xs
xsm
sm
md
lg

เปิด 6 ข้อ EHIA “รันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา” เมกะโปรเจกต์ “กองทัพเรือ” คาดใช้เงินกู้จากต่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิด 6 ข้อ EHIA รันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา เมกะโปรเจกต์ “กองทัพเรือ” ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เตรียมตั้งงบประมาณก่อสร้าง-ออกมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก่อนชง ครม. พบ “กองทัพเรือ” ดำเนินการล่าช้ากว่าประมาณการ ถึง 6 เดือน ใช้งบปี 64-65 ไม่ทัน จ่อชง ก.คลัง อนุมัติให้ใช้เงินกู้จากต่างประเทศทดแทน

วันนี้ (17 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เวียนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ว่าด้วย โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ของกองทัพเรือ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ตั้งอยู่ที่ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ลงนามโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

โดยมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นไปพิจารณาและดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ ในรายงาน รวมทั้งจัดตั้งงบประมาณ เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว

ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณา ตามมาตรา 49 และ มาตรา 51/6 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ต่อโป มีรายละเอียดโครงการ ดังนื้

(1) ทางวิ่งและทางขับที่ 2 ทั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางวิ่งที่ 1 วางตัวขนาน ไปกับทางวิ่งที่ 1 ที่ระยะห่าง 1,140 เมตร มีความยาวทางวิ่งวัดจากหัวทางวิ่งทั้งสองฝั่ง (หัวทางวิ่ง 18 และหัวทางวิ่ง 36) 3,404 เมตร ความกว้างทางวิ่ง 60 เมตร ไหล่ทางแต่ละข้างยาว 14 เมตร ทางขับที่ 2 วางตัวคู่ขนานไปกับทางวิ่งที่ 2 จำนวน 6 เส้น (ซ้าย 2 เส้น ขวา 2 เส้น และขวาของทางวิ่งที่ 1 จำนวน 2 เส้น) ความกว้าง 23 เมตร

(2) อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่งที่ 2 เชื่อมอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 กับอาคารเทียบเครื่องบินรอง (Satellite Terminal) มีความกว้าง 43.60 เมตร ลึกประมาณ 11 เมตร จากระดับดิน เดิม ประกอบด้วย ช่องย่อย 6 ช่อง เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะยังไม่เปิดใช้งานส่วนนี้

“โดยก่อสร้างเพื่อรองรับอุโมงค์ APM (Automated People Mover : APM) อุโมงค์ขนกระเป๋าสัมภาระ และอุโมงค์ระบบสาธารณูปโภค ชึ่งอยู่ในพื้นที่เขตการบิน (Airside Service Vehicles)”

(3) อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และอาคารเทียบเครื่องบินรอง (Satellite Terminal) เป็นพื้นที่ให้บริการสำหรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออก เป็นอาคาร 4 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น

(4) ศูนย์ธุรกิจการค้าอำนวยการขนส่งทางอากาศ (Commercial Gateway) ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของสนามบินนานาชาตอู่ตะเภา เพื่อดึงดูดให้ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

(5) อาคารคลังสินค้า (Cargo Terminal and Cargo Village) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ได้ประมาณ 6 แสนตันต่อปี หรือมากกว่า ประกอบด้วยอาคารคลังสินค้า และลานจอด เครื่องบินบรรทุกสินค้า

“โดยคาดว่าสินค้าส่วนใหญ่ จะขนส่งผ่านระวางใต้ห้องของเครื่องบินโดยสาร ดังนั้น จึงอาจมีการออกแบบให้มีถนนทางลอดใต้ทางวิ่งที่ 2 หรือถนนในพื้นที่ Airside อย่างน้อย 1 เส้นทาง เพื่อให้รถบรรทุกสินค้าวิ่งผ่านได้โดยไม่ต้องตัดผ่านทางวิ่ง”

(6) ระบบสาธารณูปโภคสำหรับการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ในพื้นที่ โครงการ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบบำบัดนํ้าเสีย ระบบการให้บริการเติมเชื้อเพสิงอากาศยาน ระบบบำบัดบํ้าเสียจากอากาศยาน ระบบระบายนํ้าและการป้องกันนํ้าท่วม

“ระบบจัดการขยะมูลฝอย และของเสีย ระบบป้องกันอัคคีภัย สถานีดับเพลิงและกู้ภัย หอควบคุมการจราจรทางอากาศ ถนนเข้า-ออก สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา และสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา”

โครงการนี้ กองทัพเรือ (ทร.) จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งกองทัพเรือ ได้ว่า “จ้างที่ปรึกษา” ทำการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

“ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างทีโออาร์เพื่อประกวดราคาคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง”

โดยเงื่อนไขในการประกวดราคาจะลงนามในสัญญาว่าจ้างกับผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกได้ก็ต่อเมื่อรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ได้รับการอนุมัติครบถ้วนทุกขั้นตอน

ขั้นตอนต่อไปจะต้องดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน (Public Hearing) ก่อน จากนั้นจะเสนอ ครม.เห็นชอบ จึงจะถือว่าการอนุมัติครบถ้วนสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 58

โดย กองทัพเรือ ทำล่าช้ากว่าที่ประมาณการณ์ไว้ ประมาณ 6 เดือน ทำให้การใช้งบประมาณปี 64-65 ไม่ทัน แต่ทางกระทรวงการคลัง ได้อนุมัติให้ใช้เงินกู้จากต่างประเทศเข้ามาทดแทนได้

สำหรับโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา มีความยาวทางวิ่ง 3,505 เมตร เพื่อให้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางการบินที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 50-60 ล้านคน/ปี

สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

โครงการนี้ กองทัพเรือ ได้งบประมาณผูกพันเริ่มใหม่เพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ 2662 จ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 วงเงิน 256 ล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาฯ 6 ปี

และวงเงินที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรกคือปี 2562 วงเงิน 18.61 ล้านบาท คิดเป็น 7.26% ของวงเงินรวมของรายการ


กำลังโหลดความคิดเห็น