ครม. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาสที่ 2)
วันนี้ (2 พ.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาสที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ดังนี้
1. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
(ไตรมาสที่ 2 ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 เปรียบเทียบภาพรวมผลการเบิกจ่ายและผลการใช้จ่ายงบประมาณกับเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรี วงเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 3,185,000 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,691,979.4854 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.12 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 1,888,135.8751 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.28 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 1.12 และ 3.04 ตามลำดับ
- รายจ่ายประจำ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,520,329.0991 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,459,291.1188 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.90 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 1,472,082.1997 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.41 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 2.90 และ 2.63 ตามลำดับ
- รายจ่ายลงทุน วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 664,670.9009 ล้านบาท
มีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 232,688.3666 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.01 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 416,053.6754 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.60 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ร้อยละ 3.99 แต่สูงกว่าเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 4.45
อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบผลการเบิกจ่ายและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 2) กรณีไม่รวมงบกลาง วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,594,530.0000 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,402,233.2017 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.05 ต่ำกว่าแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 2.32 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 1,597,942.0340 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.59 สูงกว่าแผนการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 5.22
สำหรับการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกตาม 6 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและหนึ่งรายการ นั้น ประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงงบประมาณจำนวน 292,593.6677 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 113,707.2738 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.86 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 138,131.8021 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.21 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 13.14 และ 9.03 ตามลำดับ
(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ จำนวน 397,239.2473 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 224,875.0383 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.61 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 307,019.4177 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 77.29 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 4.61 และ 21.05 ตามลำดับ
(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์งบประมาณจำนวน 544,455.5039 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 293,922.1291 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.98 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 314,595.6006 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.78 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 1.98 และ 1.54 ตามลำดับ
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณจำนวน 767,403.0444 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 458,399.8739 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 59.73 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 488,282.8702 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 63.63 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 7.73 และ 7.39 ตามลำดับ
(5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณจำนวน 122,605.9595 ล้านบาทมีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 49,582.9584 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 40.44 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 77,576.4104 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 63.27 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและสูงกว่าเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 11.56 และ 7.03 ตามลำดับ
(6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณจำนวน 658,184.6140 ล้านบาทมีผลการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 343,358.9464 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.17 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 353,980.3582 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 53.78 สูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและต่ำกว่าเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 0.17 และ 2.46 ตามลำดับ
สำหรับ รายการค่าดำเนินการภาครัฐงบประมาณจำนวน 402,517.9632 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 208,133.2655 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 51.71 มีผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้) จำนวน 208,549.4159 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 51.81 ต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณร้อยละ 0.29 และ 4.43 ตามลำดับ
2. รายการผูกพันใหม่ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาทจำนวน 32 รายการ วงเงินจำนวนทั้งสิ้น 12,259.5483 ล้านบาท มีหน่วยรับงบประมาณรับผิดชอบจำนวน 14 หน่วยงานมี สถานภาพ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ดังนี้
- ลงนามในสัญญาแล้วจำนวน 7 รายการ
- อยู่ระหว่างอนุมัติผลการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน 5 รายการ
- ทราบผลการประกวดราคาแล้วจำนวน 5 รายการ
- อยู่ระหว่างการทบทวนจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2 รายการ
- ยังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 13 รายการ เนื่องจากเป็นรายการที่มีวงเงินสูงและมีคุณสมบัติมีคุณลักษณะเฉพาะจึงอยู่ระหว่างขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ สาเหตุหนึ่งมาจากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทำให้เกิดภัยพิบัติในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้การดำเนินกิจการต่าง ๆ ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด หลายหน่วยรับงบประมาณต้องมีการปรับวิธีการและการทำงาน รวมทั้งการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือบริบทของแต่ละพื้นที่
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีย้ำในที่ประชุม ให้หน่วยรับงบประมาณให้ความสำคัญในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพราะมีส่วนสำคัญต่อในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ที่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาต่อเนื่องด้วย