xs
xsm
sm
md
lg

“อัครนันท์” อัด สสส.เน้นหนัก โครงการ เมา ไม่ ขับ ลืมทุ่มงบ โครงการแก้ปัญหายาเสพติด จี้ ผู้บริหารใส่แว่นขยายเกลี่ยงบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้(7 ก.ย.)นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.จังหวัด กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย อภิปรายรายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2565 หรือ รายงานกองทุน สสส.ว่า การดำเนินงานของ สสส. เน้นหนักในเรื่องโครงการ เมาแล้วขับ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือเป็นผลงานที่ประจักษ์และเด่นชัดมากที่สุด สสส.แต่ สสส.ไม่ใช่หน่วยงานภายใต้กำกับการโดยดูแลเรื่องยาเสพติดโดยตรง และปัจจุบันยาเสพติดเป็นปัญหาที่ทุกคนรับรู้ได้ว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุด ซึ่งตรงตามรายงานที่ สสส. ได้รายงานไว้คือ ประชาชนมีแนวโน้มการสูบบุหรี่ลดลง การดื่มแอลกอฮอล์คงที่ แต่ยาเสพติดยังมีสถิติ เป็นสิ่งที่สวนทาง เช่นการหาซื้อได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายในทุกช่วงวัย ทุกวงการ ทั้งวงการศึกษา ที่สามารถหาซื้ออุปกรณ์เสพยาเสพติดได้ที่หน้าโรงเรียน

โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากสารเสพติดในช่วงอายุ 12-15 ปีเพิ่มขึ้น และพบว่ามีพฤติกรรมการความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งจะเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2565 จนถึงปัจจุบัน และการสำรวจสถิติความรุนแรงในครอบครัว ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าผู้ก่อเหตุความรุนแรงส่วนใหญ่มาจากปัญหายาเสพติดกว่า 25 %

นายอัครนันท์ ได้ยกตัวอย่างการใช้ความรุนแรงที่จังหวัดกาญจนบุรี มาอภิปรายในสภาว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 9 เดือนที่ผ่านมาจังหวัดกาญจนบุรี พบ ผู้ประสบปัญหาในครอบครัวจำนวน 45 ราย มาจากปัญหาสุราและยาเสพติด , ปัญหาหึงหวง และ บันดาลโทสะทั้งนี้จากการได้พูดคุยกับหมอจิตแพทย์ ประจำจิตเวช โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าการใช้สารเสพติดในปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลาย และพบผู้ป่วยจิตเวชที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 9 ปี จากสถิติผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดและการความรุนแรงตั้งแต่ปี 2563 จนถึง 2565 พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามจึงมองว่าการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลยังไม่ทั่วถึง หากจะนำงบประมาณมารณรงค์เรื่องยาเสพติดให้ติดหูติดตา เช่น โครงการเมาไม่ขับ อาจจะทำ ใครปัญหาผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด และปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวอาจน้อยลง ดังนั้นจึงเป็นการสะท้อนถึงการทำงานของ สสส. ในการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ในการป้องกันและรณรงค์เรื่องยาเสพติดน้อยเกินไป

“ผมจึงอยากฝากไปถึงผู้บริหารงบประมาณ ในส่วนนี้ต้องช่วยกันใส่แว่นขยายให้กับปัญหานี้ เพื่อให้ปัญหานี้ลดน้อยลง และไม่ให้เกิด เป็นปัญหาระดับชาติต่อไป”
กำลังโหลดความคิดเห็น