xs
xsm
sm
md
lg

มท.ชู “เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” มูลค่า 7.4 พันล้าน เป็น 1 ในภารกิจสำคัญ ปี 66 เคาะ 32 พื้นที่แรก 13 จังหวัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาดไทย เวียนนโยบาย “เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” 7,435.2 ล้าน เป็น 1 ในภารกิจสำคัญ สั่งพ่อเมือง-ฝ่ายบริหาร เร่งขับเคลื่อน/ติดตาม จ่อพัฒนาเมือง 13 จังหวัด 32 แห่ง ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) เฉพาะปี 66 สนับสนุนวางผังเมือง 120 ผัง จัดรูปที่ดิน 1,476 ไร่

วันนี้ (28 พ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย เวียนหนังสือแจ้งภารกิจสำคัญ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 20 ด้าน ให้กับฝ่ายบริหาร ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ

โดยพบว่า 1 ในภารกิจสำคัญ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 13 จังหวัด 32 แห่ง เพื่อให้เร่งขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)

เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 15 พื้นที่ ใน 14 จังหวัด ประกอบด้วย

1) นครระยองเมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ จ.ระยอง 2) คันทรงโมเดล เมืองแห่งความสุขที่พึงประสงค์และสังคมแห่งการแบ่งปัน จ.ชลบุรี 3) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของพื้นที่ใน จ.พิษณุโลก

4) โครงการพิษณุโลกนครอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จ.พิษณุโลก 5) นครเชียงรายสู่เมืองอัจฉริยะ 6) เมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ จ.น่าน 7) โคราชเมืองอัจฉริยะ จ.นครราชสีมา

8) Smart City อุบลราชธานี 9) กระบี่เมืองอัจฉริยะ 10) พังงาสู่เมืองอัจฉริยะ 11) Satun Smart City จ.สตูล

12) พัฒนาเทศบาลนครเกาะสมุย สู่เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน จ.สุราษฎร์ธานี 13) หาดใหญ่เมืองอัจฉริยะสีเขียว จ.สงขลา 14) ปัตตานีเมืองอัจฉริยะ และ 15) เมืองสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์นราธิวาส

ส่งผลให้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะ รวม 30 พื้นที่ ใน 23 จังหวัด โดยคาดว่า จะเกิดโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ จากภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท

ที่ผ่านมา คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้เห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2561-2565 จำนวน 6 เมือง

ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชียงใหม่ ขอนแก่น เมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สงขลา และภูเก็ต และปี 2566-2570 จำนวน 7 เมือง ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก นครราชสีมา หนองคาย และมุกดาหาร”

1) กทม.และปริมณฑล 38 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 38 แห่ง

2) เชียงใหม่ 10 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 9 แห่ง และโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 1 แห่ง

3) ขอนแก่น 16 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 13 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 1 แห่ง และโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 2 แห่ง

4) เมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 31 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 8 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 11 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 5 แห่ง โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 3 แห่ง โครงการที่ดินที่ได้รับการจัดรูปเพื่อพัฒนา 1 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง

5) สงขลา 18 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 7 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 4 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 3 แห่ง โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 2 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่ง

6) ภูเก็ต 3 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 1 แห่ง และโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 2 แห่ง

7) เชียงราย 51 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 20 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 20 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 7 แห่ง โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 2 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่ง

8) กาญจนบุรี 28 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 21 แห่งโครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 3 แห่ง โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 3 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 1 แห่ง

9) พระนครศรีอยุธยา 18 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 17 แห่ง และโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 1 แห่ง

10) พิษณุโลก 20 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 14 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 5 แห่งและโครงการที่ดินที่ได้รับการจัดรูปเพื่อพัฒนา 1 แห่ง

11) นครราชสีมา 15 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 9 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 4 แห่ง และโครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 2 แห่ง

12) หนองคาย 47 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 6 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 37 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 2 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่ง

13) มุกดาหาร 27 แห่ง ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ 6 แห่ง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 19 แห่ง โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง 1 แห่ง และโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 1 แห่ง

ขณะเดียวกัน ยังให้ขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามร่างคู่มือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่น เพื่อให้ อปท.นําไปศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง จํานวน 12 แห่ง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) ปีงประมาณ 2566 รัฐบาล จัดสรรงประมาณ เพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ วงเงิน 7,435.2 ล้านบาท โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 120 ผัง และจัดรูปที่ดิน 1,476 ไร่


กำลังโหลดความคิดเห็น