“ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ นโยบายปฎิรูปกองทัพ ยกเลิกเกณฑ์ทหาร เปลี่ยนเป็นภาคสมัครใจ “พรรคพลัง”-“พรรคก้าวไกล” เป็นนโยบายที่สามารถทำได้ ไม่กระทบต่อความมั่นคง
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566 จากกรณีพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายรูปกองทัพ มีอยู่ 2 พรรคการเมืองที่น่าสนใจ ได้แก่ “พรรคพลัง”และ“พรรคก้าวไกล” โดยพรรคพลัง เบอร์ 9 ปล่อยกระแสนโยบาย ปฎิรูปกองทัพ ยกเลิกทหารยศนายพล ไม่มีรัฐประหาร ลดภาระค่าใช้จ่าย ส่วนพรรคก้าวไกล เบอร์ 31 เสนอนโยบาย ยกเลิกเกณฑ์ทหาร เป็นแคมเปญหาเสียงทั้งสองพรรค ที่กระแสประชาชนพูดถึงมากที่สุดโดยเฉพาะพรรคพลัง เป็นพรรคการเมืองใหม่ ที่ดวงเฮง จับ ปาร์ตี้ลิสต์ หมายเลข 9 เป็นเลขมงคล ที่ทุกพรรคการเมือง จะคว้าเบอร์ 9 มาครอง เป็นการแจ้งเกิดพรรคพลังในสนามเลือกตั้งครั้งแรกโดยการนำของ นายลิขสิทธิ์ ใสกระจ่าง หัวหน้าพรรคพลัง ต่อมาพรรคพลังได้ปล่อยนโยบาย 46 ข้อ ทำให้เกิดกระแสความสนใจในประเด็นปฎิรูปกองทัพ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ”ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดัง ให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนแก่ประชาชนว่า แนวคิดปฎิรูปกองทัพ ยกเลิกทหารชั้นยศนายพล ลดภาระค่าใช้จ่าย ของพรรคพลัง ได้เคยเกิดในครั้งช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยคณะราษฎรณ์ พลเอกพหลพลพยุหเสนา นายรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศ โดยยกเลิกทหารบกชั้นนายพลทหารบก ลดกำลังพล ทำให้เหลือทหารบก ยศชั้นสูงสุด คือ พันเอก เพื่อป้องกันการรัฐประหาร ตรงนี้ นโยบายดังกล่าว เป็นประโยชน์ในแง่ลดภาระภาษีพี่น้องประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ ทำให้ทหารยศชั้นนายพลจำนวนมาก ไม่ได้คุมกำลังหลัก ภาษาชาวบ้าน คือ ตำแหน่งลอย แนวคิดนโยบายนี้ของพรรคพลังไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ โดยการตรายกเลิกโดยกฎหมาย ปัจจุบันจะเห็นว่า สงครามแทบไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยจะมีเพียงสงครามโลกไซเบอร์ สงครามข่าวสาร โดยให้รัฐนำนวัตรกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทดแทน จะเห็นได้จาก สิ่งที่เห็นได้ชัดว่า ซื้อเรือดำน้ำ ยุทธโธปกรณ์ทางทหาร เกินขีดความจำเป็น ทำให้สูญสิ้นงบประมาณมหาศาล การยกเลิกทหารชั้นยศนายพล จะทำให้ลดกำลังพล ลดงาบประมาณของรัญ ที่สำคัญ โอกาสเกิดรัฐประหารเกิดขึ้นน้อยมาก หากดูสถิติการรัฐประหารที่ผ่านมาเกิดจากทหารระดับพลเอก เป็นแกนนำหลักในการรัฐประหาร ดังนั้น แนวคิดยกเลิกทหารระดับชั้นยศนายพล ลดกำลังพล จะทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายกองทัพ ภาษีนั้นจะไปกระจายไปด้านเศรษฐกิจปากท้องพี่น้องประชาชน ดังนั้น ในมุมมองส่วนตัวเห็นด้วยกับพรรคพลัง ลดกำลังพล ไม่กระทบต่อระบบความมั่นคงรัฐ
ส่วนการยกเลิกเกณฑ์ทหารของพรรคพลังและพรรคก้าวไกล เปลี่ยนเป็นระบบภาคสมัครใจ ไม่ได้หมายความว่า ยกเลิกทหารเกณฑ์ไปเลย พลเมืองไทยอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องไปตรวจคัดเลือกทหาร หากเปลี่ยนเป็นสมัครใจโดยสวัสดิการและเพิ่มค่าตอบแทน จะสร้างแรงจูงใจในการสมัครรับใช้ชาติ ตรงนี้ ไม่กระทบต่อความมั่นคง ตรงนี้ควรแยก ระหว่างนโยบายหาเสียง ยกเลิกเกณฑ์ทหารกับการแก้ไขมาตรา 112 เท่าที่ดูนโยบายพรรคพลัง 46 ข้อ ไม่ได้เสนอนโยบายยกเลิกแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่วนพรรคก้าวไกล ยังมีแนวคิดปรับปรุงแก้ไขมาตรา 112 โดยกำหนดโทษเบาขึ้น ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อสถาบัน ตนเคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าไม่เห็นด้วยและเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมโทษให้หนัก เพราะการกระทำของบุคคลเพียงกลุ่มเดียว การปฏิรูปกองทัพโดยการยกเลิกทหารยศนายพลก็ดี การยกเลิกการเกณฑ์ทหารก็ดี ที่นโยบายหาเสียงทั้งพรรคพลังและพรรคก้าวไกล จะต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารฉบับใหม่ แต่ทั้งนี้ ทั้งพรรคพลัง พรรคก้าวไกล จะต้องเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาล ถึงจะผลักดันนโยบายนี้ได้ ส่วนที่นายรังสิมันต์ โรม ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โดยเสนอเหตุผลในการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ลดกำลังพล เพิ่มสวัสดิการและเพิ่มเงินเดือน เพิ่มสวัสดิการให้ผู้ประสงค์จะเป็นทหารและให้ทหารเกณฑ์เติบโตในสายงานและทดสอบความรู้ทุก 5 ปี ตรงนี้ เท่าดูเหตุผลของนายลิขสิทธิ์ ใสกระจ่าง หัวหน้าพรรคพลังและผู้สมัคร ส.ส.มีเหตุผลทำนองเดียวกัน แนวทางการปฎิรูปกองทัพ ลดกำลังพล จึงเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งไม่กระทบความมั่นคงชายแดน ดังจะเห็นได้จากนโยบายของพรรคพลังที่ปล่อยออกมา เสนอเพิ่มเงินเดือนทหารพราน 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ประชาชนรู้ว่า ความเสี่ยงภัยชายแดน หลุมระเบิด พรรคพลังให้ความสำคัญต่อรั้วชายแดนของชาติ จะเห็นว่า ปฎิรูปและสนับสนุนกองทัพในคราวเดียวกัน
ส่วนที่นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟชบุ๊กในหัวข้อ เกณฑ์ทหาร ทำไม ตรงนี้ นายนันทิวัฒน์ฯวิเคราะห์แง่มุมเดียว แต่ไม่ได้พูดถึงเหตุผล หากยกเลิกเกณฑ์ทหารแล้ว มีช่องทางใดทดแทน หรือยกเลิกไปทันที ทำให้ประชาชนสับสนว่า ยกเลิกเกณฑ์ทหาร แต่พูดไม่หมดว่า ทั้งพรรคพลังและพรรคก้าวไกล ใช้ระบบจากบังคับเด็ดขาด มาเป็นภาคสมัครใจ มีผลให้ผู้ที่ไม่ไปเกณฑ์ทหารไม่ได้รับโทษทางอาญา
ทั้งกรณีนายชัยวุฒิ ธนาขมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พูดถึงจุดยืนทางการเมือง ย้ำ พปชร.ไม่ร่วมพรรคแก้มาตรา 112 -ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ทำให้อุณหภูมิทางการเมืองร้อนฉ่าขึ้นทันที “ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชน กล่าวว่า ผลการเลือกตั้ง ต้องรอไปดูของจริงว่า พรรคพลังประชารัฐได้กี่เสียง พรรคพลังได้กี่เสียงและพรรคก้าวไกล ได้กี่เสียง นายชัยวุฒิฯ อาจลืมไปว่า ในสมัยปี 2512 มีพรรคการเมืองทหาร พรรคสหประชาไท ก่อตั้งโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ก็ล่มสลาย สมัยปี2534 พรรคสามัคคีธรรม ก่อตั้งนายณรงค์ วงศ์วรรณ ก็ล่มสลาย เพราะทั้งสองพรรคนี้ ตั้งมาเพื่อรองรับการสืบทอดอำนาจทหาร ไม่ต่างจากพรรคพลังประชารัฐ การจับมือตั้งรัฐบาล เป็นมรรยาทางการเมืองและจะทราบผลเมื่อ กกต.ประกาศรับรองผลแล้ว แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาล แต่เป็นประเพณีการปกครองให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาลก่อน หากจัดตั้งไม่ได้ให้พรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้น นายชัยวุฒิฯ อย่าเพิ่งปากไว เดี๋ยวร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่าจะออกมาสวนเหมือนการจับมือกับพรรคเพื่อไทย กรณีของนายไพบูลย์ นิติตะวัน แนะนำว่า ควรไปหารือภายในพรรคและไปหาเสียงให้พรรคคว้าที่นั่งให้ได้เกิน 25 ที่นั่งก่อน