“การเคหะแห่งชาติ” ผนึก “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สัมมนาชุดปฏิบัติการโครงการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่าการเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการพัฒนาและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ควบคู่ไปกับการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเป็นชุนชนที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงปราศจากปัญหาอาชญากรรมต่างๆ โดยหนึ่งในต้นตอของปัญหาอาชญากรรมคือ ปัญหายาเสพติด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสร์ชาติ ในการป้องกัน แก้ไข และบำบัดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการสร้างรูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน หมู่บ้านอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข้งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติที่เข้มแข็ง โดยหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องคือ การจัดสัมมนาชุดปฏิบัติการโครงการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จำนวน 20 ชุมชน
สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มีจำนวน 60 คน ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืนฯ สถานีตำรวจละ 2 นาย และผู้แทนการเคหะแห่งชาติ ชุมชนละ 1 คน เพื่อให้ชุดปฏิบัติการได้เรียนรู้กระบวนการ และขั้นตอนการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนในพื้นที่ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และนำความองค์ความรู้ที่ได้รับจากคณะวิทยากร ไปเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพต่อไป
พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ รองจเรตำรวจแห่งชาติ (ช่วยเหลืองานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม) รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ว่า โครงการนี้เป็นโครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง อีกทั้งยังถือเป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ตามมา ประกอบกับปัจจุบันการเสพยาเสพติด ถือเป็นการเจ็บป่วย โรคสมองติดยา ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัด ยังขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการบำบัดโดยชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผ่านการบำบัดอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลให้เป็นไปตามหลักการสาธารณสุขสิทธิมนุษยชน และเป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 โดยมีกระบวนการตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง บำบัด ฟื้นฟู และติดตาม ดูแล ช่วยเหลือโดยกลไกของคนในชุมชน
“ถือเป็นโอกาสดีที่ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่ชุดปฏิบัติการชุมชนการเคหะยั่งยืน จะได้เรียนรู้กระบวนการ และขั้นตอนการขับเคลื่อนโครงการ ในการนำความองค์ความรู้ที่ได้รับจากคณะวิทยากร ไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ กล่าว
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่าการเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการพัฒนาและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ควบคู่ไปกับการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเป็นชุนชนที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงปราศจากปัญหาอาชญากรรมต่างๆ โดยหนึ่งในต้นตอของปัญหาอาชญากรรมคือ ปัญหายาเสพติด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสร์ชาติ ในการป้องกัน แก้ไข และบำบัดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการสร้างรูปแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน หมู่บ้านอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือดังกล่าวเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข้งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติที่เข้มแข็ง โดยหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องคือ การจัดสัมมนาชุดปฏิบัติการโครงการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 จำนวน 20 ชุมชน
สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มีจำนวน 60 คน ประกอบด้วย ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืนฯ สถานีตำรวจละ 2 นาย และผู้แทนการเคหะแห่งชาติ ชุมชนละ 1 คน เพื่อให้ชุดปฏิบัติการได้เรียนรู้กระบวนการ และขั้นตอนการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนการเคหะยั่งยืนในพื้นที่ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และนำความองค์ความรู้ที่ได้รับจากคณะวิทยากร ไปเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพต่อไป
พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ หลักบุญ รองจเรตำรวจแห่งชาติ (ช่วยเหลืองานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม) รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ว่า โครงการนี้เป็นโครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง อีกทั้งยังถือเป็นต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ตามมา ประกอบกับปัจจุบันการเสพยาเสพติด ถือเป็นการเจ็บป่วย โรคสมองติดยา ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน
ทั้งนี้ จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัด ยังขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการบำบัดโดยชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผ่านการบำบัดอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลให้เป็นไปตามหลักการสาธารณสุขสิทธิมนุษยชน และเป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 โดยมีกระบวนการตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง บำบัด ฟื้นฟู และติดตาม ดูแล ช่วยเหลือโดยกลไกของคนในชุมชน
“ถือเป็นโอกาสดีที่ข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่ชุดปฏิบัติการชุมชนการเคหะยั่งยืน จะได้เรียนรู้กระบวนการ และขั้นตอนการขับเคลื่อนโครงการ ในการนำความองค์ความรู้ที่ได้รับจากคณะวิทยากร ไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” พล.ต.ท. ภาณุรัตน์ กล่าว