xs
xsm
sm
md
lg

คณะทำงานพรรคร่วมลงชัยนาท ติดตามสถานการณ์เอลนีโญ ถกราชการ-ปชช.ปรับระบบจัดการน้ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ ลง จ.ชัยนาท ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ “เอลนีโญ” ร่วมหารือราชการ-ประชาชน ปรับปรุงระบบบริหารจัดการน้ำ ชงข้อเสนอทั้งระยะสั้น-ระยะยาวแก้ทั้งน้ำแล้ง-น้ำท่วมถาวร

วันที่ (9 กรกฎาคม 2567) ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ จ.ชัยนาท คณะทำงาน 8 พรรคร่วมรัฐบาลด้านภัยแล้งและเอลนีโญ ร่วมประชุมหารือกับหน่วยราชการและตัวแทนประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำ พร้อมสำรวจระบบการบริหารจัดการน้ำในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ทั้งที่โรงสูบน้ำคลองสองขวา คลองระบายน้ำหลากฝั่งตะวันออก ชัยนาท-ป่าสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง เพื่อร่วมกำหนดแนวทางของคณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ เตรียมการรับมือกับสถานการณ์เอลนีโญต่อไป

นายเดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายฯ พรรคก้าวไกล หนึ่งในคณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ ระบุว่าสถานการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นชัดว่ามีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติกว่า 20% เฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลางจะมีฝนน้อยกว่าปกติประมาณ 50% ที่ จ.ชัยนาทเอง มีเกษตรกรบางส่วนที่ยังไม่สามารถเริ่มทำนาปีได้ แม้จะมีเกษตรกรในเขตชลประทานที่ทำนาปีได้แล้ว แต่ก็มีความจำเป็นต้องส่งน้ำเข้ามาช่วย ดังนั้น สถานการณ์เอลนีโญปีนี้จึงคาดการณ์ได้ว่าจะหนักหน่วงและส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงหน้าแล้งปีถัดไปด้วย

ทั้งนี้ จากการศึกษาและหารือร่วมกับหน่วยงานราชการและประชาชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดเวลาที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ คณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ มีข้อเสนอเบื้องต้น ทั้งที่เป็นมาตรการเร่งด่วนและมาตรการในระยะยาว โดยเฉพาะในระยะเร่งด่วน ต้องมีการจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้การได้ที่ลดน้อยลงเหลืออยู่เพียง 20% กว่า หากบริหารจัดการไม่ดี ปลายฤดูฝนต้นฤดูแล้งปีหน้าอาจจะเหลือปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ฤดูแล้งปี 2567 มีปัญหามากขึ้น

นายเดชรัต กล่าวต่อไปว่า การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก หากวางแผนได้ดีการบริหารจัดการน้ำจะมีประสิทธิภาพ อย่างเช่นที่คลองสองขวาที่คณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ ได้ลงมาสำรวจในวันนี้ ที่สามารถลดปริมาณการใช้น้ำลงไปได้ครึ่งหนึ่ง และยังลดปริมาณค่าไฟในการสูบน้ำเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันคิดเป็นค่าใช้จ่ายลงไปได้ถึง 90%

“ในฐานะผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาล จะต้องมีการวางแผนว่าจะสนับสนุนช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ไม่สามารถทำนาในช่วงฤดูแล้ง หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ทำอาชีพอื่นในช่วงฤดูแล้งได้อย่างไร นี่คือสิ่งที่คณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ กำลังหารือกันอยู่ โดยจะมีการประชุมสรุปในวันพรุ่งนี้” นายเดชรัต กล่าว

ทั้นี้ คณะทำงาน 8 พรรคร่วมฯ มีข้อเสนอต่อมาตรการในการรับมือสถานการณ์เอลนีโญในระยะเร่งด่วนประกอบด้วย 1) ติดตามการพยากรณ์อากาศในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะค่าดัชนีความแห้งแล้ง และปริมาณน้ำฝนในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอย่างใกล้ชิด 2) วางแผน/บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำโดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและสถานการณ์น้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงพอไปจนถึงฤดูแล้งปี 2568

3) ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนสําหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งและมีความขาดแคลนน้ำทั้งในการขุดบ่อบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร, การเพิ่มสระเก็บน้ำในไร่นาเกษตรกร และในท้องถิ่น, การจัดและหาปรับปรุงแหล่งน้ำสํารองสําหรับการทําประปา และ การสํารองน้ำใช้อุปโภคบริโภคสําหรับชุมชนและสถานที่สาธารณะ ในพื้นที่ที่อาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ําสํารอง 4) เตรียมแผนการเพาะปลูกพืชให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและการบริหารจัดการน้ําในอ่างเก็บน้ํา และ 5) พัฒนาประสิทธิภาพการใช้น้ำ เพื่อให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ลดการสูญเสียน้ำของ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำของระบบชลประทาน และ การลงทุนเพื่อการประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำในไร่นาของเกษตรกร

ส่วนแนวทางการจัดการน้ำในระยะยาว ประกอบด้วย 1) ปรับปรุงโครงสร้างการจัดการน้ําให้เป็นระบบบูรณาการที่มีข้อมูลเชื่อมโยงและการสั่งการในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ให้คณะกรรมการลุ่มน้ําภาคประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม 2) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในช่วงสถานการณ์วิกฤต ทั้งภัยแล้งและน้ําท่วม 3) การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในการสร้างและพัฒนาระบบกักเก็บน้ําขนาดเล็ก และการจัดหาแหล่งน้ําขนาดเล็ก และควรสนับสนุนบทบาทและงบประมาณสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4) การส่งเสริมระบบการเกษตรที่ใช้น้ําน้อย และมีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ 5) การพัฒนาให้ทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงระบบประปาที่มีคุณภาพ และพัฒนาเป็นน้ําประปาดื่มได้ รวมการลดการสูญเสียน้ําในระบบประปาลงให้ได้ 6) การเตรียมการจัดการ และวางแผนพัฒนาแหล่งน้ํา ความต้องการการใช้น้ํา และเทคโนโลยีเพื่อการหมุนเวียนน้ํา ในพื้นที่ที่มีความต้องการน้ําสูง 7) การฟื้นฟูระบบนิเวศในลุ่มน้ําต่างๆ ให้สมบูรณ์ขึ้น

การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ําในทุกกระบวนการและทุกระดับ 9) การศึกษาแนวทางเลือกในการป้องกัน และรับมือการรุกล้ําของน้ําเค็ม 10) การยกระดับขีดความสามารถในการจัดการน้ําเสียตั้งแต่แหล่งกําเนิด และ 11) การทํางานเชิงรุกในกลไกการจัดการน้ําระหว่างประเทศ ทั้งในกลุ่มลุ่มแม่น้ําโขงและลุ่มแม่น้ําสาละวิน เพื่อรักษาระบบนิเวศในลำน้ำ และมิให้เกิดผลกระทบทางลบกับพี่น้องประชาชนในลุ่มน้ำนั้นๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น