xs
xsm
sm
md
lg

วกส.4 ศึกษาดูงาน การบริหารจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร สู่ชุมชนและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จ.นครราชสีมา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้อบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 4 ผู้บริหารมูลนิธิเกษตราธิการ ผู้บริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 120 ราย ได้ไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการผลิตด้านการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ตามแนวความคิดและการเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการ "การตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน" ซึ่ง วกส.4 ทั้งหมดเป็นผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และเกษตรกรรุ่นใหม่

โดยในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง โดยทางคณะให้ความสนใจกับ นวัตกรรม "Wind Hydrogen Hybrid" เป็นอย่างมาก พร้อมร่วมทำภารกิจปกป้องการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้า ไปกับ เรนเจอร์ และเหล่าฮีโร่ประจำศูนย์การเรียนรู้ต้าง ๆ ของ กฟผ. เพื่อให้ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืน ร่วมสร้างความสุขและรอยยิ้มให้คนไทยทั้งประเทศ

26 สิงหาคม ช่วงเช้า ได้เยี่ยมชมสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดยมี ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ รองผู้อำนวยการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงสยาม 2 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พร้อมคณะนักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ได้ให้การต้อนรับ ได้เยี่ยมโถงนิทรรศการ และห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยสถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนเพื่อสนับสนุนประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เป็นที่หนึ่งและเป็นศูนย์กลางในอาเซียนด้านแสงซินโครตรอน เพื่อสนับสนุนประเทศในการพัฒนาด้านอาหาร การเกษตรและอุตสาหกรรม

สำหรับช่วงบ่าย วกส.4 ได้ศึกษาดูงาน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) หรือ Lower Northeastern Science Park (Nakhon Ratchasima) : LNESP เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เข้มแข็ง สร้างธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการพัฒนานวัตกรรม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาคชุมชน/สังคม โดย LNESP ได้ให้บริการในทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน เกษตรกร เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในหลายๆ ประเด็น อาทิ
- พร้อมด้วยแหล่งทุน/แพลตฟอร์ม รวมถึงการให้บริการที่สนับสนุนการวิจัย อาทิ
- พื้นที่สำหรับวิจัยและพัฒนา Research and Development
- พื้นที่โรงงานต้นแบบ Pilot Plant
-Regional Science Park Central Lab ที่รองรับการทดสอบด้านเกษตรและอาหาร
- การให้บริการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ/กฎหมาย/ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

สำหรับวันที่ 27 สิงหาคม ศึกษาดูงาน ไร่สุวรรณฯ หรือ ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงาน วิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการวิจัยค้นคว้าให้ได้องค์ความรู้ใหม่ทางด้านการเกษตรและนำมาปรับปรุงพัฒนาพันธ์พืชให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และความกินดีอยู่ดีของประชากรโลก โดยมี รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับและบรรยายในภารกิจการพัฒนาการเกษตร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการถ่ายทอดสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน การนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาภาคสังคม เพื่อการเเข่งขันทางการตลาดของเกษตรกร ในการนี้ ได้นำผลิตภัณฑ์จากสถานีวิจัยต่างๆ ของคณะเกษตร มาจัดนิทรรศการ ให้ วกส.4 ได้ชมและแลกเปลี่ยน เพื่อการสร้างเครือข่ายร่วมกันในอนาคตต่อไป

หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) เพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง 










กำลังโหลดความคิดเห็น