xs
xsm
sm
md
lg

“สามารถ” แจง 3 ประเด็นศาลฯต้องวินิจฉัย “พิธา” ฟัน ! การเมืองไทยอาจเลือกตั้งใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้(1 มิ.ย.)นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึง ประเด็นร้อนเรื่องคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีว่า ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคงต้องมีการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของนายพิธาถึง 3 ประเด็นด้วยกันกรณีแรกคือ นายพิธา หมดสิทธิ์การเป็น ส.ส.เพราะถือหุ้นสื่อหรือไม่? ประเด็นนี้หากศาลฯวินิจฉัยว่า บ.ไอทีวี ยังเป็นหุ้นสื่อที่ประกอบกิจการอยู่ นั่นก็หมายถึงการขาดคุณสมบัติการถือหุ้นของนายพิธา ตามมาตรา 98 (3) อย่างแน่นอน และจะมีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้ง เมื่อปี 2562 ด้วย แสดงว่านายพิธา ไม่เคยเป็น ส.ส.และจะถูกเรียกเงินคืนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เบี้ยประชุม รวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประเด็น 2 คือ นายพิธา ยังสามารถเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ ตามมาตรา 160 ? ประเด็นนี้ ต้องตามต่อจากประเด็นแรก หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายพิธาขาดคุณสมบัติในมาตรา 98(3) ก็จะส่งผลทำให้นายพิธาขาดคุณสมบัติตามมาตรา160 ไปด้วย ซึ่งก็หมายถึงนายพิธาไม่สามารถเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้

ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ศาลฯต้องวินิจฉัยด้วย คือ การเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของนายพิธา ส่งผลทำให้ผู้สมัครของพรรคก้าวไกลได้รับเลือกตั้ง และได้รับความนิยมจนได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลวินิจฉัยประเด็นนี้ว่าเป็นโฆษะก็จะส่งผลลามไปถึงการจัดการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ เพราะเขตการเลือกตั้งที่พรรคที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 จะมีผลต่อการเลือกตั้งทั่วทั้งประเทศ

"การที่คุณพิธา ส่งตัวเองลงสมัคร แล้วเป็นแคนดิเดตนายกฯ เบอร์1 เพียงคนเดียวของพรรคก้าวไกล แล้วทำให้พรรคก้าวไกลได้ 151 เสียง อย่าลืมว่าเขตอื่นที่เค้าได้ที่ 2 หรือที่คุณพิธา ไปแย่งคะแนนเค้ามีผลกับการเลือกตั้งทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะเขตที่คุณพิธาลงเลือกตั้งเท่านั้น เพราะคุณพิธา ไม่มีคุณสมบัติเป็นนายกฯ แล้วดันมาสมัคร แล้วทำให้คะแนนความนิยมมันเกิดขึ้นพูดง่ายๆว่าคุณพิธาไม่มีสิทธิ์ลงสนาม เรื่องนี้ต้องติดตาม เพราะการเลือกตั้ง 14 พค.มันมีปัญหาแล้ว"

นายสามารถ ยังได้ยกตัวอย่างกรณีการเมืองไทยด้วยว่า การเลือกตั้งในประเทศไทย มีการล้มการเลือกตั้งมาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 เมษา พ.ศ. 2549 ที่ 3 พรรคการเมืองใหญ่ในสมัยนั้นได้ทำการบอยคอตพรรคไทยรักไทย จนทำให้ไม่สามารถการเลือกตั้งได้ จากนั้น วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดการเลือกตั้ง แต่เปิดหน่วยไม่ได้ จนทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งวันเดียวกันได้พร้อมกันทุกเขต ครั้งนั้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าผิด จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ การเมืองตอนนี้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกรณีคุณสมบัติของนายพิธา จะส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดอีกหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น