xs
xsm
sm
md
lg

ก้าวไกลชงตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาอยู่ร่วม AI ชี้เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ หวังมีรายงานจริยธรรมรับผิดของ AI

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"เท่าพิภพ" ยื่นขอตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาการอยู่ร่วมกับ AI ชี้เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ หวังสภาฯ มีรายงานจริยธรรมการรับผิดของ AI ตั้งอนุศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง


วันนี้ (31 ส.ค. 66) นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. พรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังยื่นญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการอยู่ร่วมกันของสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ และโลกัตโนมัติ (Fully Automated World)

นายเท่าพิภพ ระบุว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม จนเริ่มเห็นการใช้งานจริงแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ การประโยชน์ และผลดีมากมาย แต่อีกทางหนึ่งก็ทำให้เกิดความกังวลในสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น กลัวการแทนที่แรงงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ ปัญหาทางนิติศาสตร์ถึงความรับผิดในการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ หรือจริยธรรมของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในทางทหารเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ในอนาคตอันใกล้ และเป็นโอกาสให้สภาผู้แทนราษฎรจะช่วยกันช่วยวางแผนการใช้ประโยชน์ รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาไว้แต่ก่อน

“ผมขอถามทุกคนว่า ถ้ารถยนต์ที่ขับด้วยระบบอัตโนมัติชนคนตาย ใครจะเป็นรับผิดชอบ คนขับหรือ เเต่ไม่มีใครจับพวงมาลัยนะ หรือเจ้าของรถ เเต่ก็ต้องถามว่ามีเจตนาตามกฎหมายอาญาหรือไม่ หรือจะโทษผู้ผลิตรถหรือคนเขียนโปรเเกรม มันจะไกลกว่าเหตุหรือไม่

หรือข้อถกเถียงเรื่อง AI ไปเรียนรู้ผลงานศิลปะเเล้วทำผลงานศิลปะมาใหม่ นั้นถูกต้องหรือไม่ เเล้วมันต่างอะไรจากศิลปินที่ตอนเรียนรู้ไปดูผลงานเเล้วได้เเรงบันดาลใจจากศิลปะอื่น ก็เป็นที่ถกเถียงกันว่าจะทำได้หรือไม่ ก็มีถกเถียงในหลายระดับ เเต่เรื่องนี้ผมเองเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามากกว่า” นายเท่าพิภพ กล่าว

นายเท่าพิภพ กล่าวต่อว่า หากมองถึงโอกาสในอนาคตเราควรจะมีสังคมที่เท่าเทียมขึ้น เพราะเราสบายขึ้น ใช้คนน้อยลง ใช้สมองน้อยลง ซึ่งสิ่งนี้ตนในฐานะผู้แทนราษฎร ได้มองเห็นโอกาสจึงอยากจะให้สภาผู้เเทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการอยู่ร่วมกันของสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์ และโลกัตโนมัติ (Fully Automated World) ขึ้น เพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบด้าน เตรียมพร้อมอนาคตที่จะถึงเเน่ ๆ ที่ทุกอย่างดำเนินไปด้วย AI และAutomation จะเป็นโลกที่สดใสของทุกคน หรือโลกที่สดใสของคนไม่กี่คน

ผู้สื่อข่าวถามว่า เป้าหมายในการยื่นครั้งนี้อยากเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมในสภาฯ นายเท่าพิภพกล่าวว่า ควรจะมีรายงานเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับจริยธรรมของ AI และความรับผิดชอบต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ AI ทำควรจะตกอยู่ที่ใคร เป็นการวางหลักการที่จะช่วยในการแก้กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งว่าจะต้องตั้งอนุกรรมการหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม รวม ถึงเรื่องกฎหมายและความมั่นคง ที่จะต้องไปแยกแต่ละอนุ ศึกษาว่าแต่ละเรื่องต้องทำอย่างไร

“สุดท้ายผมอยากให้มีข้อสรุปว่าให้เป็นโลกที่สดใสสำหรับทุกคน วันหนึ่งถึงแม้ว่าทุกคนจะไม่ต้องทำงาน แต่ทุกคนก็อาจจะมีสวัสดิการของรัฐ เพราะว่าสุดท้าย หุ่นยนต์กับมนุษย์ก็ต้องทำงานด้วยกัน ตนคิดว่าผลิตผลของทั้งโลกและประเทศไทยสามารถแบ่งกันได้” เท่าพิภพ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในต่างประเทศได้มีการศึกษาหรือมีกฎหมายที่เป็นรูปธรรมแล้วหรือไม่ นายเท่าพิภพกล่าวว่า “ยัง ถ้าประเทศไทยทำได้จะก้าวหน้ามาก อันนี้เป็นโปรเจคที่ทุกคนจะต้องช่วยกัน ส่วนใหญ่ก็มีการถูกเถียงกัน แต่ไม่มีข้อสรุป ทั้งในสหภาพยุโรป และบางประเทศ เราควรจะคุยกันเรื่องนี้กันใหม่ทั้งโลก”


กำลังโหลดความคิดเห็น