xs
xsm
sm
md
lg

สดช.จัดแข่ง “อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” ดัน soft power ไทยให้โลกรู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดตัวโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Cultural Heritage ระยะที่ 2 และกิจกรรมแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ “Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” เชิญชวนเยาวชนและประชาชนทั่วไป ประชันไอเดีย แฮกแฟชั่นไทยด้วยวัฒนธรรมและดิจิทัลคอนเทนต์ ปลุกพลัง Soft Power ไทย ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท และโอกาสนำเสนอผลงานต่อผู้บริหารองค์กรทางด้านดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย อาทิ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า Show DC เป็นต้น ลุ้นเติบโตเป็น Start Up หน้าใหม่ หรือกลายเป็นยูนิคอร์น

นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า มรดกทางวัฒนธรรมไทยมีมานานแล้ว ทั้งที่จับต้องได้ และเป็นพฤติกรรมหรือประเพณีที่สืบทอดกันมา ต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ถ้าเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัล ก็จะเก็บไว้ได้นาน เผยแพร่ได้เร็ว หลากหลายรูปแบบและน่าสนใจยิ่งขึ้น สดช. จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยระยะที่ 1 ได้รับการตอบรับอย่างดีแม้จะอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในปีนี้จึงสานต่อระยะที่ 2 เน้นเรื่อง 5 F ที่เป็น Soft Power ของไทย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับบประเทศ ต้องช่วยกันทำให้ทั่วโลกรู้จัก 5 F Soft Power ของไทยให้มากยิ่งขึ้น

“ภารกิจหลักของโครงการนี้มี 2 ส่วนคือ กิจกรรมแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ หรือ Hackathon ซึ่งปีนี้ใช้ชื่อว่า Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล เป็นเวทีประชันความสามารถของมนุษย์ยุคดิจิทัล ให้ใช้ทักษะความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ ในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง เครื่องประดับและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นไทย ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เลือก F-Fashion มาเป็นหัวข้อการแข่งขัน เพราะแฟชั่นไทยมีเสน่ห์ มีเรื่องเล่า มีเรื่องราวและแฝงด้วยวัฒนธรรมที่น่าสนใจ สามารถนำสตอรี่ของแฟชั่นไทยเหล่านั้นมาสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของชาติได้อย่างยั่งยืน ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้แฟชั่นไทยดังไกลระดับโลกได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางก็คือดิจิทัลนั่นเอง” นายภุชพงค์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ


“Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” จัดแข่ง 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา (มัธยม / ปวช. / ปวส. / ปริญญาตรี) และระดับประชาชนทั่วไป (ประชาชนทั่วไป / ปริญญาโท / ปริญญาเอก) โดยรวมกลุ่ม 4-6 คน และมีการแข่งขัน 2 สาขา ได้แก่ 1) สาขาเทคโนโลยีดิจิทัล: คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือปรับปรุงชิ้นงานกระบวนการที่มีอยู่เดิมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น สามารถสร้างความสะดวกสบายหรือเพิ่มมูลค่าเชิงการตลาด เช่น Application Game นวัตกรรมที่ใช้ใน Platform ที่มีอยู่เดิม AR VR นวัตกรรมที่ใช้การ Coding เทคโนโลยีบล็อกเชน ฯลฯ 2) สาขาสื่อมัลติมีเดีย: สร้างสรรค์ชิ้นงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเดิม ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างกรอบความคิดใหม่ นำเสนอผลงานในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง อาทิ แอนิเมชัน โมชันกราฟิก 2D 3D Motion ภาพยนตร์สั้นที่มีการใช้ Computer Graphic เป็นองค์ประกอบในการนำเสนอ เปิดรับผลงานถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 สมัครได้ที่ www.hackulture.com

เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงเกณฑ์การคัดเลือก 40 ทีมในรอบแรกว่า “อันดับแรกพิจารณาจากต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เลือกมาแข่งขันว่าน่าสนใจขนาดไหน สองคือเทคโนโลยีที่เลือกมาใช้กับการนำเสนอต้นทุนทางวัฒนธรรมนั้นๆว่าเหมาะสมหรือไม่ สามคือแนวคิดสร้างสรรค์ และสี่ สิ่งที่คิดขึ้นมานั้นสามารถต่อยอดทางเศรษฐกิจหรือสังคมได้อย่างไร”


ด้านนายพัชรพงษ์ วชิรพันธุ์ Headmaster Hackathon กล่าวว่า “โครงการนี้สำหรับคนที่มีไอเดียสร้างสรรค์ มาร่วมกันพัฒนาแฟชั่นไทยด้วยเทคโนโลยี เก่งด้านแฟชั่น เขียนโปรแกรมเก่ง นำเสนอเก่ง เขียน Business Model เก่ง หาเงินเก่ง ก็รวมทีมกันมาได้เลย เป็นโอกาสที่จะได้ลอง ในช่วง Boot Camp จะมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามาช่วยปั้นไอเดีย ปั้นผลงาน ถ้าทุกคนทำตรงนั้นอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ไม่ปล่อยโอกาสของตัวเองให้หายไป รอบแรกนำเสนอแค่ไอเดียว่าอยากจะทำอะไร ทีมงานคือใคร ใช้ความสามารถด้านไหน ขอเพียงเป็นไอเดียที่สามารถพัฒนาแฟชั่นไทยให้ก้าวไประดับโลกได้จริงๆ

“ส่วนภารกิจที่สองของโครงการนี้ ก็คือการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ หรือ Policy Lab เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมแต่ละด้าน มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งเจ้าของมรดกวัฒนธรรม เจ้าของแพลตฟอร์ม บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกภาคส่วนยอมรับว่า Cultural Contentมีความสำคัญมากๆ และเป็นรากฐานของ Soft Power ไทย ซึ่งต้องถูกนำมาใช้และสร้างรายได้เข้าประเทศ ผ่านยุทธศาสตร์ 5 แนวทาง ได้แก่ ศึกษารวบรวม อนุรักษ์ พัฒนาทักษะ ต่อยอด และเผยแพร่เนื้อหาวัฒนธรรมด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี”
นายพัชรพงษ์ กล่าว






กำลังโหลดความคิดเห็น