เข้าทาง! “ปวิน” อวย “รักแห่งสยาม” สุดติ่ง “เพจดัง” แซะ กรุงเทพกลางแปลง เป็นเวทีแจ้งเกิดอีกรอบให้ ผู้กำกับสามกีบ พร้อมแชร์ข่าวที่ “มะเดี่ยว” พูดเอาไว้ “ดาราไม่ด่ารัฐบาล เป็นสลิ่มโง่ๆ ระวังโดนฆ่าตาย ไม่มีคนจ้าง”
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (29 ก.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก Pavin Chachavalpongpun ของ นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต และผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ โพสต์ข้อความระบุว่า
“ไม่ได้อยู่เมืองไทยนานมาก เลยทำให้ดิชั้นพลาดหนังไทยหลายเรื่อง จนมีสหายมากระซิบว่า ยังไงก็ต้องดู “รักแห่งสยาม” เลยได้ดู เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2008 หรือ 12 ปีมาแล้ว เมื่อดิชั้นยังอยู่สิงคโปร์ ตอนนั้นหนังวายยังไม่แมสเท่านี้ พอดูแล้วก็ประทับใจ เพราะมันรวบรวมเรื่อง LGBTQ ไว้ครบ ตั้งแต่การ coming out การยอมรับในเพศสภาพตัวเองและของคนอื่น ปฏิกิริยาจากสังคม และที่สำคัญ เป็นการกำหนดบทบาทของ LGBTQ ใหม่ในวงการภาพยนตร์ที่ไม่ใช่มีแค่บทตลก บทกะเทยขี้วีนที่เป็นเพื่อนของนางเอก แต่มันเป็นบทที่ real ที่เกิดในชีวิตจริง ที่เรา relate กับมันได้ ตอนที่ดูก็รู้สึกอิจฉาน้องๆ LGBTQ รุ่นนั้นที่มีอะไรดูที่มันสะท้อนตัวเราเอง เพราะใน generation ที่ดิชั้นโตขึ้นมามันไม่มีหนังอะไรแบบนี้เลย ที่สำคัญ เพลงประกอบมันได้จริงๆ วันนี้เอากลับมาฉายอีกครั้ง ได้ความทรงจำเก่าๆ กลับมามาก ขอบคุณ “รักแห่งสยาม” #รักแห่งสยาม”
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก The METTAD โพสต์ข้อความระบุว่า
“กรุงเทพกลางแปลง เนี่ย เป็นเวทีแจ้งเกิดอีกรอบให้ ผู้กำกับสามกีบน่ะนะ
ล่าสุดเอาหนัง รักแห่งสยาม มา พร้อมกันนั้น เพจต่างๆ ก็คอยทำคอนเทนต์อวย มะเดี่ยว ที่เป็นผู้กำกับ
พยายามช่วยกันชุบตัวอีกรอบ
ก็ไม่เป็นไร ชุบได้ชุบไป โซเชียลฟุตปรินต์ยังอยู่ครบ ว่า มีทัศนคติต่อคนเห็นต่างแบบไหน แบรนด์และเอเยนซี่สลิ่มจะได้ย้ำเตือนกันไว้ 😂”
https://mgronline.com/entertainment/detail/9640000039325
พร้อมกันนี้ ก็ได้แชร์ข่าว หัวเรื่อง “มะเดี่ยว” ซัดดาราไม่ออกมาด่ารัฐบาล เป็นสลิ่มโง่ๆ ระวังโดนฆ่าตายไม่มีคนจ้าง (25 เม.ย.64/โดย: ผู้จัดการออนไลน์)
เนื้อหาระบุว่า “มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล” ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ล่าสุด ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความชวนคิด ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Chookiat Sakveerakul ถึงการปฏิบัติตัวของเหล่าดาราศิลปิน ในช่วงโควิด-19 ที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ขณะนี้ โดยระบุว่า
“จากนี้วงการบันเทิงจะเปลี่ยนไปนะ คนไม่ชอบดารามากขึ้น เพราะรู้ว่าในวิกฤตแบบนี้ ดารานักร้องศิลปินไม่ได้ช่วยอะไร จริงอยู่ว่างานอย่างพวกเรามีส่วนช่วยทำให้การกักตัวของประชาชนมีอะไรกล่อมเกลาจิตใจบ้าง แต่คนเครียดกันหนักขนาดนี้จะเอาอะไรมาบันเทิงคงเอาไม่อยู่แล้ว”
“แล้วยิ่งดาราศิลปินออกมาโพสต์โชว์สิทธิพิเศษ ออกมาทำตัวลอยเหนือปัญหาทั้งปวง นั่นยิ่งทำให้ความรู้สึกห่างเหินกับพี่น้องประชาชนที่สนับสนุนท่านห่างออกไปทุกที และนั่นก็ทำให้ความคิดที่ว่าพวกนี้เต้นกินรำกินอวยผู้มีอำนาจไปวันๆ ชัดแจ้งยิ่งขึ้น”
“รำลึกยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ ดารานักร้องศิลปินถูกกำจัดเป็นพวกแรกๆ ก็ด้วยความโกรธแค้นของประชาชนด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน”
หวังว่า บ้านเมืองเราคงไปไม่ถึงจุดนั่น แต่เมื่อเหตุการณ์ถึงปกติสุข (ที่ไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไหร่) หน้าตาของวงการบันเทิงจะเป็นแบบไหน เอเจนซี่สินค้าใดๆ จะยังกล้าจ้างดาราศิลปินโง่ๆ ที่เป็นสลิ่ม เป็น ignorant ไปนำเสนอสินค้าตัวเองหรือไปเล่นละครอยู่หรือเปล่า แต่ก็ไม่แน่เพราะพวกเอเจนซี่กับลูกค้าและช่องทีวีส่วนใหญ่ก็ศีลเสมอกัน”
“เวลาดาราศิลปินอ้อนแฟนๆ ก็จะบอกว่าตนเป็นคนของประชาชน แต่ว่าเวลาออกความเห็นอะไรง่าวๆ ก็มักจะบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ถ้านั่นทำให้คนที่สนับสนุนคุณผิดหวังหรือเสื่อมความนิยมก็คือสิ่งที่สมควรได้รับ”
“แล้ววันหนึ่งคุณออกมาบอกว่ารับใช้พี่น้องด้วยความสุขความบันเทิง ใครจะไปเชื่อ เพราะคุณตอแหลออกสื่อไปแล้วโดยไม่รู้ตัวตามนั้น”
สำหรับ “รักแห่งสยาม” ที่นำกลับมาฉายใหม่ โปรโมตกันว่า ภาพยนตร์รักโรแมนติกเรื่องราวหลากความรักของหลายชีวิตที่ถูกโยงใยด้วยมิตรภาพ และถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงรักที่จะทำให้ทุกคนได้สัมผัสกับช่วงเวลาอบอุ่นที่จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป
เรื่องนี้กำกับโดย “มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล” “รักแห่งสยาม” เป็นภาพยนตร์ที่เราตั้งใจทำออกมาเพื่อให้ทุกคนได้สัมผัส “ความรัก” ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งความรักของวัยรุ่น ความรักของครอบครัว เราเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า “ความรักอยู่รอบตัวเรา” ซึ่งคงเป็นความคิดที่ไม่ดูเกินจริงจนเกินไป และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความรักเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ออกฉายเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทำรายได้ในสัปดาห์แรก 18.5 ล้านบาท และปิดรายได้รวมที่ 42 ล้านบาท
รวมทั้งสามารถคว้ารางวัลใหญ่ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก 5 สถาบันหลักคือ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์, รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง, สตาร์พิกส์อวอร์ด, คมชัดลึก อวอร์ด และ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส รวมทั้งรางวัลอื่นอีกมากมาย
“รักแห่งสยาม” กลับมาพูดถึงอีกครั้ง เมื่อกรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดงานเพื่อร่วมย้อนวันวาน สนุกสนานกับบรรยากาศหนังกลางแปลง โดยครั้งนี้ย้อนสยามในวันวานด้วย “รักแห่งสยาม” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ สยาม Blox I สยามสแควร์ ผู้คนมาร่วมย้อนบรรยากาศสยามสแควร์ เพื่อรับชมภาพยนตร์ “รักแห่งสยาม” ที่เคยมอบความสุขให้ผู้ชมมาแล้วเมื่อ 15 ปีก่อน เป็นจำนวนมาก
โดยมี มาริโอ้ เมาเร่อ พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุลนก - สินจัย เปล่งพานิช และผู้กำกับ มะเดี่ยว - ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล มาร่วมพูดคุยถึงการทำงานภาพยนตร์เรื่องนี้ในอดีต
นอกจากนี้ ยังมีคอนเสิร์ตอุ่นเครื่อง จากวงเกิร์ลกรุ๊ป HatoBito และวง August ที่พกเพลงฮิตอย่าง “กันและกัน” รวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงอื่นๆ มาขับร้องก่อนหนังฉาย
นอกจากนี้ ในงานยังมีกิจกรรม “ก้าวต่อไปหลัง #สมรสเท่าเทียม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้แสดงความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านต่างๆ ด้วย
แน่นอน, ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ กรุงเทพกลางแปลง คงหนีไม่พ้น “กลิ่นไอทางการเมือง” ที่มัดสอดแทรกเข้ามาพร้อมกับหนังและความบันเทิงนั่นเอง
โดยเฉพาะการเลือกเอา หนัง หรือ ภาพยนตร์ ที่มีบุคคลเห็นต่างจากรัฐบาลเข้ามาฉาย เพื่อที่จะมีการจัดฉากเอาเรื่องที่เห็นต่างในสังคม อย่าง กรณีรัฐบาลและสถาบันฯมาสะท้อน
ก่อนหน้านี้ ที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 2565 มีการนำหนังเรื่อง "มนต์รักทรานซิสเตอร์" มาฉายที่คลองเตย ซึ่งหนังสร้างจากบทประพันธ์ของ “วัฒน์ วรรลยางกูร” ซึ่งเสียชีวิต ขณะลี้ภัยในต่างประเทศ จึงมีกิจกรรมรำลึก โดยทำ “ลูกโป่ง “วัฒน์” #ยกเลิก 112” มาแจกคนที่มาร่วมชมภาพยนตร์ด้วย จนกลายเป็นกระแสร้อนในโลกโซเชียลมาแล้ว
นอกจากนี้ ก็ยังมีกรณี ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ออกมาติติงว่า ก่อน-หลังฉายภาพยนตร์ ไม่มีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนในโรงภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน
ครั้งนี้ เป็นเรื่องของ “ผู้กำกับ” ที่มีความเห็นต่างกับฝ่ายที่เขาเรียกว่า “สลิ่ม” และมีการจัดกิจกรรม “ก้าวต่อไปหลัง #สมรสเท่าเทียม” ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ และพรรคการเมืองบางพรรคผลักดันเป็นกฎหมายด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ยังถือว่า กิจกรรมเหล่านี้ ดีกว่าที่จะนำม็อบไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ คฝ.ที่ดินแดง และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนบนท้องถนน หรือจะเปลี่ยนมาเคลื่อนไหวด้วยวิธีนี้แทน “ม็อบ” ก็คงจะดีไม่น้อย หรือว่าอย่างไร?