xs
xsm
sm
md
lg

ทส.เปิดงาน “วันน้ำบาดาลแห่งชาติ” ภายใต้แนวคิด “รวมใจภักดิ์ รักษ์น้ำบาดาล” รำลึกและสืบสานพระราชปณิธานร่วมดูแล รักษา ปกป้องน้ำบาดาลให้เกิดความยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 3 เม.ย.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ร่วมกับกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล จัดงาน “วันน้ำบาดาลแห่งชาติ” ภายใต้แนวคิด “รวมใจภักดิ์ รักษ์น้ำบาดาล” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาล สร้างการรับรู้ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของวันที่ 3 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันน้ำบาดาลแห่งชาติ มีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส.เป็นประธานเปิดงานวันน้ำบาดาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมผู้บริหาร ทส. ผู้บริหารกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายน้ำบาดาล รวมถึงข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง

นายจตุพร กล่าวว่า น้ำบาดาล มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร จากข้อมูลแหล่งน้ำบาดาลในประเทศไทยมีแอ่งน้ำบาดาลทั่วประเทศ จำนวน 27 แอ่ง รวมปริมาณน้ำบาดาลกว่า 1.1 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ถือได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลปริมาณมากเพียงพอ สามารถนำมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ตอบสนองความต้องการใช้น้ำบาดาลของประชาชนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ด้านนายธัญญา กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 3 เม.ย.ของทุกปี เป็น “วันน้ำบาดาลแห่งชาติ” (National Groundwater Day) สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 3 เม.ย.2565เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านปากชัดหนองบัว หมู่ที่ 2 ต.หนองฝ้าย อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นการกำหนดวันในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาล และร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานในการร่วมกันดูแล รักษา ปกป้องทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

ทั้งนี้ในงานมีการประกาศผลการตัดสินเพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่เครือข่ายน้ำบาดาลดีเด่น 4 ประเภท มีดังนี้

1)ประเภทสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด(ทสจ.) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ทสจ.ในพื้นที่เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล ได้แก่ ทสจ.สมุทรสาคร, ทสจ.ที่จัดเก็บรายได้ค่าใช้น้ำบาดาลและ ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล 10,000,001 บาท ขึ้นไป ได้แก่ ทสจ.สระบุรี, ทสจ.ที่จัดเก็บรายได้ค่าใช้น้ำบาดาลและ ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล 5,000,000-10,000,000 บาท ได้แก่ ทสจ.ลำพูน,ทสจ.ที่จัดเก็บรายได้ค่าใช้น้ำบาดาลและ ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล 2,000,000-5,000,000 บาท ได้แก่ ทสจ.ตราด,ทสจ.ที่จัดเก็บรายได้ค่าใช้น้ำบาดาลและ ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล น้อยกว่า 2,000,000 บาท ได้แก่ ทสจ.สตูล

2) ประเภทพื้นที่ต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำบาดาลดีเด่น จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่

- โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการศึกษาสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกในสภาพพื้นที่หินแปร เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สนับสนุนการอุปโภคบริโภค ต.หนองฝ้าย อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

- โครงการศึกษานำร่องรูปแบบระบบส่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในพื้นที่ขอบแอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ 300 ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง ต.ทะเลวังวัด อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต.กุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 300 ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ต.โบสถ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จ.ตรัง

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ (โครงการตามมาตรการสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2563/2564) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่หาน้ำยาก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

- โครงการศึกษาพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ ภายใต้โครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ ในฤดูฝน ปี 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต.หนองเป็ด อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร

- โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ต.เขามีเกียรติ อ.สะเดา จ.สงขลา

3) ประเภทกลุ่มผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลภาคเอกชน จำนวน 3 บริษัท

- ธุรกิจขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำตามใบอนุญาต ตั้งแต่ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขึ้นไป ได้แก่ บริษัท ปทุมธานี บริวเวอรี่ จำกัด

- ธุรกิจขนาดกลาง มีปริมาณน้ำตามใบอนุญาต ตั้งแต่ 1,000 ถึง 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่ บริษัท ทีทีซี น้ำดื่มสยาม จำกัด

- ธุรกิจขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำตามใบอนุญาต น้อยกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่ บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด

4) ประเภทช่างเจาะน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 12 ราย ได้แก่ นายทองสุข คานจันทึก ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4/หัวหน้า สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1 (ลำปาง) นายสุธินทร์ ศรีจันทร์ ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) นายปรีชา สีหอม ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 3 (สระบุรี) นายวิชัย หาญรบ ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4/หัวหน้า สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 4 (ขอนแก่น) นายเกียรติศักดิ์ ไกรมณี ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 5 (นครราชสีมา) นายทวิชัย จันทร์เลื่อน ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) นายมงคล บุญสืบ ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 7 (กำแพงเพชร) นายไชยา วงษ์เอี่ยม ช่างเจาะบ่อบาดาล ช3 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 8 (ราชบุรี) นายเสน่ห์ แก้วคำมี ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 9 (ระยอง) นายประจักษ์ พิมสะกะ ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 (อุดรธานี) นายคมเพชรรัตน์ พันธ์พิบูลย์ ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 11 (อุบลราชธานี) และนายนิพัฒ นะสุวรรณโน ช่างเจาะบ่อบาดาล ช4 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 (สงขลา)


















กำลังโหลดความคิดเห็น