“สถานทูตฯ-ศุลกากรจีน” พบยอดส่งออกชิ้นส่วนไก่จาก บ.ไทยแห่งหนึ่งสูงผิดปกติ แถมมี “กึ๋น” ส่งออกโผล่ในชื่อ บ.เดียวกันด้วย ไล่เช็ค รง.ยันผลิตตามจำนวน-ไม่มีกึ๋น คนในวงการคาดมีแก๊งสวมสิทธิ์แต่เชื่อไม่รอดหูตา “ก.ปศุสัตว์” เว้นแต่จะรู้เห็นเป็นใจ ท่ามกลางกระแสข่าว “บิ๊ก ขรก.” ทำธุรกิจส่งออกไก่เป็นล่ำเป็นสัน จี้ “กรมปศุสัตว์” ต้องมีคำตอบ พร้อมสะกิด กลต.-ตร.ปอศ.ตรวจสอบด่วน หวั่นกระทบการส่งออกไปจีน
รายงานข่าวจากวงการธุรกิจส่งออกไก่และชิ้นส่วนไก่แจ้งว่า ขณะนี้สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และสำนักงานศุลกากร สาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ได้พบความผิดปกติในส่วนของกำลังการผลิตของโรงงานที่ผ่านการรับรองให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกเนื้อสัตว์ปีก และชิ้นส่วนสัตว์ปีกส่งออกไปยังประเทศจีน โดยจากการตรวจสอบกำลังการผลิตย้อนหลัง 4 เดือน จนถึงปัจจุบัน มียอดการส่งออกขาไก่ไปยังประเทศจีนแบบก้าวกระโดดจนเป็นที่ผิดสังเกต ซึ่งฝ่ายจีนขอให้ชี้แจงอย่างละเอียดถึงแหล่งที่มาของการส่งออกขาไก่ จากกำลังการผลิตสูงสุดต่อเดือนที่กำหนดอยู่ที่ 300 ตัน และในระหว่างการตรวจสอบสถานที่ประกอบการจริงด้วยการวีดีทัศน์ ฝ่ายจีนได้สอบถามเพื่อให้ทางโรงงานดังกล่าวหลายครั้งว่า มีสินค้ากึ๋นไก่จากบริษัทส่งมายังประเทศจีนหรือไม่ ซึ่งทางบริษัทเองยืนยันว่าไม่มีการส่งกึ๋นมายังประเทศจีน
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ภายหลังจากที่เรื่องดังกล่าวเผยแพร่ในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกไก่และชิ้นส่วนไก่ ก็ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีจบวนการสวมสิทธิ์ไก่ส่งออกไปประเทศจีนโดยที่ทางโรงงานดังกล่าวไม่รู้ตัวว่า สินค้าตัวเองโดนสวมสิทธิ์ อย่างไรก็ดีก็มีการตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า หากมีการสวมสิทธิ์จริง ตามกระบวนการก็ถือว่ามีขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารค่อนข่างรัดกุม อาทิ หนังสืออนุญาตประกอบกิจการ (สพส.1), หนังสือรับรองการตรวจเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์เพื่อนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเทศ. (สพส.2) หรือหนังสือรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) หรือใบอนญุาตนาออกราชอาณาจกัรซึ่งสตัวห์รือซากสัตว์ (ใบ ร.9) รวมไปถึงการตรวจสอบจำนวนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าส่งออก เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ขั้นตอนต่างๆ อยู่ในการกำกับของกรมปศุสัตว์
“หากมีการดำเนินการตามขขั้นตอนจริง ก็ตรวจสอบไม่ยากว่า มีการสวมสิทธิ์การส่งออกหรือไม่ เพราะเรื่องพวกนี้ ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่ภายในรู้เห็นเป็นใจ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ เพราะจะถูกล็อกระบบไว้ตั้งแต่หมอโรงงานในการทำใบ สพส. ยังมีขั้นตอนอื่นๆอีกเยอะ” แหล่งข่าวในแวดวงธุรกิจส่งออกไก่ ระบุ
รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า ในรอบปีกว่าๆ ที่ผ่านมาภายหลังทางการจีนผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 และอนุญาตให้มีการนำเข้าชิ้นส่วนไก่จากไทยเพิ่มขึ้นตามลำดับพบว่า เมื่อฝ่ายจีนมีการตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติในโรงงานใดของไทย โรงงานอื่นๆ ก็จะถูกสั่งระงับการผลิตเพื่อทำการตรวจสอบในทันที แต่กรณีล่าสุดกลับไม่มีคำสั่งระงับการผลิตแต่อย่างใด ทั้งๆที่เป็นกรณีที่เทียบเคียงกันได้ และมีการแจ้งเป็นลายลักษรณือักษรจากฝ่ายจีนมาด้วย
แหล่งข่าวในแวดวงธุรกิจส่งออกไก่ กล่าวเสริมว่า โรงงานที่กำลังถูกทางจีนตรวจสอบเป็นโรงงานของบริษัทจดทะเบียนในตลากหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อมีข้อสงสัยจากคู่ค้าต่างประเทศลักษณะดังกล่าว ทางบริษัทฯก็จำเป็นที่จะต้องชี้แจงต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) โดยละเอียดว่า การที่มีปริมานไก่ส่งออกเพิ่มผิดปกตินั้นเกิดขึ้นจากอะไร นำวัตถุดิบมาจากไหน ทั้งๆที่มีปริมานการเชือดยังเท่าเดิม รวมทั้งกรณี กิ๋น ที่เป็นสินค้าใหม่ ซึ่งทางบริษัทฯเองก็ยืนยันกับทางจีนว่า ไม่มีการผลิตกึ๋น ในทางกลับกับหากทางบริษัทฯ ยืนยันว่า ไม่ได้ส่งออกเกินปริมาณการผลิตของตัวเอง รวมทั้งไม่ได้ผลิตกิ๋น เรื่องนี้ก็เป็นหน้าที่ของ กรมปศุสัตว์ ในการแสวงความจริงที่เกิดขึ้น เพราะเสียหายต่อภาพรวมของการส่งออกไก่ รวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรไปยังประเทศจีน
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า กรมปศุสัตว์ ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะโดยระบบมาตรฐานและระเบียบของกรมปศุสัตว์แล้ว เป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะตรวจสอบไม่ความผิดปกติ ตั้งแต่ขั้นตอนหมอโรงงาน, ห้อง Health Certificate, หัวหน้าห้อง helth certificateไปจนถึงคนส่ง Electronic Health Certificate ซึ่งเป็นการส่งอีเมลจากทาง กรมปศุสัตว์ โดยที่ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน เป็นทางกรมปศุสัตว์ ที่ส่งเข้าไป เรื่องนี้ กรมปศุสัตว์ จึงปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ที่สำคัญ กรมปศุสัตว์ จะมาอ้างแบบเดิมว่า เป็นการกระทำมาจากทางฝั่งจีน ไม่ได้เกิดจากฝั่งไทยคงไม่ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่า ในกรมศุลกากร และด่านฝั่งขาออก มีบันทึกจากใบ ร.9 กับเลขตู้คอนเทนเนอร์ หากมีการตรวจสอบจริงๆ คงพบต้นตอไม่ยาก เรื่องนี้อาจต้องต้องให้ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เข้าไปตรวจสอบ
“การที่กระบวนการต่างๆต้องผ่านกรมปศุสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ก็ทำให้มีการพูดไปกันว่า ต้องมีข้าราชการรู้เห็นเป็นใจ และยิ่งเพิ่มน้ำหนักกระแสข่าวที่ว่า มีข้าราชการระดับอธิบดีคนหนึ่งประกอบธุรกิจส่งออกไก่ไปยังประเทศจีน เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้กระทบกับการส่งออกสินค้าไปยังจีน รวมทั้งต้องกวาดล้างขบวนการเลียเจ้านายจนได้เรื่องด้วย” แหล่งข่าวในแวดวงธุรกิจส่งออกไก่ กล่าว.