xs
xsm
sm
md
lg

ปลัด มท.เปิดงานประกวด “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” รอบคัดเลือกภาคอีสาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดประกวด “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” รอบคัดเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สืบสานแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา

ที่โรงแรมมลฑาทิพย์ ฮอลล์ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระดับภาค พร้อมด้วยดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย โดยนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) กล่าวรายงานฯ และนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายกองเอกปราโมทย์ ธัญพืช นายวันชัย จันทร์พร นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว นายจำรัส กังน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นางจริญญา กังน้อย รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุดรธานี นางศุทธิกานต์ วงศ์สถิตจิรกาล รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ นายสรสาสน์ สีเพ็ง นายวสันต์ ชิงชนะ นายคมกริช ชินชนะผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายวรงค์ แสงเมือง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี นายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดขอนแก่นนายพงษ์ศักดิ์ คณะมะ พัฒนาการจังหวัดมหาสารคาม นายคมสิทธิ์ สุริยวรรณ พัฒนาการจังหวัดเลย นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร นายองอาจ ซองทุมมินทร์ พัฒนาการจังหวัดมุกดาหาร นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายอดุลย์ ดีอ้อมพัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ นายไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดหนองคาย นางสาวพุทธิมาลย์ เชียรพิมาย พัฒนาการจังหวัดยโสธร นางอรุณรัตน์ ชิงชนะพัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา นายชัยยงค์ ผ่องใส พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ นายเสฎฐชัย ยุทธเศรษฐสิริ พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู นางสาวจารุวรรณ คล่องตา ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด 20 จังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมในงานฯ และคณะกรรมการตัดสินการประกวด ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ระดับภาค อาทิ นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นางสาวศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระ นายศิริชัย ทหรานนท์ นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นายภูภวิศ กฤตพลนารา นายอนุชา ทีรคานนท์ นายนุวัฒน์ พรมจันทึกนายรวิเทพ มุสิกะปาน นายกรกลด คำสุข นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นางสาวแพรวา รุจิณรงค์ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ช่างต้นแบบสิ่งทอ กรมหม่อนไหม นางสาวริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริม ร่วมในพิธีเปิดฯ


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาของคนไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไป เยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2498 และได้ทอดพระเนตรเห็นราษฎรนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้มีพระราชดำริว่า ควรจะมีการนำภูมิปัญญาของราษฎร ที่ได้ทอผ้าไว้ใช้กันอยู่ มาพัฒนาเป็นอาชีพ สร้างรายได้ แก่พี่น้องประชาชน ซึ่งพระองค์ได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขึ้น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2519 เพื่อทำการฝึกอาชีพเสริมให้กับราษฎร และยังทรงมีพระประสงค์ เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย อีกทั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการผ้าไทยที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้มีพระดำริพระราชทานแก่วงการผ้าไทยว่า “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้ กลับเข้าสู่ชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค ทรงพระราชทานผ้าลาย “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 ณ วัดธาตุประสิทธิ์ และหอประชุมโรงเรียนนาหว้าพิทยาคม ตำบลนาหว้าอำเภอ นาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งงกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้สนองพระดำริฯ ด้วยการจัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ประจำปี 2565

ขออัญเชิญพระนิพนธ์จากหนังสือดอนกอย ความว่า “โครงการดอนกอยโมเดลสู่ตลาดสากล เป็นโครงการต้นแบบ ที่ข้าพเจ้าฯ ตั้งใจจะมอบแนวทางการพัฒนาชุมชนด้วยการนำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาต่อยอดภูมิปัญญาพื้นถิ่น ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านดอนกอยและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเป็นการจุดประกายความคิดและแรงบันดาลใจให้คนไทยได้รับรู้ว่า ทุกชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง เพียงเปิดใจให้กว้างเพื่อเรียนรู้และค้นพบประโยชน์จากสิ่งรอบตัวด้วยความเข้าใจจึงเป็นที่มาของ 'ดอนกอยโมเดล : ครามและสีย้อมธรรมชาติ สู่คอลเลคชั่นผ้าไทยร่วมสมัย' ที่ข้าพเจ้าคัดสรรองค์ความรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้ จุดประกายความคิดและแรงบันดาลใจ” ดังพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทางด้านการพัฒนาชุมชนที่ข้าพเจ้าตั้งมั่นที่จะสืบสานและต่อยอดพระองค์ท่านได้เคยตรัสกับข้าพเจ้าว่าคนไทยนี้มีสายเลือดของศิลปินอยู่ในตัวเอง หากเพียงได้รับคำชี้แนะ มอบโอกาสและการสนับสนุน ก็จะสามารถสร้างผลงานชิ้นเอก สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เป็นที่มาของชุมชนที่อยู่ดีกินดี ชีวิตมีสุขจากการพึ่งพาตนเอง และดำเนินชีวิตได้อย่างภาคภูมิ แสดงให้เห็นว่า ต้นแบบการพัฒนาชุมชนด้วยการนำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้และอย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นที่ประจักษ์ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าว


นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า ตามที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” โดยได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทยให้มีความร่วมสมัยและเมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรก ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 ณ วัดธาตุประสิทธิ์ และหอประชุมโรงเรียนนาหว้าพิทยาคม ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้พระราชทานผ้าลาย “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” แก่กลุ่มทอผ้าทั่วประเทศ ผ่านปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเป็นการต่อยอด การพัฒนาผ้าลายพระราชทาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการส่งมอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้กับกลุ่มทอผ้าใน 76 จังหวัด เพื่อนำไปเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอด ไปสู่เครื่องแต่งกาย ของใช้ ของประดับตกแต่ง ตามวิถีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะหัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับเข้าสู่ชุมชน


กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระดับภาค กิจกรรมที่ 2 บันทึกและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานผ้าและงานหัตถกรรมที่ได้รับการคัดเลือก และกิจกรรมที่ 3 ติดตามสนับสนุนผู้ประกอบการผ้าไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์


โครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน – 19 สิงหาคม 2565 ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอทั่วประเทศ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ในพื้นที่ภูมิลำเนาของผู้สมัคร ทั้งนี้ มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด จำนวน 2,836 ผืน และงานหัตถกรรม จำนวน 283 ชิ้น โดยกำหนดดำเนินการกิจกรรมประกวดผ้าลายพระราชทาน และงานหัตถกรรม ระดับภาค จำนวน 4 จุดดำเนินการ ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค จุดดำเนินการที่ 1 ภาคใต้ จังหวัดสงขลา มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด ประเภทผ้า จำนวน 242 ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน 82 ชิ้น , จุดดำเนินการที่ 2 ภาคกลาง จังหวดชัยนาท ณ โรงแรมสุวรรณาริเวอร์ไซด์ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด ประเภทผ้า จำนวน 232 ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน 70 ชิ้น ,จุดดำเนินการที่ 3 ภาคเหนือ มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด ประเภทผ้า จำนวน 430 ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน 62 ชิ้น และจุดดำเนินการที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 - 18 กันยายน 2565 ณ โรงแรมมลฑาทิพย์ ฮอลล์ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด ประเภทผ้า จำนวน....ผืน ประเภทงานหัตถกรรม จำนวน ....ชิ้น และการประกวดรอบคัดเลือกในวันที่ 26 กันยายน 2565 ณ ห้อง meeting Room 1 - 2 ชั้น 7 ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกผ้าหรืองานหัตถกรรม จากพื้นที่ 4 ภูมิภาค ให้คงเหลือ 150 ผืน/ชิ้น เพื่อประกวดในรอบ Semi Final และรอบตัดสินในระดับประเทศ ต่อไป










กำลังโหลดความคิดเห็น