ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. เดินสายต่อเนื่อง ลุยสำรวจ 3 ชุมชนแออัด ย่านทองหล่อ ชี้ ต้องดูแลชาวบ้านด้วยความเป็นมนุษย์ มองเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนให้เมืองเดินได้ เผย ไม่สัญญาเกินจริงว่าจะให้อยู่ เพราะไม่ใช่ที่ถูกกฎหมาย
วันนี้ (29 พ.ค.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะทีมนโยบาย, น.ส.สุชิรา ศิลานนท์ ผอ.เขตวัฒนา และ นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ว่าที่ ส.ก.เขตวัฒนา พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิจัยจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงพื้นที่เขตวัฒนา เพื่อสำรวจพื้นที่ชุมชนหลัง สน.ทองหล่อ อาทิ ชุมชนคลองเป้ง และชุมชนลีลานุช และเข้าดูการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพชุมชนและระบบปฐมภูมิ สำรวจคลินิกชุมชนอบอุ่น เครือข่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีการลงพื้นที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนในชุมชน โดยนายชัชชาติได้การปั่นจักรยานจากบ้านพักของตนเองมาถึงบริเวณ สน.ทองหล่อ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ นำโดย พ.ต.ท.ณรงค์วิช สุดกังวาล รองผู้กำกับการจราจร สน.ทองหล่อ คอยดูแลความเรียบร้อยตลอดเส้นทางการเดินสำรวจชุมชน
โดย นายชัชชาติ กล่าวก่อนเดินเข้าสำรวจภายในชุมชนว่าทองหล่อเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหญ่ แต่ไม่น่าเชื่อว่า มีชุมชนแออัดอยู่ถึง 3 แห่ง และบริเวณโดยรอบเป็นคลองเก่าและมีความเสื่อมสภาพ มีบ้านมาสร้างน่าจะประมาณ 70 หลังคาเรือน มีชุมชนคลองเป้ง ซึ่งถูกรื้อไปบางส่วนแล้ว และมีชุมชนลีลานุช ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มีประมาณ 200 หลังคาเรือน ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งชุมชนก็ต้องมีคนทำงาน ซึ่งก็จะทำงานแถวเอกมัย ทองหล่อ เป็นอาณาจักรที่ช่วยขับเคลื่อนเมือง เขาไม่สามารถอยู่ไกลจากแหล่งงานได้ ซึ่งชุมชนแบบนี้มีทุกแห่งในกรุงเทพฯ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเมืองอยู่ ก็ต้องมีการมาดูแลกัน โดยช่วงโควิดลงมาเยี่ยมชุมชนแห่งนี้บ่อย ก็จะมีความสนิมสนมกับคนในชุมชน
ทั้งนี้ ในขณะเดินสำรวจชุมชน ได้มีชาวบ้านร้องเรียนนายชัชชาติ ว่า ไม่มีน้ำใช้ภายในบ้านมาเป็นปี ต้องต่อสายยางมาจาก สน.ทองหล่อ โดยนายชัชชาติได้รับฟังเรื่องนี้จากชาวบ้าน นอกจากนี้ นายชัชชาติ ได้เข้าไปถามไถ่เรื่องอาชีพจากครอบครัวหนึ่งที่ตกงานจากสถานการณ์โควิด-19 ว่า ตอนนี้มีงานทำหรือยัง และได้กล่าวว่า ตนกับลุงวินจักรยานยนต์รับจ้างนั้นสนิทกัน ใช้บริการกันบ่อย เป็นลูกค้าประจำ
“ชุมชนนี้มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่อยู่ เราต้องมองเขาเป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน เขามีความลำบาก ชีวิตในแต่ละวันผ่านไปไม่ได้ง่าย ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ หลายคนก็ทำงานที่นี่ เป็นแม่บ้าน รปภ. วินจักรยานยนต์รับจ้าง ทำให้เครื่องจักรของเมืองมันเดินได้ เราต้องดูแลเขาด้วยความเป็นมนุษย์ ก็ต้องหาทางช่วยดูแล แต่ตนจะไม่สัญญากับชาวบ้านเกินจริงว่าจะให้อยู่ เพราะสุดท้ายก็ไม่ใช่ที่ที่ถูกกฎหมาย” นายชัชชาติ กล่าว
วันนี้ (29 พ.ค.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะทีมนโยบาย, น.ส.สุชิรา ศิลานนท์ ผอ.เขตวัฒนา และ นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ว่าที่ ส.ก.เขตวัฒนา พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิจัยจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงพื้นที่เขตวัฒนา เพื่อสำรวจพื้นที่ชุมชนหลัง สน.ทองหล่อ อาทิ ชุมชนคลองเป้ง และชุมชนลีลานุช และเข้าดูการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพชุมชนและระบบปฐมภูมิ สำรวจคลินิกชุมชนอบอุ่น เครือข่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีการลงพื้นที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนในชุมชน โดยนายชัชชาติได้การปั่นจักรยานจากบ้านพักของตนเองมาถึงบริเวณ สน.ทองหล่อ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ นำโดย พ.ต.ท.ณรงค์วิช สุดกังวาล รองผู้กำกับการจราจร สน.ทองหล่อ คอยดูแลความเรียบร้อยตลอดเส้นทางการเดินสำรวจชุมชน
โดย นายชัชชาติ กล่าวก่อนเดินเข้าสำรวจภายในชุมชนว่าทองหล่อเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหญ่ แต่ไม่น่าเชื่อว่า มีชุมชนแออัดอยู่ถึง 3 แห่ง และบริเวณโดยรอบเป็นคลองเก่าและมีความเสื่อมสภาพ มีบ้านมาสร้างน่าจะประมาณ 70 หลังคาเรือน มีชุมชนคลองเป้ง ซึ่งถูกรื้อไปบางส่วนแล้ว และมีชุมชนลีลานุช ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มีประมาณ 200 หลังคาเรือน ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งชุมชนก็ต้องมีคนทำงาน ซึ่งก็จะทำงานแถวเอกมัย ทองหล่อ เป็นอาณาจักรที่ช่วยขับเคลื่อนเมือง เขาไม่สามารถอยู่ไกลจากแหล่งงานได้ ซึ่งชุมชนแบบนี้มีทุกแห่งในกรุงเทพฯ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเมืองอยู่ ก็ต้องมีการมาดูแลกัน โดยช่วงโควิดลงมาเยี่ยมชุมชนแห่งนี้บ่อย ก็จะมีความสนิมสนมกับคนในชุมชน
ทั้งนี้ ในขณะเดินสำรวจชุมชน ได้มีชาวบ้านร้องเรียนนายชัชชาติ ว่า ไม่มีน้ำใช้ภายในบ้านมาเป็นปี ต้องต่อสายยางมาจาก สน.ทองหล่อ โดยนายชัชชาติได้รับฟังเรื่องนี้จากชาวบ้าน นอกจากนี้ นายชัชชาติ ได้เข้าไปถามไถ่เรื่องอาชีพจากครอบครัวหนึ่งที่ตกงานจากสถานการณ์โควิด-19 ว่า ตอนนี้มีงานทำหรือยัง และได้กล่าวว่า ตนกับลุงวินจักรยานยนต์รับจ้างนั้นสนิทกัน ใช้บริการกันบ่อย เป็นลูกค้าประจำ
“ชุมชนนี้มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่อยู่ เราต้องมองเขาเป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน เขามีความลำบาก ชีวิตในแต่ละวันผ่านไปไม่ได้ง่าย ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ หลายคนก็ทำงานที่นี่ เป็นแม่บ้าน รปภ. วินจักรยานยนต์รับจ้าง ทำให้เครื่องจักรของเมืองมันเดินได้ เราต้องดูแลเขาด้วยความเป็นมนุษย์ ก็ต้องหาทางช่วยดูแล แต่ตนจะไม่สัญญากับชาวบ้านเกินจริงว่าจะให้อยู่ เพราะสุดท้ายก็ไม่ใช่ที่ที่ถูกกฎหมาย” นายชัชชาติ กล่าว