xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.นัดถกก่อนโหวต จี้ยึดตามมติมีเอกสิทธิ์ แต่ต้องมีเอกภาพ สอนพรรคเล็กไม่แลกผลประโยชน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สาธิต” เผย ปชป.เตรียมเรียกประชุม ส.ส.ก่อนโหวตพรุ่งนี้ กระตุก ส.ส.ลงคะแนนตามมติพรรค แม้มีเอกสิทธิ์แต่พรรคการเมืองต้องมีเอกภาพ สอนพรรคเล็กเล่นการเมืองสร้างสรรค์ ไม่ยกผลประโยชน์เรียกร้องแรกโหวต

วันนี้ (22 ก.ค.) นายสาธิต ปิติเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ว่า โดยหลักการพรรคการเมืองต้องพรรคการเมือง จะมีมติให้สมาชิกของพรรคได้มีทิศทางในการโหวต และการโหวตเป็นเรื่องสำคัญหมายถึงเอกภาพของรัฐบาลและพรรคการเมืองนั้นด้วย ดังนั้น การโหวตก็จะมีเป็นไปในทิศทางเดียวตามมติของพรรคที่จะมีความเห็นกัน โดยพรรคประชาธิปัตย์เตรียมนัดประชุมก่อนลงมติในเวลา 08.30 น.ก็จะมีความชัดเจนในวัน 23 ก.ค.คาดว่า ก็จะไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ หากการโหวตไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจะสร้างปัญหาภาพรวมให้ทั้งพรรคการเมืองและรัฐบาล

นายสาธิต กล่าวว่า ตนไม่ทราบนายกฯได้พูดคุยอะไรกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ รมว.พาณิชย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในฐานะที่ตนเป็น ส.ส.มีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ย้ำว่า จะพยายามลงคะแนนตามมติพรรคเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจา ส่วนที่กลุ่ม 16 ประกาศว่า จะมีรัฐมนตรีอย่างน้อยหนึ่งคนหลุดจากเก้าอี้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ มีความกังวลหรือไม่ นายสาธิต กล่าว่า ถ้าการลงมติเป็นไปตามอุดมการณ์และข้อมูล ไม่มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องจะเป็นการสร้างสรรค์ทางการเมือง แต่ถ้านำสถานการณ์การโหวตไปเรียกร้อง หรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ไม่เป็นการสร้างสรรค์การเมืองการเมืองในระบบรัฐสภา และไม่เป็นไปตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

ส่วนการที่นายกรัฐมนตรียืนมือมาช่วยประสานให้พรรคเล็ก ช่วยโหวตสนับสนุน นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะเป็นการก้าวล่วงพรรคประชาธิปัตย์ หรือไม่นั้น นายสาธิต กล่าวว่า นายกฯเป็นหัวหน้ารัฐบาล ก็มีหน้าที่พยายามทำให้การโหวตเป็นเอกภาพให้มากที่สุด เป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งตนเองก็จะลงคะแนนตามมติของพรรค โดยในแต่ละพรรคก็จะมีการพูดคุยกัน ซึ่งที่ผ่านมา ก็ทำเช่นนี้ และสมาชิกพรรคควรเคารพมติพรรค ถึงแม้จะเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. แต่ก็ควรจะมีความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง และรัฐบาลก็ต้องควบคุมเสียงผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปให้ได้ ถือเป็นหน้าที่ของนายกฯและต่างคนต่างทำหน้าที่ ให้สมบูรณ์แบบที่สุดในการลงมติ


กำลังโหลดความคิดเห็น