"อนันต์ชัย ไชยเดช" ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม จัดประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/66 พร้อมเปิดตัวมูลนิธิทนายกองทัพธรรมอย่างเป็นทางการ พร้อมตั้งเป้าหมายช่วยเหลือพระสงฆ์ ที่ถูกกลั้นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม ล่าสุดมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังมูลนิธิแล้ว32 คดี
วันนี้( 19 มี.ค.) ที่ห้องประชุม อมรพงษ์มงคล วิเศษธรรมกุล ศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม เขตสาทร กทม. นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม จัดประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/66 พร้อมเปิดตัวมูลนิธิทนายกองทัพธรรมอย่างเป็นทางการ
โดยมีคณะผู้บริหาร มูลนิธิทนายกองทัพธรรม ร่วมด้วย อาทิ รองประธาน เลขาธิการ กรรมการ และ ผู้อำนวยผู้อำนวยการมูลนิธิ ตลอดจน ทนายความ ในสังกัดกว่า 100 ชีวิต ร่วมประชุมเพื่อติดตามผลงาน และ วางแนวทางการทำงาน ซึ่งมี พระธรรมวชิระเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์ เป็นประธานคณะสงฆ์ ในพิธีทางศาสนาเพื่อเสริมความสิริมงคล ก่อนเริ่มการประชุมคณะทำงาน
นายอนันต์ชัย กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของมูลนิธิทนายกองทัพธรรม มาจากกรณี การถูกกระทำที่ไม่เหมาะสมเชิงคุกคามศาสนา จากกลุ่มหมอปลาและนักข่าวกลุ่มนึง ที่กระทำกับ หลวงปู่แสง ที่ชราภาพ เมื่อเดือน พ.ค.65 ที่ผ่านมา
โดยการกระทำดังกล่าว ทำให้ ตัดสินใจออกมาปกป้อง หลวงปู่แสง พระเกจิชื่อดัง จากกลุ่มที่กระทำไม่เหมาะสมดังกล่าว เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งพุทธศาสนา และเรัยกร้องความเป็นธรรมให้กับหลวงปู่
การเดินหน้าปกป้องพุทธศาสนาในครั้งนั้น ตนเรียกแนวทางปฏิบัติทางกฎหมายว่า กองทัพธรรมปกป้องศาสนา ที่เกิดจากตนเองและคณะทำงานจำนวนไม่กี่คน แต่หลังเหตุการณ์นั้น พบว่า มีนักฎหมายสายพุทธศาสนา และ สายปฏิบัติธรรม ที่มีเจตจำนงค์และอุดมการณ์เดียวกัน ออกมาแสดงความต้องการ เดินหน้าปกป้องพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 500 คน ทั้ง ทนายรุ่นใหม่ และ รุ่นใหญ่ ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ จึงจดทะเบียนจัดตั้ง"มูลนิธิทนายกองทัพธรรม" เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 และร่วมกันเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ พุทธสถาน พระภิกษุสงฆ์ หรือ พุทธศาสนิกชน ที่ถูกกลุ่มคนไม่ดี ใช้พระพุทธศาสนา มากระทำให้เกิดความเสียหายอย่างไม่เป็นธรรม
"สำหรับผลงานทวงความยุติธรรมของ ทนายกองทัพธรรม ยังมีคนดี เดินหน้าฟ้อง หมอปลา และ ทนายไพศาล กรณีกล่าวหา พระเทพวรมุณีปมก่อสร้างวัดมรุกขนคร จ.นครพนม หลังขึ้นศาล ทั้งสองได้ขอไกล่เกลี่ย จนในที่สุด ตัดสินใจเข้ากราบขอคมาในสิ่งที่ทำลงไปกับ พระเทพวรมุณี ต่อหน้าสื่อ 46 สำนัก วันที่ 1 พ.ค.นี้ นี่คือบทเรียนของผู้กระทำไม่เหมาะกับพุทธศาสนา"
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิช่วงปลายปี 65 จนถึงขณะนี้ มีสมาชิกทั้งหมด 564 คน แบ่งเป็น ทนายความ 341 คน พระสงฆ์ 91 รูป และประชาชน 132 คน สามารถดำเนินการเรียกร้องความยุติธรรมไปแล้ว 32 คดี และ ในปีนี้ จะเดินหน้าช่วยเหลือผู้ถูกกระทำต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ที่ได้รับการร้องเรียนอย่างเข้มข้นต่อไป