ส่องโพลเลือกตั้ง “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง สับเละ ซูเปอร์โพล เก็บข้อมูลตัวอย่างไม่ครอบคลุม ผิดหลักวิจัย ทำนายไม่ต่างจากหมอเดา ไร้ความน่าเชื่อถือ
วันนี้ (15 เม.ย.) จากกรณีซูเปอร์โพล(SUPER POLL) เสนอผลการศึกษาเรื่องโพลเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ 3 ข้อมูลใหม่แลนสไลด์? กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ อายุ 18 ปี ทั่วไปใน 400 เขต เลือกตั้งและผลการประมาณการ 100 ที่นั่ง ผู้แทนราษฎรหรือส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศ ดำเนินการศึกษาแหล่งข้อมูลทั้งการวิจัยปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Quanlitative Research) จำนวนตัวอย่างในการศึกษารวมทั้งสิ้น 6,073 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5 -13 เมษายน 2566
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนดัง เพื่ออธิบายและให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชนในมุมมองที่น่าสนใจว่า สำนักวิจัยแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ในการเก็บตัวอย่างงานวิจัยจะต้องเก็บตัวอย่างที่ครอบคลุม วิเคราะห์ผลวิจัยที่เป็นกลาง น่าเชื่อถือได้ เทียบเคียงกับความเป็นจริง กรณีซูเปอร์โพล(SUPER POLL) เปิดผลโพล โดยดำเนินการศึกษาแหล่งข้อมูลทั้งการวิจัยปริมาณ(Quantitative Research)และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Quanlitative Research) จำนวนตัวอย่างในการศึกษา รวมทั้งสิ้น 6,073 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5 -13 เมษายน 2566 ทำให้ตนเกิดข้อสงสัย ถึงความเชื่อถือในสถาบันวิจัย หากเข้าไปสืบค้นข้อมูล พบว่า ซูเปอร์โพล จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นบริษัทเอกชน ได้ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 4299 ระดับ 1 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร สาขาประชาสัมพันธ์ สาขาวิจัยและการประเมินผล โดยขึ้นทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 โดยมี ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา อดีตผู้อำนวยการ ABAC POLL เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมา ในปี 2559 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น“SUPER POLL” สาเหตุที่ต้องพูดถึงองค์กร ซึ่งเชื่อมกับความน่าเชื่อถือของโพล สะท้อนถึงหลักวิจัย เพราะผลโพลการเมือง เป็นเพียงการพยากรณ์ทางการเมือง เป็นเพียงการคาด คาดหมายล่วงหน้า ไม่ต่างจากสำนักโพลอื่นๆ ภาษาชาวบ้าน คือ “หมอดู” หรือว่า“หมอเดา” แต่ผลโพล เป็นการชี้นำประชาชนให้เลือกพรรคการเมืองใด แม้ไม่ได้ระบุ แต่เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เหตุที่ต้องออกมาพูดเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้ความรู้แก่ประชาชน ตนจะขยี้ สับให้เละกับสำนักโพล ซูเปอร์โพลเอกชนรายนี้ ให้เห็นว่า ผลโพลนี้เชื่อถือได้หรือไม่ ผมไม่ได้ลดความน่าเชื่อถือใคร แต่ต้องการให้พี่น้องประชาชนให้ดูผลการเก็บข้อมูลตัวอย่างข้อมูลการวิจัยเพียง 6,073 ตัวอย่างกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งห้าสิบสองล้านกว่าคน มันได้สัดส่วนกันหรือไม่ เป็นไปตามหลักเก็บข้อมูลตัวอย่างงานวิจัยหรือไม่ โดยเก็บจากแพลตฟอร์มใด ให้สังเกตว่า สำนักโพลซูเปอร์โพล ใช้แหล่งข้อมูลวิจัยปริมาณ(Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Quanlitative Research) ซึ่งลักษณะงานวิจัยผสม จึงต้องวิเคราะห์จากข้อมูลที่จัดเก็บได้ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณ ซูเปอร์โพลไปสัมภาษณ์บุคคลใดที่น่าเชื่อถือ และเป็นกลางทางเมือง ส่วนวิจัยภาคสนาม ท่านไปเก็บตัวอย่างจากใคร หากใช้แพลตฟอร์มทางออนไลน์ แล้วให้บุคคลใดไม่ทราบ กรอกข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับไม่อาจเชื่อถือได้ ให้สังเกตระยะเวลา ระหว่างวันที่ 5 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 ใช้ระยะเวลา 9 วัน กับ 6,073 ตัวอย่าง ผมไม่เชื่อว่าไปเก็บข้อมูลโดยการเก็บข้อมูล 400 เขตเลือกตั้ง เท่ากับ 15.18 ตัวอย่างต่อ 1 เขต ซึ่งขัดต่อความเป็นจริง เชื่อว่า ให้กลุ่มตัวอย่างทั่วไปลงในแพลตฟอร์มเฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่เป็นการเก็บตัวอย่างเฉพาะเขต เพราะสัดส่วนตัวอย่าง 0.18 คืออะไร ตนเชื่อว่า สำนักซูเปอร์โพล ตอบคำถามพี่น้องประชาชนตอบคำถามไม่ได้ เรียกว่า โครตมั่ว ทำให้เกิดคำถาม ข้อมูลตัวอย่าง 6,073 ประชากรกลุ่มใด กลุ่มเป้าหมายใด ครอบคลุมทุกเขตเลือกตั้ง ครอบคลุมถึงทุกพรรคการเมืองหรือไม่ การเก็บข้อมูลวิเคราะห์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน สำนักโพลนี้ไปเก็บข้อมูลอย่างไร ในเมื่อพรรคการเมือง 67 พรรค คุณไปถามประชาชนในกลุ่มแพลตฟอร์มทั่วไปเพียงกลุ่มเดียว มันเชื่อถือได้หรือไม่ เอาเปอร์เซ็นต์เทียบเคียงประมาณการสถิติใด ทฤษฎีใด ใช้หลักวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ตรงนี้ เป็นประเด็นสำคัญของความเชื่อถือของสำนักโพล ตนเป็นนักกฎหมายมหาชน เรียนจบดอกเตอร์ ปริญญาเอกทางด้านกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความรู้ระเบียบวิธีวิจัย ในการเขียนวิจัยระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูง สำนักโพล ต่างๆ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเหมือนกันกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ได้มาคิดสูตรเอาเอง พอตนอ่านผลโพลสำนักโพลนี้ ค่อนข้างแปลก และขัดแย้งต่อหลักการทำวิจัย ทั้งวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ จึงต้องออกมาพูดให้ประชาชนหูตาสว่าง อย่าไปเชื่อ แต่มีบางข้อมูลที่ ขนาดเด็กและเยาวชน ยังทำนายได้ เช่น พรรคเพื่อไทย ไม่แลนสไลด์ ไม่ต้องทำโพล ใครๆก็ทายได้แม่น ดังนั้น วิธีการจัดเก็บตัวอย่างข้อมูล ซูเปอร์โพลเอกชนรายนี้ ไม่ได้บ่งบอกวิธีการเก็บกลุ่มตัวอย่าง แต่อ้างรายละเอียดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและจำนวน ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ ความน่าเชื่อถือน้อยมาก ตัวเลขคลาดเคลื่อน ไล่ให้ไปถาม ตัวแทนพรรคการเมืองอีก 60 กว่าพรรคด้วย ที่เป็นคู่แข่งนำเสนอนโยบายและแข่งขันด้วย อย่าเอาใจเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ไม่กี่พรรค มันน่าเกลียด ไม่เป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง ดังนั้น พี่น้องประชาชน จะต้องไปดูของจริงในวันเลือกตั้ง อย่าไปเชื่อผลโพลล่วงหน้า ไม่สามารถวัดอะไรได้ ยกตัวอย่าง ผลโพลผู้ว่า กทม. ที่ผ่านมา หักปากกาเซียน ทายมั่ว แตกต่างจากอดีต พรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้ง พรรคการเมืองใด ได้ ส.ส.กี่ที่นั่ง อยู่ที่ปากกาและการหย่อนบัตรเลือกตั้งของพี่น้องประชาชนเท่านั้น
สาเหตุที่รีบนำมาเปิดเผยก่อนเพราะใกล้เลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้งห้ามทำโพล อย่าให้สำนักโพลต่างๆ มาชี้นำ การกาเบอร์ หย่อนบัตรของพี่น้องประชาชน เพราะเป็นดุลพินิจและสิทธิของท่านที่จะเลือกตัวแทน โพลไม่ต่างจากหมอเดา ใช้หลักคาดคะเน ส่งผลให้พรรคการเมืองที่กำลังหาเสียงไม่ได้อยู่ในรายชื่อผลโพล ห่อเหี่ยว ไม่มีนักวิชาการรายใด ออกมาคัดค้านผลโพล ที่ไม่ถูกต้อง กลับเงียบกริบเป็นเป่าสาก แถมแชร์ข่าวผลโพล อาจเกิดจากหลายสาเหตุ บางคนผ่านงานวิชาการหรืองานวิจัยโดยการจ้างเขียน ไม่มีความรู้ จบปริญญาเอก เป็นดอกเตอร์ จ้างเขียนดุษฎีนิพนธ์ จ้างเขียนผลงานวิชาการ ไม่มีความรู้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างแท้จริง ไม่กล้าออกมาพูด กลัวคดีพลิก
ผลการศึกษาประมาณการ 500 ที่นั่ง และค่าร้อยละ ของจำนวนที่นั่ง ส.ส.แต่ละพรรคการเมืองจำนวนต่ำสุดและสูงสุดแต่ละพรรคการเมือง จำแนกทั้งสองระบบ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวว่า การแสดงผลการศึกษาประมาณการและค่าร้อยละของที่นั่ง ส.ส.แต่ละพรรคการเมือง ที่ทำนายว่าพรรคเพื่อไทย มาเป็นลำดับ 1 ไม่ต้องทำโพลก็ทายได้ เพราะนักวิชาการ นักการเมือง สัมภาษณ์ออกสื่อก่อนการยุบสภา ทั้งไม่มีการแลนสไลด์ สำนักโพลนี้ ไปเก็บตัวอย่างวิจัยคุณภาพจากที่ตนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายครั้ง สามารถทำนายได้ จำนวน ส.ส.ไม่เกินคาดหมาย คือ บวกลบไม่เกิน 170 ที่นั่ง บวกลบไม่เกินห้าเสียง มีตนเพียงคนเดียวในประเทศที่คาดหมายผลไม่เกินตัวเลขนี้ เวลาไปเก็บข้อมูลไม่เห็นมาสัมภาษณ์ตน อย่าให้รู้นะว่า แอบเอาข้อมูลของตนไปใช้ แต่สำนักซูเปอร์โพล ทำนาย160 ที่นั่ง ไม่เกินคาดหมาย ส่วนลำดับพรรคการเมืองอื่น ยังคลาดเคลื่อน ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ รวมไทยสร้างชาติ ก้าวไกล และพรรคอื่นๆ คำว่า พรรคอื่นๆ ต้องระบุพรรคการเมืองว่าเป็นพรรคการเมืองอะไร เพราะลงแข่งขัน 67 พรรคการเมือง ทุกพรรคมีความหวัง ไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมือง ในปัจจุบันพี่น้องประชาชน ตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น เพราะสื่อสารออนไลน์ทางโทรศัพท์มือถือ นอนหลับทับสิทธิ์น้อย เพราะกระแสการเมือง ข่าวการเมืองแรง เข้าถึงระบบออนไลน์ทางมือถือ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง กระแสร้อนแรง ไม่ต่างจากอากาศร้อนอบอ้าวในวันสงกรานต์นี้ เกณฑ์ในกำหนดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กำหนดบุคคลที่มีอายุเริ่มตั้งแต่ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง คนรุ่นใหม่ เข้าถือสื่อออนไลน์ สามารถตัดสินใจลงคะแนนได้
การเก็บข้อมูลภาคสนามของสำนักซูเปอร์โพล วิจัยเชิงปริมาณ ระหว่างวันที่ 5 -13 เมษายน 2566 ระยะเวลาเพียง 9 วัน กับข้อมูลตัวอย่างเพียงแค่ 6,073 ตัวอย่างกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 53,094,778 คนทั่วประเทศ แต่ความจริงแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 77 จังหวัด ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566(ถึงวันเลือกตั้ง) แบ่งเป็นเพศชาย 25,136,051 คน และเพศหญิง 27,150,994 คน รวมจำนวน 52,287,045 คน แปลกใจว่า สำนักซูเปอร์โพลเอาตัวเลขประชากรถึง 53,094,778 คน มาจากไหน ทุกคนอ่านไม่ผิด ห้าสิบสามล้านกว่าคน ไม่ใช่ห้าสินสองล้านกว่าคน ถึงเป็นข้อพิรุธ ตัวเลขประชากรก็ไม่ตรงตามความเป็นจริง สะท้อนถึงการจัดเก็บตัวอย่างข้อมูล 6,073 ตัวอย่าง ใช้วิธีเก็บอย่างไร แพลตฟอร์มใด ชี้นำหรือไม่ ซึ่งผลโพลออกมา จึงเป็นผลโพล ค่อนข้างคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริง ไม่ถูกต้องตามหลักวิจัย ส่วนผลโพล ประชาชนมาใช้สิทธิ์หรือจะไม่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตรงนี้ เป็นหน้าที่ของพลเมืองและ กกต.จะต้องออกไปรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้ง ผลสรุปจึงยังไม่แน่นอน เพราะประชาชนผู้สิทธิเลือกตั้งตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น สนใจการเมืองมากขึ้น มีผลต่อปากท้องต่อนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ อันมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่าให้ผลโพลต่างๆ เป็นหมอเดา ชี้นำพี่น้องประชาชน