กระทรวงคมนาคม ชี้แจงกรณี “ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์” ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ตรวจสอบกรณีการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก เพื่อการบริหารงบประมาณจากเงินภาษีอากรอย่างคุ้มค่า
วันนี้ (26 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า กรณี นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ยื่นหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ตรวจสอบกรณีการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการรถฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตกเพื่อการบริหารงบประมาณจากเงินภาษีอากรอย่างคุ้มค่า โดยในข้อที่ 6 ได้พาดพิงถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่าไม่ใช้อำนาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 เพื่อยับยั้งการกระทำที่เกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนนั้น: กระทรวงคมนาคมขอเรียนชี้แจงข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก ซึ่งเป็นโครงการที่นายชูวิทย์ฯ พาดพิงถึงกระทรวงคมนาคมนั้น เป็นโครงการของการรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ให้เอกชนร่วมลงทุนซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะ กล่าวคือพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ) ส่วนอำนาจในการกำกับควบคุมของกระทรวงคมนาคม ตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ที่นายชูวิทย์ฯ อ้างถึงนั้นเป็นอำนาจในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานซึ่งเป็นการกำกับโดยทั่ วไปซึ่ งกิจการของ รฟม.โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่าการที่กระทรวงคมนาคมจะยับยั้งการกระทำของ รฟม. ได้ จะต้องเป็นการกระทำที่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
2. ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ฟม. ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ว่าด้วยกระบวนการ และขั้นตอนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเป็นลำดับมาโดยตลอด
ทั้งนี้ สถานะปัจจุบันของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนตามมาตรา 36-39 ซึ่งกำหนดให้ รฟม. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกขึ้นมาคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของ รฟม. ผู้ทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ในการดำเนินกระบวนการคัดเลือกเอกชนไว้เป็นลำดับ โดยที่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุให้กระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ หรือมีอำนาจในการกำกับดูแลขั้นตอนและกระบวนการคัดเลือกเอกชนไว้ จึงถือว่าเป็นอำนาจ ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยแท้ที่จะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการตามที่ กฎหมายกำหนด และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกแล้วเสร็จ ในมาตรา 41แห่ง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ กำหนดให้ รฟม. จัดส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุนอีกครั้ง จึงจะสามารถสนอผลการคัดเลือกเอกชน และร่งสัญญาร่วมลงทุนให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42
3. ด้วยเหตุดังกล่าว จากขั้นตอน แลกระบวนการของกฎหมายที่กำหนดไว้โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ กระทรวงคมนาคมจะมีหน้าที่และอำนาจเข้าไปพิจารณาได้เฉพาะในขั้นตอนพิจารณาผลการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนตามมาตรา 42 เท่านั้ น โดยกระทรวงคมนาคมไม่สามารถดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนในขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เลย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สถานการณ์ดำเนินการคัดเลือกเอกชนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ความเข้าใจของนายชูวิทย์ฯ ในประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจของกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับการคัดเลือกของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง
ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงคมนาคมใคร่ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า กระบวนการคัดเลือกเอกชน ตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นกระบวนการที่มีกฎหมายกำหนดกรอบอำนาจ สิทธิ หน้าที่ และขั้นตอนของผู้เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะ ส่วนอำนาจในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติการรถฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 นั้น กระทรวงคมนาคม มีเพียงอำนาจในการกำกับดูแลกิจการของ รฟม. ในกิจการทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปแทรกแซงกระบวนการที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะได้ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงขอยืนยันว่าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้ม กระทรวงคมนาคมปฏิบัติตามกรอบหน้าที่ และอำนาจตามกฎหมายไว้อย่างครบถ้วนแล้ว โดยในขั้นตอนใดที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจกระทรวงคมนาคมไว้ กระทรวงคมนาคมก็ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมพร้อมให้ทุกฝ่ายตรวจสอบการปฏิบัติงานของกระทรวงคมนาคมได้อย่างเต็มที่