อจ.ภาควิชาวิศวกรรมการบิน เทคโนฯลาดกระบัง แจง 2 เหตุผล หนุนควบรวมทรู-ดีแทค ระบุประกาศ กสทช.ปี 61 ไม่ต้องขออนุญาตจาก กสทช. เพียงรายงานให้ทราบเท่านั้น พร้อมให้ กสทช.ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันในตลาดและดูแลไม่ให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์
วันนี้(8 ต.ค.)ผศ.ดร.พัชรินทร์ คำสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบิน วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) POST Facebook สนับสนุน TRUE DTAC โพสต์เฟซบุ้กถึงการควบรวมกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ทรู-ดีแทค ว่า True x DTAC กับ 2 เหตุผลที่ควรสนับสนุนในการควบรวม ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้สรุปผลการตีความในอำนาจของ กสทช. ต่อเรื่องการควบรวมกิจการของ True-DTAC ซึ่งก็ได้คำตอบมาแปลความได้ว่า ดีลนี้ไม่ต้องขออนุญาตจาก กสทช. เพียงรายงานให้ทราบเท่านั้น โดยให้อิงจากประกาศ กสทช.ปี 2561 พร้อมให้ กสทช. ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันในตลาดและดูแลไม่ให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์เอาจริงๆ โดยส่วนตัวแล้วมองว่าเราควรสนับสนุนการควบรวมนี้เพราะ 2 เหตุผลคือ
1.ยิ่งควบรวมยิ่งช่วยให้ป้องกันการผูกขาด ต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ทั้งค่าประมูลคลื่นความถี่ ทั้งการลงทุนด้านโครงข่ายสัญญาณต่าง ๆ ที่ถือเป็นเหตุผลหลักที่จำกัดผู้เล่นในตลาด จึงไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้ DTAC ไม่ค่อยลงทุนเรื่องโครงสร้างเทคโนโลยี 5G เพิ่มซักเท่าไหร่ แต่ถึงอย่างนั้นผลประกอบการของ DTAC ก็ยังไปได้ดี เพราะแนวโน้มการใช้ระบบสื่อสารมีมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม แต่ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมันก้าวไปไวเกินกว่าจะหยุดอยู่กับที่ได้ ในขณะที่ Operator เจ้าอื่นทำการขยายโครงข่าย และหาก DTAC ยังลุยเดี่ยวโดยไม่เร่งมือกับเรื่องเทคโนโลยี ก็เท่ากับเริ่มถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อยๆ การควบรวมกับ True จึงเป็นทางออกที่สมเหตุสมผล การรวมกันจะทำให้ True-DTAC ลดต้นทุนด้านโครงสร้างเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน รวมทั้ง ผนึกกำลังในการเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ความน่ากลัวที่ไม่ควรมองข้าม คือ หากไม่ส่งเสริมให้เกิดการควบรวม เท่ากับการหยุด หรือชะลอการขยายการลงทุนเพิ่มในโครงสร้างเทคโนโลยี 5G ของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่มีอยู่ไม่กี่เจ้าในเมืองไทย ซึ่งอาจจะได้เห็นการผูกขาดตลาดอย่างที่หลายคนกลัวว่าจะเกิดขึ้นจริง เพราะตลาด 5G จะตกอยู่กับ Operator บางรายเท่านั้น นอกจากนั้นการควบรวม True-DTAC และการ เห็นช่องทางการตลาดที่ชัดเจนก็ย่อมลงเม็ดเงินลงทุนอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ดังนั้น การควบรวมนอกจากจะหมายถึงการส่งเสริมการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการ ยังหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในด้านคุณภาพของเครือข่าย และมีผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
2.การควบรวมจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ เมื่อ True ควบรวมกับ DTAC จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์จากค่าบริการที่ลดลง ถึงแม้จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนด้านโครงสร้างเท่าเดิม เพราะเทคโนโลยี 5G สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้จำนวนมหาศาล ทำให้ลูกค้าโดยเฉพาะ DTAC จะได้มีโอกาสใช้บริการ 5G ที่ดีขึ้น และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น การควบรวมของทั้ง 2 ค่ายยังทำให้ได้คลื่นสัญญาณที่ครบทุกย่านความถี่ทำให้ลูกค้าสามารถได้รับบริการที่ครอบคลุมครบถ้วน และแน่นอนว่าด้วยเงินลงทุนที่มากขึ้นจากทั้ง True และ DTAC ต้องปรับตัวเข้าสู่การเป็น Tech Company เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากลูกค้าจะได้รับบริการที่ดีขึ้น การสร้างสรรนวัตกรรมและบริการดิจิทัลต่างๆ ย่อมดีขึ้นด้วย ซึ่งประโยชน์ก็จะตกกับผู้บริโภค หลังจากควบรวมแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด คือ มาตรการควบคุมของ กสทช. สิ่งที่จะช่วยรักษาผลประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา กสทช. ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี เราจะเห็นได้จากเศรษฐกิจปัจจุบันที่ราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาโปรโมชันมือถือที่ออกมาอย่างหลากหลายกลับมีราคาลดลง ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เกิดการควบรวมของบริษัทโทรคมนาคมไทย ผลประโยชน์ที่ได้รับอย่างมากมายน่าจะตกกับประเทศชาติและประชาชน
"ถึงจุดนี้คิดว่าเราคงไม่ต้องรอ เพราะทุกวินาทีคือโอกาสดี ๆ ที่เราจะได้รับ"ผศ.ดร.พัชรินทร์ ระบุทิ้งท้าย
#ควบรวมกิจการ #NBTC #true #dtac #AIS #JAS #3BB
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02qwqM7vzaWPhsVFAUsA7hmSfRM5K3R1arVedMCVx2bojG2aPs9gbvPbZk9QxCFZ1Sl&id=1089660392