xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.โจ” ฟาด “สมชัย” โชว์เขลา อ้าง “แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท” เสียหายน้อยกว่าบำนาญปชช.เดือน 3 พัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ บรรยากาศการหาเสียง แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ของพรรคเพื่อไทย จากแฟ้ม
ตีความทื่อๆ! “ดร.โจ” ฟาด “สมชัย” อ่านค่าตัวเลข “ผิด” เรื่องแจกเงินหาเสียง ของเพื่อไทย ที่บอกว่า ดูเด็กๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับเงินบำนาญ ปชช.พรรคอื่น ชี้ บำนาญ ปชช. คือ ใช้คนส่วนใหญ่ของประเทศ เลี้ยงดูคนส่วนน้อย ไม่ฉิบหาย!

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพจเฟซบุ๊ก โจ ชาญวิทย์ ใจสว่าง ของ ดร.ชาญวิทย์ ใจสว่าง หรือ ดร.โจ อาจารย์พิเศษ และผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โต้ สมชัย ศรีสุทธิยากร ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับการหาเสียงแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท พรรคเพื่อไทย ว่า เด็กๆ เมื่อเทียบกับเงินบำนาญ ปชช.ของบางพรรค ระบุว่า

“เวลาเปลี่ยนพาเพื่อไทยต่ำ

อ.สมชัย อ่านค่าตัวเลข “ผิด” เรื่องแจกเงินหาเสียง ของเพื่อไทย ที่บอกว่า ดูเด็กๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับเงินบำนาญ ปชช.ของพรรคอื่น

อ.สมชัย เอาเงินบำนาญ ปชช. เดือนละ 3,000 บวกไป 4 ปี มาเทียบกับของเพื่อไทย ที่สังคมกำลังประณามอยู่ว่า ใช้เงินมากกว่า 4-5 เท่า ประมาณว่า มันทำชิบหายมากกว่าเยอะ เพราะแจกทุกเดือน เพียง 4 ปี เงินละเลงเล่นๆ ไป สูงถึงสองล้านล้านบาท

การแปลความหมายเช่นนี้ เป็นการแปลความที่ผิด

อ.สมชัย ไม่ช่ำชอง การตีความตัวเลข ทางสังคมศาสตร์ ไม่น่าทำเป็นรู้ ศาสตร์ที่ไม่ถนัด

เพราะจะทำให้คนสับสน และอาจนำไปพูดต่อโดยไม่รู้ว่าผิด เนื่องจากฟังมาจากคนมีชื่อเป็นผู้ให้ข้อมูล

ตัวเลขทางบัญชี มันคือ ค่าคงที่ปกติ ไม่ต้องแปลความอะไรมาก

แต่ถ้านำไปใช้ในทางสังคม ซึ่งต้องบวกกับศาสตร์อื่นด้วย การตีความทื่อๆ ดังที่ อ.สมชัย แปล

มันคือ “ความเขลา”

จะส่งผลให้การแปลความหมาย ไม่ถูกต้อง และสำคัญคือ ไม่สะท้อนความจริง

ภาพ ดร.ชาญวิทย์ ใจสว่าง หรือ ดร.โจ ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก โจ ชาญวิทย์ ใจสว่าง
ตัวอย่างเช่น รายได้ประชากรทั้งประเทศ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด สมมติได้ คนละ 4 หมื่น แล้วแปลทื่อๆ ไปว่า คนไทยมีรายได้คนละ 4 หมื่น แบบนี้ เป็นการแปลที่ไม่สะท้อนความจริง

เพราะคนไทย ไม่ได้มีรายได้ เดือนละ 4 หมื่นจริง ตามที่หารออกมา

มันอธิบายได้เพียง ค่าเฉลี่ยต่อหัวทางสถิติเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ความจริงทางสังคม

สองสิ่งนี้ใช้คู่กันในทางวิเคราะห์ แต่ไปยืนยันความจริง ตามตัวเลขปรากฏไม่ได้

ส่วนจะอธิบายสถิตินั้นอย่างไรต่อไป ขึ้นกับความเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นด้วย รวมถึงสภาพสังคม กลุ่มประชากรประเภทไหนด้วย

การตีความตัวเลขต่างๆ จึงยากขึ้น โดยเฉพาะการแปลความผลกระทบ เมื่อปัจจัยการเงินขยับ ผลด้านบวก ลบ และผลทวีคูณรุนแรงอื่น แตกตัวออกไปทิศทางใดบ้าง ซึ่งต้องวิเคราะห์ตัวแปรหลายทิศทาง แม้แต่ด้านจิตใจ ที่ค่อนข้างนามธรรมด้วย ผลตามมาคืออะไร เสื่อมลงหรือทรงตัวไหม เป็นต้น

ซึ่งไม่ง่ายดั่ง อ.สมชัย โพสต์โชว์เก่ง ที่มองด้านเดียว คือ บำนาญ ปชช. ใช้เงินมากกว่า นั่นแสดงว่า ชิบหายมากกว่า

สมัยใหม่ เขามองผลของความซับซ้อนด้วย ไม่ใช่ หลงเชื่อแค่ ทักษิณ, เศรษฐา พูดศัพท์เศรษฐศาสตร์ 2-3 คำ แล้วกราบไหว้บูชา “จะเกิดมูลค่าเพิ่มนะ เพราะเงินจะหมุน 7 รอบ”

แล้วเงินบำนาญ ปชช. ไม่หมุน 6-7 รอบเหมือนกันหรือ

หรือเงินจะหมุนเฉพาะเพื่อไทยแจกเท่านั้น

บำนาญ ปชช. คือ ใช้คนส่วนใหญ่ของประเทศ เลี้ยงดูคนส่วนน้อย

คนส่วนใหญ่นี้ หมายถึง คนที่ทำงานประกอบอาชีพ ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ตลอดจน ผู้สูงอายุที่เกิน 60 ปี ด้วย ที่ยังทำงานประกอบอาชีพ โดยทุกคนร่วมกันเสียภาษี ทั้งตรงและอ้อม

จากนั้น เอาภาษีจากคนส่วนใหญ่ไปจ่ายคนส่วนน้อย ที่อายุมากกว่า 60 ปี บางคน ไม่ใช่ทุกคน

ทั้งนี้ ถ้าตัด ขรก. และผู้ได้บำนาญจาก ตปท. จากที่เคยทำงานประเทศเขามาก่อน จำนวนจะเหลือไม่เต็ม ตามที่ อ.สมชัย ยกมาคูณกัน ในหลักบัญชีพื้นฐาน

การจ่ายเงิน นโยบายบำนาญ ปชช. จึงไม่ไปสู่ทางชิบหาย เหมือนของเพื่อไทย ที่แจกแบบปัญญาอ่อน ดั่งทักษิณ ประจานไว้ก่อนแล้ว

บำนาญ ปชช. จึงไม่มีแนวโน้มล่ม โดยคนส่วนใหญ่ คอยดูแลคนส่วนน้อย แบบรุ่นต่อรุ่น หมุนรอบคล้ายลอตเตอรี่ ที่ไม่สะดุด ไม่ต้องพึ่งเงินคลังประเทศ เพราะคนถูกรางวัลคือคนส่วนน้อย

บำนาญ ปชช. ต้องเป็นผู้เข้าใจสังคม เข้าใจความเป็นมนุษย์ ถึงจะเห็นผลบวกทางสังคม คล้ายๆ เงิน CSR ถ้าคิดแบบบัญชี คือไร้ประโยชน์ และเสียเงินเปล่าสำหรับการลงทุน CSR

ภาพ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร จากแฟ้ม
อ.สมชัย ไม่เข้าใจว่า ลงทุน CSR ทำไม?

มองไม่เห็นว่า องค์กร ไม่ได้อยู่รอดได้ตัวคนเดียว โดยไม่เทกแคร์สังคม

ถ้าชุมชน ย่ำแย่ ไร้การศึกษา ผู้คนว่างงานสูง แรงงานไร้ฝีมือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมพุ่งสูง ป่าไม้ถูกทำลายเสื่อมโทรม และอื่นๆ แพร่หนัก ในที่สุดองค์กรนั้น ก็อยู่ไม่ได้

ยอดขายสินค้าลด กำลังซื้อจากชุมชนหดหาย จากเหตุปัจจัยดังกล่าวกระทบ

การลงทุน CSR เพื่อฟื้นฟูสังคม ให้สังคมเติบโตอย่างมีคุณภาพ จึงเป็นผลบวก เกิดการพึ่งพาซื้อขายกันได้ในระยะยาว

ทำนองเดียวกับเงินบำนาญ ปชช. แต่เงินบำนาญ ปชช. ส่งผลตรงมากกว่า CSR เนื่องจากไม่ต้องรออนาคต

นั่นคือ เมื่อคนสูงอายุ ดูแลตัวเองได้ ภาระลูกหลานลดลง หนี้สินภาคครัวเรือนทั้งสองฝ่ายลดลงด้วย รวมถึงเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสองฝ่าย

ซึ่งปรากฏผลชัด บำนาญข้าราชการ สร้างความผาสุก ให้ครอบครัว ขรก. มาอย่างต่อเนื่อง ความเดือดร้อนมีน้อยกว่า ครอบครัวลูกชาวนา ครอบครัวผู้ใช้แรงงานมากมาย ซึ่งสังคมรับรู้เรื่องเหล่านี้ดี นี่คือส่วนหนึ่งของเงินบำนาญ ที่เกิดคุณค่ามหาศาล ที่ บัญชี อย่าง อ.สมชัย อธิบายไม่ได้ ถึงผลย้อนกลับสู่สังคม

ซึ่งไม่ใช่เป็นความชิบหาย เหมือนเพื่อไทยแจกเงิน ดั่งที่ อ.สมชัย กำลังเขลา”


กำลังโหลดความคิดเห็น