าเกิดความประมาทขึ้น แม้จะมีเสียง 314 เสียงก็ตาม ถ้าเผอิญไปทำอะไรที่ขัดต่อแนวทางความชอบธรรมของบ้านเมือง เช่น เกิดมีคนทุจริตเข้ามา ซึ่งคิดว่ารัฐบาลก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่แน่ใจหรือว่าทุกคนจะวางใจได้ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไม่สามารถจะวัดได้ทุกคน จะปรากฏก็ต่อเมื่อหมดตำแหน่งว่าใครเป็นอย่างไร ประวัติศาสตร์อาจจะซ้ำรอยได้ หากไม่ระมัดระวัง บางเรื่องผิดพลาดแล้วแก้ไขได้ แต่บางเรื่องก็แก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของชีวิตคนเอาคืนไม่ได้
“ประวัติศาสตร์อาจจะซ้ำรอยได้ หากไม่ระมัดระวัง บางเรื่องผิดพลาดแล้วแก้ไขได้ แต่บางเรื่องก็แก้ไขไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของชีวิตคนเอาคืนไม่ได้ ซึ่งถ้ามีกฎหมายที่ดี แต่คนใช้ไม่ดี หรือกฎหมายไม่ดี ก็เพียงแค่แก้ไขกฎหมาย แต่เรื่องคนเรื่องใหญ่ จึงขอให้ย้ำเรื่องคน เพราะอุตส่าห์อบรมหลักสูตร พตส.มาตั้ง 13 รุ่นแล้ว การเลือกตั้งในบ้านเมืองไม่บวกขึ้น ดังนั้น กกต.จะทำอย่างไรให้หลักสูตรนี้ มีส่วนทำให้การเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม คิดว่า รุ่น 13 ก็ต้องช่วยคิดด้วย เผื่อรุ่น 14 ต่อไป” นายชวน กล่าวและว่า ได้ย้ำเรื่องนี้ระหว่างเป็นประธานสภา ซึ่งทำโครงการบ้านเมืองสุจริต โดยใช้คำว่าประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต ได้ย้ำกับเลขาฯ สถาบันพระปกเกล้า ว่า ทุกหลักสูตรต้องตรวจสอบว่าคนมาเรียนนั้นได้กู้ กยศ.หรือไม่ ถ้ากู้แล้วไม่คืนก็ไม่รับ เพราะมาเรียนได้อย่างไร แค่เริ่มต้นด้วยการโกง ถ้าไม่มีงาน ไม่มีเงิน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมีงานทำแล้ว รายได้เป็นแสน เป็นล้านก็มี แต่ไม่คืน กยศ. แบบนี้ สถาบันพระปกเกล้าต้องกำหนดเงื่อนไขพิเศษ และขอให้เลขาฯ บรรยายในชั่วโมงแรกเลย เพราะไม่อยากให้คนที่จบหลักสูตรแล้ว ความรู้ดีกว่าเดิม แต่ทุจริตเก่งกว่าเดิม อยากให้หลักสูตรสร้างคนดี ถ้าคนสีเทาเข้ามาก็อยากให้ออกไปเป็นสีใส ส่วนสีใสที่เข้ามาไม่อยากให้ออกไปสีเทา
นายชวน ยังกล่าวถึงเรื่องของการตรวจสอบผู้มีอิทธิพล ว่า ต้องทำทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ จ.นครปฐม เพราะนักการเมืองที่มาจากระบบรับเหมา ที่รวยโดยอาชีพรับเหมา ต้องมีการตรวจสอบให้มากขึ้น ประเด็นที่ให้เป็นการบ้านกับ กกต. การเลือกตั้งในปี 66 เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าไม่มีทางที่ท่านจะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ถ้ าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายอื่น ทั้งกระทรวงมหาดไทย