xs
xsm
sm
md
lg

ปรับใหม่! เกณฑ์ “ข้าราชการ” เบิกค่าใช้จ่ายรักษาโควิด-19 สำหรับผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว หลายรายการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมบัญชีกลาง ปรับเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายรักษาโควิด-19 ฉบับใหม่ “ข้าราชการ เช็กสิทธิ พร้อมบุคคลในครอบครัว” หลายรายการ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ กลางเดือน ก.ค. เป็นต้นไป ยกเลิก 3 ฉบับเดิม เพิ่ม “ค่าฉีดยา-ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ-ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ”

วันนี้ (26 ก.ค.) มีรายงานจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565 ถึง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เลขาธิการ อธิการบดี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสถานพยาบาลของรัฐ

เรื่อง แนวปฏิบัติการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ก่อนเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น หนังสือฉบับดังกล่าว ลงนามโดย น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง ปฏิบัติราชการแทน รมว.คลัง

เห็นสมควรให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และอัตราดค่ารักษาพยาบาล ตามหนังสือ “หลักเกณฑ์เดิม” ฉบับที่ 1 (28 ก.พ. 65) ฉบับที่ 2 (10 มี.ค. 65) และ ฉบับที่ 4 (8 มิ.ย. 65) และให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

1. ในกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ให้ผู้มีสิทธิ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว

“เป็น “ค่าฉีดยา” ตามอัตราที่กำหนดไวัในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใข้สำหรับการเบิกด่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ 24 พ.ย. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม”

2. ในกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 และเข้ารับบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยนอก ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังนี้

2.1 ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้นำอัตราที่ สปสช.กำหนด มาใช้บังคับกับการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผูมีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2.2 ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ 24 พ.ย. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3. ในกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว เข้ารับการรักษาพยาบาล ประเภทผู้ป่วยใน ให้ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังนี้

3.1 ค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ลงวันที่ 24 มี.ค. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3.2 ค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน นอกเหนือจากการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ตามเกณฑ์ DRGs กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่มีอาการผิดปกติภายหลัง การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

และแพทย์ผู้รักษาสันนิษฐานว่า เกิดภาวะเกล็ดเลือดตํ่าที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดดันจากภูมิคุ้มกันภายหลังการได้รับวัคซีน (Vaccine - Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT)) ดังนี้

3.2.1 ค่าตรวจ Heparin-PF 4 antibody (1gG) ELISA assay และค่าตรวจ Heparin Induced Platelet activation Test (HIPA) ตามอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ 24 พ.ย. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3.2.2 ค่ายา IVIG (Human Normal Immunoglobulin, Intravenous) ตามอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ลงวันที่ 24 พ.ย. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3.3 ค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน (เพิ่มเติม) กรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว เป็นผู้ป่วยมีอาการวิกฤต (กลุ่มอาการสีแดง) และสถานพยาบาลของทางราชการมีความจำเป็นต้องระดมทรัพยากรทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล

หากค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับตามกลุ่ม DRGs น้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่ “ร้อยละสามสิบของจำนวนเงินที่กำหนดไว้” โดยได้แจ้งพร้อมอัตราฐานของแต่ละสถานพยาบาลของทางราชการ (Outlier Loss Threshold) ให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน “เพิ่มเติม”

โดยนำหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราขการตามกลุ่ม DRGs (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 29 เม.ย. 2559 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

4. ในกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลประเภท “ที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม และสถานบริการ ที่ร่วมจัดบริการสาธารณสุขกรณีติดเชื้อโควิด 19 หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามหนังสือ กรมบัญชีกลางฉบับที่ 3 (15 มี.ค. 65) และให้ยกเลิกการใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป

5. ให้สถานพยาบาลของทางราขการเป็นผู้เบิกค่ารักษาพยาบาลแทนผู้มีสิทธิในระบบเบิกจ่ายตรง โดยให้นำความในหมวดที่ 6 ข้อ 11 และข้อ 12 ตามหนังสือฉบับที่ 1 (28 ก.พ. 65) มาใช้บังคับโดยอนุโลม


กำลังโหลดความคิดเห็น